วิธีการเขียนเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกับบริษัทประกันภัย และทำไมต้องให้ทนายความผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ดำเนินการ?

เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่ทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือเกิดการบาดเจ็บ หรือทรัพย์สินเสียหาย การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน จากบริษัทประกันภัยเป็นขั้นตอนสำคัญที่ผู้เอาประกันภัยไม่ควรมองข้าม อย่างไรก็ตาม แม้จะดูเหมือนเป็นกระบวนการง่ายๆ แค่ยื่นเอกสารและหรือรอเงินชดเชย แต่ในทางปฏิบัติกลับมีรายละเอียดซับซ้อนมากมาย โดยเฉพาะในเรื่องการเขียนคำร้อง การเจรจา และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ดังนั้น บทความนี้จะพาไปดู วิธีเขียนหนังสือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่ถูกต้อง พร้อมอธิบายว่า ทำไมการให้ทนายความผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ดำเนินการจึงมีความได้เปรียบ และปลอดภัยกว่า

ค่าสินไหมทดแทนคืออะไร?

ค่าสินไหมทดแทน หมายถึง จำนวนเงินที่บริษัทประกันภัยต้องชดใช้ให้ผู้เอาประกันภัยหรือบุคคลที่ได้รับความเสียหาย เมื่อเกิดเหตุที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองของกรมธรรม์ เช่น อุบัติเหตุรถชน ไฟไหม้บ้าน น้ำท่วมทรัพย์สิน ทรัพย์สินเสียหาย หรือแม้แต่การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ

แม้กรมธรรม์จะครอบคลุมความเสียหายไว้ แต่ผู้เอาประกันภัยยังจำเป็นต้อง “เรียกร้อง” ค่าสินไหมตามขั้นตอน และต้องแสดงหลักฐานให้ชัดเจนเพื่อให้บริษัทประกันพิจารณาจ่ายเงินชดเชย

ขั้นตอนการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

1.      แจ้งเหตุทันทีหลังเกิดเหตุการณ์
โทรแจ้งบริษัทประกันตามหมายเลขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ เพื่อขอรับเลขที่เคลมและคำแนะนำเบื้องต้น

2.      เก็บรวบรวมหลักฐานให้ครบถ้วน

o    รูปถ่ายความเสียหาย

o    รายงานของเจ้าหน้าที่บริษัท

o    ใบแจ้งความ (หากมี)

o    ใบรับรองแพทย์ / ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล

o    เอกสารประเมินราคาซ่อมทรัพย์สิน

3.      เขียนหนังสือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

วิธีการเขียนหนังสือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

หนังสือควรมีโครงสร้างดังนี้:

หัวจดหมาย

  • ชื่อ-ที่อยู่ผู้ร้อง
  • ชื่อบริษัทประกันภัย
  • วันที่เขียน

เรื่อง

ขอเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์เลขที่ ………

เนื้อหา

อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ระบุความเสียหาย และจำนวนเงินที่เรียกร้อง เช่น

“ข้าพเจ้า นาย/นาง ……… ได้ทำประกันภัยไว้กับบริษัทฯ เลขที่กรมธรรม์ ……… เมื่อวันที่ ……… ได้เกิดอุบัติเหตุ ……… ส่งผลให้ทรัพย์สินได้รับความเสียหายและข้าพเจ้าได้รับบาดเจ็บ ต้องเข้ารับการรักษา ………
ข้าพเจ้าจึงขอเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจำนวน ……… บาท (รายละเอียดแนบ)”

ข้อความสำคัญที่ควรใส่ทุกครั้งคือ

อนึ่ง ข้าพเจ้าขอสงวนสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมต่อไปในภายภาคหน้า อันนี้ถือเป็นการเรียกร้องในชั้นเจรจา

ข้อความนี้เป็นเกราะป้องกันสิทธิ์ หากในอนาคตตรวจพบความเสียหายเพิ่มเติม

ทำไมควรให้ทนายความผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ดำเนินการให้ดีกว่า?

แม้ผู้เอาประกันภัยสามารถยื่นคำร้องได้ด้วยตนเอง แต่การให้ทนายความผู้เชี่ยวชาญด้านประกันภัยเป็นผู้ดำเนินการจะช่วยให้ขั้นตอนราบรื่นและมีความมั่นใจมากขึ้น ด้วยเหตุผลสำคัญดังนี้

1. เข้าใจข้อกฎหมายและเงื่อนไขกรมธรรม์

กรมธรรม์ประกันภัยมีถ้อยคำและข้อกำหนดเฉพาะทางกฎหมาย ซึ่งคนทั่วไปอาจไม่เข้าใจทั้งหมด ทนายความสามารถวิเคราะห์ข้อสัญญาและช่วยให้คุณใช้สิทธิ์ได้อย่างเต็มที่ เช่น ขอบเขตความคุ้มครอง การคำนวณค่าสินไหม และการยกเว้นความรับผิด

2. ร่างหนังสือเรียกร้องอย่างเป็นมืออาชีพ

หนังสือเรียกร้องที่ร่างโดยทนายความจะมีความรัดกุม ครบถ้วน และปิดช่องโหว่ที่จะทำให้บริษัทประกันปฏิเสธการชดเชย เช่น การระบุจำนวนเงิน ความเสียหาย และข้อความสำคัญในการสงวนสิทธิ์

3. สามารถเจรจาต่อรองกับบริษัทประกันแทนคุณได้

ในกรณีที่บริษัทประกันพยายามชดเชยต่ำกว่าความเป็นจริง ทนายความจะสามารถเจรจาโดยอ้างอิงกฎหมายและหลักฐานที่แน่นหนา เพิ่มโอกาสในการได้รับค่าสินไหมเต็มจำนวน

4. พร้อมฟ้องร้องกรณีบริษัทประกันปฏิเสธไม่จ่าย

หากการเจรจาไม่เป็นผล ทนายความสามารถยื่นฟ้องต่อศาลได้ทันที โดยไม่เสียเวลาเริ่มต้นใหม่ และยังสามารถเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติม เช่น ดอกเบี้ย หรือค่าเสียหายจากการปฏิเสธโดยไม่ชอบ

5. ลดความเครียดและภาระของผู้เสียหาย

ผู้เสียหายมักมีภาระจากการรักษาตัว การซ่อมแซมทรัพย์สิน หรือความกังวลด้านรายได้ การให้ทนายความจัดการเรื่องประกันภัยแทนจะช่วยลดความเครียด และทำให้คุณสามารถโฟกัสกับการฟื้นตัวได้เต็มที่

ตัวอย่างกรณีจริง

มีหลายกรณีที่บริษัทประกันพยายามลดวงเงินค่าสินไหม เช่น อ้างว่าเอกสารไม่ครบ, บอกว่าอยู่ในข้อยกเว้น, หรือไม่ตอบรับการเรียกร้อง หากไม่มีทนายเป็นผู้ต่อรอง ผู้เอาประกันอาจต้องยอมรับเงินชดเชยน้อยกว่าความเสียหายจริง ซึ่งส่งผลเสียระยะยาวอย่างแน่นอน

เรียกร้องค่าสินไหมฯ จากประกันภัยไม่ใช่แค่เรื่องเอกสาร แต่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญและการวางแผน ปรึกษาทนายความแต่ต้นคือทางออก

การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยไม่ใช่แค่เรื่องของเอกสาร แต่เป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความเข้าใจในกฎหมาย การวางแผน และทักษะในการเจรจา หากต้องการให้กระบวนการนี้ดำเนินไปอย่างราบรื่น ได้รับความยุติธรรม และไม่เสียสิทธิ์ในอนาคต การให้ ทนายความผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้ดำเนินการแทนคุณจึงเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาดและอย่าลืม…
“อนึ่ง ควรสงวนสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมต่อไปในภายภาคหน้า อันนี้ถือเป็นการเรียกร้องในชั้นเจรจา”
ประโยคสำคัญนี้ควรใส่ไว้ในหนังสือเรียกร้องทุกครั้ง เพื่อปกป้องสิทธิของคุณในอนาคต

หากต้องการปรึกษาทนายความที่เชี่ยวชาญด้านการเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทน หรือให้จัดการยื่นหนังสืออย่างมืออาชีพ สามารถติดต่อ สำนักงานกฎหมายวงศกรณ์ ซึ่งเป็นสำนักงานกฎหมายที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในคดีประกันภัยรถยนต์โดยตรง เพื่อความมั่นใจว่าคุณจะได้รับเงินชดเชยอย่างเต็มสิทธิ์ และได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายอย่างครบถ้วนในทุกขั้นตอน

คำพิพากษา : แม้เป็นเด็กโดยสารรถยนต์ อย่างไรบริษัทประกันภัยก็ต้องชดใช้ค่าเสียหาย พร้อมกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษ

คำพิพากษาศาลจังหวัดอุดรธานี ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2566

คดีความระหว่าง เด็กชาย A โดยนางสาว C ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม ที่ 1 เด็กชาย B โดยนางสาว C ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม ที่ 2 นางสาว C  ที่ 3  โจทก์ กับ บริษัท XYZ ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ที่ 1 บริษัท EFG ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ที่ 2 จำเลย

เรื่อง ประกันภัย

โจทก์ทั้งสามฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับประกันภัยภาคบังคับรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน XX 4112 กรุงเทพมหานคร ไว้จากโจทก์ที่ 3 จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยภาคบังคับและภาคสมัครใจของของรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 2XX 1016 กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2564 อยู่ในระหว่างเวลาตามสัญญาประกันภัยของจำเลยทั้งสอง ขณะที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 กำลังโดยสารรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน XX 4112 กรุงเทพมหานคร โดยมีนาย D เป็นผู้ขับซึ่งได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 3 แล้ว ขับรถยนต์คันดังกล่าวมาตามถนนบ้านดุง-บ้านม่วง จังหวัดอุดรธานี เมื่อถึงที่เกิดเหตุรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 2XX 1016 กรุงเทพมหานคร โดยมีนาย E เป็นผู้ขับ ซึ่งนาย E ได้ขับรถยนต์คันดังกล่าวด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะวิสัยเช่นนั้นจะต้องมีวิสัยและพฤติการณ์ในการขับ แต่หาได้ใช้ความระมัดระวังดังกล่าวไม่ คือ นาย E ขับรถยนต์คันดังกล่าวล้ำเข้ามาในช่องทางเดินรถคันที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 โดยสารมาเป็นเหตุให้เฉี่ยวชนกันและทำให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้รับบาดเจ็บและรถยนต์ของโจทก์ที่ 3 ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล 100,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลในอนาคต 200,000 บาท ค่าสูญเสียความสามารถประกอบการงานในอนาคต 300,000 บาท ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน 300,000 บาท รับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ได้แก่ค่ารักษาพยาบาล 100,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลในอนาคต 200,000 บาท ค่าสูญเสียความสามารถประกอบการงานในอนาคต 300,000 บาท ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน 300,000 บาท และรับผิดต่อโจทก์ที่ 3 ได้แก่ ค่ารถยนต์ 120,000 บาท ค่าขาดประโยชน์ตั้งแต่วันเกิดเหตุ จนถึงวันฟ้อง วันละ 800 บาท เป็นเวลา 138 วัน คิดเป็นเงิน 110,400 บาท และค่าเสียหายในส่วนนี้จนกว่ารถยนต์ของโจทก์ที่ 3 จะซ่อมแซมเสร็จ วันละ 800 บาท โจทก์ทั้งสามได้ติดตามทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แล้ว แต่จำเลยทั้งสองเพิกเฉยขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 1,800,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 1 พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว จนกว่าจำเลยทั้งสองจะชำระเสร็จสิ้น ชำระเงิน 900,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว จนกว่าจะเลยทั้งสองจะชำระเสร็จสิ้น ชำระเงิน 230,400 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 3 พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว จนกว่าจะเลยทั้งสองจะชำระเสร็จสิ้น และให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายเชิงลงโทษ

          โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 ตามคำร้องฉบับลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565

          ระหว่างพิจารณาคดี ศาลส่งสำนวนให้ประธานศาลอุทธรณ์เพื่อวินิจฉัยว่าคดีนี้เป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีนี้เป็นคดีผู้บริโภค

          จำเลยที่ 2 ให้การว่า ฟ้องโจทก์ทั้งสามเคลือบคลุม เพราะโจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่า นายE กับผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันหมายทะเบียน 2XX 1016 กรุงเทพมหานคร มีนิติสัมพันธ์กันอย่างไร และผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหายอย่างไร ในส่วนของโจทก์ที่ 3 นั้น ค่าขาดประโยชน์นั้นสูงเกินไป เนื่องจากเป็นความบกพร่อมของโจทก์ที่ 3 ที่ติดต่อซ่อมแซมรถยนต์กับอู่ซ่อมรถยนต์เอง จำเลยที่ 2ไม่เกี่ยวข้อง ทำให้การซ่อมแซมใช้ระยะเวลานาน อีกทั้งตามกรมธรรม์นั้น กำหนดให้ชำระไม่เกินวันละ 500 บาท ต่อวัน ในส่วนของจำเลยที่ 1 นั้น ค่ารักษาพยาบาลนั้น จำเลยที่ 1 เป็นผู้ชำระในฐานะผู้รับประกันภัยภาคบังคับแล้ว 80,000 บาท โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ชำระค่ารักษาพยาบาล ค่ารักษาพยาบาลในอนาคตนั้น โจทก์ที่ 1 และที่ 2 รักษาหายสนิทใน 1 เดือน และ 2 สัปดาห์ ตามลำดับ และไม่ได้มีการรักษาต่ออีก โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้รับความเสียหาย ค่าสูญเสียความสามารถประกอบการงานในอนาคตและสินไหมทดแทนอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินนั้น หลังจากที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 รักษาพยาบาลแล้วก็ไม่ได้เข้ารับการรักษาต่ออีก โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงยังสามารถประกอบอาชีพได้ อีกทั้งโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยังอยู่ระหว่างการศึกษา ค่าเสียหายในส่วนนี้ จึงไม่แน่นอนและไม่ได้รับความเสียหาย ขอให้ยกฟ้องโจทก์
          พิเคราะห์คำฟ้อง คำให้การ พยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสามและจำเลยที่ 2 แล้ว ข้อเท็จจริที่เป็นที่ยุติรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับประกันภัยภาคบังคับรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน XX 4112 กรุงเทพมหานคร ไว้จากโจทก์ที่ 3 เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2564 ซึ่งอยู่ในระหว่างเวลาตามสัญญาประกันภัยของจำเลยทั้งสอง ขณะที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 กำลังโดยสารรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน XX 4112 กรุงเทพมหานคร โดยมีนาย D เป็นผู้ขับ ซึ่งได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 3 แล้ว ขับรถยนต์คันดังกล่าวมาตามถนนบ้านดุง-บ้านม่วง จังหวัดอุดรธานี เมื่อถึงที่เกิดเหตุมีรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 2XX 1016 กรุงเทพมหานคร โดยมีนาย E เป็นผู้ขับขี่ แล้วนาย E ขับรถยนต์โดยประมาท ล้ำเข้ามาในช่องทาฃเดินรถคันที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 โดยสารมาเป็นเหตุให้เฉี่ยวชนกันและทำให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้รับบาดเจ็บและรถยนต์ของโจทก์ที่ 3 ได้รับความเสียหาย คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยประเด็นแรกว่า ฟ้องโจทก์ทั้งสามเคลือบคลุมหรือไม่ โดยจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า คำฟ้องโจทก์ทั้งสามไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับตามไม่ได้บรรยายถึงรายละเอียดว่านาย E กับผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 2XX 1016 กรุงเทพมหานคร มีนิติสัมพันธ์กันอย่างไรและผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหายอย่างไร เห็นว่า คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามบรรยายว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยภาคบังคับและภาคสมัครใจรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 2XX 1016 กรุงเทพมหานคร โดยที่จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ให้ประเด็นว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าวงเงินความคุ้มครองที่ระบุไว้กรมธรรม์ที่จำเลยที่ 2 ย่อมแสดงให้เห็นแล้วว่าโจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะใด ซึ่งเพียงพอให้จำเลยที่ 2 เข้าใจคำฟ้องของโจทก์ว่ามีนิติสัมพันธ์ใดกับผู้เอารประกันภัยรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 2XX 1016 กรุงเทพมหานคร และย่อมต้องเข้าใจถึงสภาพแห่งข้อหาโจทก์ทั้งสองและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา172 แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องถึงรายละเอียดของนิติสัมพันธ์ดังกล่าวหรือความสัมพันธ์ระหว่างนาย E กับผู้เอาประกันภัยเป็นอย่างไร แต่จากคำให้การก็ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 เข้าใจถึงคำฟ้องของโจทก์ทั้งสามแล้ว ฟ้องโจทก์ทั้งสามจึงไม่เคลือบคลุม คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เห็นว่า ตามสำเนากรมธรรม์ระบุว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนของรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 2XX 1016 กรุงเทพมหานคร จากบริษัท คาร์เร้นท์แอนด์ลีส จำกัด (มหาชน) สิ้นสุดความคุ้มครองในวันที่ 14 กรกฎาคม 2565 ซึ่งเหตุเกิดในวันที่ 24 ตุลาคม 2564 สัญญาประกันภัยค้ำจุนจึงยังมีผลในวันเกิดเหตุ อีกทั้งจเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การไว้ในประเด็นนี้ จึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุน และเมื่อข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่านาย E เป็นผู้ขับขี่รถยนต์ที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัย แล้วนาย E ขับรถยนต์โดยประมาท ล้ำเส้นเข้ามาในช่องทางเดินรถคันที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2  โดยสารมา เป็นเหตุให้เฉี่ยวชนกันและทำให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้รับบาดเจ็บและรถยนต์ของโจทก์ที่ 3 ได้รับความเสียหาย เมื่อกรมธรรม์ระบุว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก อีกทั้งตามรูปภาพและหนังสือชี้ประมาทระบุว่านาย E รับว่าตนเป็นฝ่ายประมาท ดังนั้นจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสามในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยประเด็นสุดท้ายคือ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสามเพียงใด ในส่วนของโจทก์ที่ 3 นั้น โจทก์ทั้งสามมีโจทก์ที่ 3 อ้างตนเองเป็นพยาน เบิกความว่า รถยนต์คันหมายเลขทะเบียน XX 4112 กรุงเทพมหานคร ได้รับความเสียหายจนไม่สามารถซ่อมแซมให้กลับมาใช้ดังเดิมได้ โดยประเมินความเสียหายประมาณ 65,000 บาท แต่ความเสียหายจริงเป็นเงิน 120,00 บาท ตามบันทึกการตรวจสภาพรถยนต์และภาพถ่าย และค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์ที่ 3 ไม่สามารถใช้รถยนต์ได้เป็นเงิน 800 บาท ต่อวัน เป็นเวลา 138 วัน ส่วนจำเลยที่ 2 มีนาย O พนักงานจำเลยที่ 2 เบิกความว่า ความเสียหายเกี่ยวกับรถยนต์เป็นเงิน 120,000 บาท นั้น สูงเกินไป เนื่องจากโจทก์ทั้งสามไม่ได้ระบุรายละเอียดว่ารถยนต์เสียหายอย่างไร และค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเป็นเวลา 138 วัน เนื่องจากเป็นความบกพร่องของโจทก์ที่ 3 ที่ติดต่อซ่อมแซมรถยนต์กับอู่ซ่อมรถยนต์เอง จำเลยที่ 2 ไม่เกี่ยวข้อง ทำให้การซ่อมแซมใช้ระยะเวลานาน อีกทั้งตามกรมธรรม์นั้นกำหนดให้ชำระไม่เกินวันละ 500 บาท ต่อวัน เห็นว่า เมื่อพิจารณาจากเอกสารแล้ว จะเห็นได้ว่ารถยนต์ของโจทก์ที่ 3 ได้รับความเสียหายค่อนข้างรุนแรง และค่าเสียหายที่เกิดขึ้นประมาณ 65,000 บาท แม้โจทก์ที่ 3 จะเบิกความว่ารถยนต์ไม่สามารถซ่อมแซมจนกลับมาใช้งานได้อีก แต่โจทก์ทั้งสามก็มิได้มีพยานหลักฐานใดว่าจะเป็นจริงดังที่อ้าง อีกทั้งโจทก์ที่ 3 ก็เบิกความตอบทนายจำเลยที่ 2 ถามค้านว่ารถยนต์คันดังกล่าวยังไม่ได้ซ่อมแซมจนกลับมาใช้งานได้อีก แต่โจทก์ทั้งสามก็มิได้มีพยานหลักฐานใดว่าจะเป็นจริงดังที่อ้าง อีกทั้งโจทก์ที่ 3 ก็เบิกความตอบทนายจำเลยที่ 2 ถามค้านว่ารถยนต์คันดังกล่าวยังไม่ได้ซ่อมแซมจึงไม่อาจรับฟังได้ว่ารถยนต์ไม่สามารถซ่อมแซมจนกลับมาใช้งานได้ จึงสมควรกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้เป็นเงิน 65,000 บาท และในส่วนค่าขาดประโยชน์นั้น แม้ในทางนำสืบของโจทก์ทั้งสามไม่ปรากฏว่าจะใช้เวลาซ่อมแซมนานเท่าใด อีกทั้งหากโจทก์ทั้งสามนำรถยนต์เข้าซ่อมแซมในทันทีก็อาจไม่ต้องใช้ระยะเวลาถึง 138 วัน ตามที่กล่าวอ้าง แต่อย่างไรก็ตามการที่รถยนต์ของโจทก์ที่ 3 ได้รับความเสียหายย่อมต้องใช้ระยะเวลาในการซ่อมแซมอยู่ดี จึงเห็นสมควรคกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้เป็นเงิน 500 บาท ต่อวัน เป็นเวลา 60 วัน คิดเป็นเงิน 30,000 บาท รวมค่าเสียหายที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 3 เป็นเงิน 95,000 บาท

          ในส่วนของโจทก์ที่ 3 นั้น โจทก์ทั้งสามมีโจทก์ที่ 3 อ้างตนเองเป็นพยาน เบิกความว่า โจทก์ที่ 1 ได้รับบาดเจ็บ ได้แก่ กระดูกมือขวาหัก 2 ท่อน มีบาดแผลถลอกที่คาง หลังมือซ้าย ไหปลาร้าด้านขวา มือขวาบวม มีแผลฟกช้ำ ต้องรักษาโดยการใส่เฝือกอ่อน ใช้เวลารักษาตัวเป็นระยะเวลา 1 เดือน และโจทก์ที่ 1 ยังต้องพักรักษาตัวต่อไปอีกมากกว่าที่กำหนดไว้ในใบรับรองแพทย์ อีกทั้งอุบัติเหตุดังกล่าวยังทำให้ศีรษะของโจทก์ที่ 1 ตรงบริเวณขมับด้านขวายุบ ภาพถ่ายอาการบาดเจ็บ สำเนาฟิล์มเอกซเรย์ สำเนาใบรับรองแพทย์ สำเนาประวัติการรักษา สำเนาใบนำส่งผู้บาดเจ็บ มีค่ารักษาพยาบาลก่อนฟ้องเป็นเงิน 1,250 บาท ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวเนื่องกับค่ารักษาพยาบาล โดยหลังจากเกิดอุบัติเหตุโจทก์ที่ 1 จึงดื่มนมตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บ คิดเป็นเงิน 4,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลในอนาคตและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวเนื่องกับการรักษาพยาบาลในอนาคตนั้น โจทก์ที่ 1 ได้รับบาดเจ็บเป็นเหตุให้ศีรษะของโจทก์ที่ 1 ตรงบริเวณขมับด้านขวายุบลงจนเห็นได้ชัด จึงต้องทำการรักษาในอนาคต คิดเป็นเงิน 95,990 บาท ในส่วนของค่าสูญเสียความสามารถประกอบการงานในอนาคต โจทก์ที่ 1 ประสงค์ที่จะประกอบอาชีพตำรวจในอนาคต แต่เมื่อศีรษะของโจทก์ที่ 1 ตรงบริเวณขมับด้านขวายุบลง ทำให้โจทก์ที่ 1 ไม่อาจจะประกอบอาชีพดังกล่าวได้ คิดค่าเสียหายเป็นเงิน 300,000 บาท และค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินนั้น โจทก์ที่ 1 ใช้เวลารักษาพยาบาล 1 เดือน ยังไม่สามารถใช้มือขวาได้ดีดังเดิม และมีภาวะหวาดกลัวในขณะที่ต้องโดยสารรถยนต์ คิดเป็นเงิน 300,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 2 มีนาย O พนักงานจำเลยที่ 2 เบิกความได้ความว่า จำเลยที่ 1 ชำระค่ารักษาพยาบาลในฐานะผู้รับประกันภัยภาคบังคับของรถยนต์ของโจทก์ที่ 3 แล้ว โดยมีวงเงิน 80,000 บาท โจทก์ที่ 3 จึงไม่เสียหายในส่วนนี้ ส่วนค่าเสียหายอื่น ๆ นั้น โจทก์ที่ 1 ใช้เวลารักษาพยาบาลเพียง 1 เดือน และไม่ปรากฏว่าต้องรักษาพยาบาลอีก จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด เห็ฯว่าระบุว่า ชำระเงินเอง(ผู้ประสบภัยจากรถ)และโจทก์ที่ 3 ก็เบิกความตอบทนายจำเลยที่ 2 ถามค้านว่า จำเลยที่ 1 ชำระค่ารักษาพยาบาลส่วนหนึ่ง แต่ก็มาเบิกความว่าพยานเป็นผู้ชำระเงินเอง อันเป็รการขัดแย้งกันในตัวเอง แต่เมื่อพิจารณาจากวงเงินที่จำเลยที่ 1 ให้ความคุ้มครองนั้น เป็นวงเงิน 80,000 บาท และโจทก์ที่ 3 ก็รับว่าเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 เต็มวงเงิน จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าโจทก์ที่ 3 ชำระค่ารักษาพยาบาล แต่เป็นจำเลยที่ 1 ที่ชำระ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในส่วนนี้ ส่วนค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวเนื่องกับการรักษาพยาบาล การที่โจทก์ที่ 3 จะให้โจทก์ที่ 1 ดื่มนมเพื่อรักษาอาการกระดูกมอืขวาหักนั้น แม้จะเป็นการทำตามที่แพทย์แนะนำดังที่โจทก์ที่ 3 เบิกความ แต่โจทก์ทั้งสามไม่ได้มีหลักฐานว่าได้ซื้อนมดังกล่าวที่อ้างหรือไม่ อีกทั้งโจทก์ที่ 1 ยังเป็นเด็ก การที่โจทก์ที่ 3 ซึ่งเป็นมารดาของโจทก์ที่ 1 ให้โจทก์ที่ 1 ดื่มนมย่อมเป็นเรื่องปกติในการดูแลบุตรของมารดา จึงไม่กำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้ ส่วนค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวเนื่องกับการรักษาพยาบาลในอนาคตและค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินนั้น ไม่ปรากฏว่ามีบาดแผลศีรษะยุบลง แต่ระบุเพียงว่ามีบาดแผลที่คางฉีกขาดที่คาง 0.1 x 0.5 เซนติเมตร และแพทย์ให้ความเห็นว่ารักษาหายใน 1 เดือน ดังนั้น แม้โจทก์ทั้งสามจะอ้างว่าโจทก์ที่ 1 ต้องทำการรักษาที่ศีรษะหรือไม่สามารถประกอบอาชีพตำรวจได้ แต่การที่ศีรษะของโจทก์ที่ 1 ตรงบริเวณขมับด้านขวายุบลงจึงไม่ใช่ผลโดยตรงจากอุบัติเหตุ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายส่วนนี้ และค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินนั้น โจทก์ที่ 1 ได้รับบาดเจ็บกระดูกมือขวาหักต้องใช้เวลารักษาเป็นเวลา 1 เดือน และเมื่อพิจารณาจากความรุนแรงของอุบัติเหตุ ย่อมทำให้โจทก์ที่ 1 ได้รับความทุกข์ทรมานและเกิดการหวาดระแวงอยู่บ้าง แต่ค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งสามเรียกร้องมานั้นสูงเกินไป จึงกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้เป็นเงิน 50,000 บาท

          ในส่วนของโจทก์ที่ 2 โจทก์ทั้งสามมีโจทก์ที่ 3 อ้างตนเองเป็นพยาน เบิกความว่า โจทก์ที่ 2 ได้รับบาดเจ็บ ได้แก่ กระดูกขาหัก 2 ข้าง ต้องเข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัดดามเหล็กต้องใส่เหล็กดามตรงต้นขาทั้งสองข้างและใส่เหล็กดามตรงกระดูกหน้าแข้งของขาข้างซ้าย มีบาดแผลฉีกขาดที่ขาขวาและใต้ตาซ้าย ใช้เวลารักษาตัวเป็นระยะเวลา 60 วัน และโจทก์ที่ 2 ยังต้องพักรักษาตัวต่อไปอีกมากกว่าที่กำหนดในใบรับรองแพทย์ ตามสำเนาใบส่งตัวผู้บาดเจ็บ สำเนาภาพถ่ายอาการบาดเจ็บ สำเนาฟิล์มเอกซเรย์ สำเนาใบรับรองแพทย์ สำเนาประวัติการรักษา และสำเนาใบนัดผู้ป่วย มีค่ารักษาพยาบาลจากการผ่าตัด 3 ครั้ง เป็นเงิน 238,368 บาท และเข้ารักษาในโรงพยาบาลวันละ 200 บาท เป็นเวลา 1,800 บาท รวเป็นเงิน 241,968 บาท ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวเนื่องกับการรักษาพยาบาล โดยโจทก์ที่ 2 ต้องเดินทางจากจังหวัดสกลนครไปรักษาที่โรงพยาบาลอุดรธานี 4 ครั้ง คิดเป็นเงิน 8,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลในอนาคตและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวเนื่องกับการรักษาพยาบาลในอนาคตนั้น โจทก์ที่ 2 ได้รับบาดเจ็บกระดูกต้นขาหักสองข้าง จึงต้องผ่าตัดนำเหล็กออกจากกระดูกที่ดามไว้ คิดเป็นเงิน 160,000 บาท ค่ากายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูร่างกาย คิดเป็นเงิน 10,000 บาท และมีรอยแผลเป็นจากการผ่าตัด จึงซื้อยาทาบริเวณรอยแผลเป็นและต้องทำการรักษาในอนาคต คิดเป็นเงินจำนวน 4,920 บาท และ 21,000 บาท และโจทก์ที่ 2 ดื่มนมตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บ คิดเป็นเงิน 8,000 บาท ในส่วนของค่าสูญเสียความสามารถประกอบการงานในอนาคต โจทก์ที่ 2 ประสงค์จะประกอบอาชีพตำรวจในอนาคต แต่เมื่อโจทก์ที่ 2 เดินกะเผลก แขนขายาวไม่เท่ากันอย่างชัดเจน ทำให้โจทก์ที่ 2 ไม่อาจจะประกอบอาชีพดังกล่าวได้ คิดค่าเสียหายเป็นเงิน 300,000 บาท และค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินนั้น โจทก์ที่ 2 ต้องรับการรักษาโดยการผ่าตัด 3 ครั้ง ระหว่างนั้นโจทก์ที่ 2 ไม่สามารถเดินและช่วยเหลือตัวเองได้ และมีภาวะหวาดกลัวในขณะที่ต้องโดยสารรถยนต์ คิดเป็นเงิน 300,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 2 มีนาย O พนักงานจำเลยที่ 2 เบิกความได้ความว่า จำเลยที่ 1 ชำระค่ารักษาพยาบาลในฐานะผู้รับประกันภัยภาคบังคับของรถยนต์ของโจทก์ที่ 3 แล้ว โดยมีวงเงิน 80,000 บาท โจทก์ที่ 3 จึงไม่เสียหายในส่วนนี้ ส่วนค่าเสียหายอื่น ๆ นั้น โจทก์ที่ 2 ใช้เวลารักษาพยาบาลเพียง 2 สัปดาห์ และไม่ปรากฏว่าต้องรักษาพยาบาลอีก จำเลยที 2 จึงไม่ต้องรับผิด เห็นว่าตามเอกสารระบุว่ามีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เป็นเงิน 119,000 บาท, 52,500 บาท และ 66,330 บาท ตามลำดับ ซึ่งแม้โจทก์ที่ 3 จะเบิกความจะเบิกความตอบทนายจำเลยที่ 2 ถามค้านว่า ใช้สิทธิบัตรทองในการชำระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม แม้โจทก์ที่ 2 จะได้รับตามโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าของรัฐ ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องจากจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องระงับไป เพราะเป็นสิทธิของโจทก์ที่ 2 ตามที่กฎหมายบัญญัติ อีกทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระค่ารักษาพยาบาลของโจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยภาคสมัครใจของรถยนต์ของโจทก์ที่ 3 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในส่วนนี้เป็นเงิน 238,368 บาท ส่วนค่าชดเชยรายวันนั้น ไม่ปรากฏว่าในทางนำสืบว่าโจทก์ที่ 2 จะได้รับชดเชยในส่วนนี้อย่างไร อันเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ จึงไม่กำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้ ส่วนค่าเดินทางมารักษาพยาบาลนั้น โจทก์ที่ 2 ต้องเดินทางจากจังหวัดสกลนครมาที่โรงพยาบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 4 ครั้ง ย่อมต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ จึงกำหนดให้ตามขอ เป็นเงิน 8,000 บาท ส่วนค่ารักษาพยาบาลในอนาคต โจทก์ที่ 2 ที่มีอายุ 10 ปี ย่อมมีการเจริญเติบโตไปตามวัยและจำต้องเอาเหล็กดามกระดูกออกเพื่อให้ใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เป็นค่าใช้จ่ายอนาคตแต่เมื่อเทียบเคียงจากค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดที่ผ่านมาของโจทก์ที่ 2 และแบบประเมินค่าทำหัตถการแล้ว เห็นควรกำหนดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เป็นเงิน 100,000 บาท ส่วนค่ากายภาพบำบัดในการรักษาด้วย ที่โจทก์ที่ 2 ขอค่าเสียหายมาในส่วนนี้เหมาะสมแล้ว จึงกำหนดให้ตามขอ เป็นเงิน 10,000 บาท ส่วนค่ารักษารอยแผลเป็นนั้น ตามรูปถ่ายจะเห็นได้ว่าโจทก์ที่ 2 มีรอยแผลเป็นจากการผ่าตัดหลายจุด แต่การรักษาทั้งใช้ยาทาหรือทำเลเซอร์ตามที่โจทก์ที่ 3 เบิกความนั้นไม่ใช่การรักษาบาดแผลที่ได้รับจากอุบัติเหตุ แต่เป็นเรื่องของการตบแต่งบาดแผล ยกคำขอในส่วนนี้ ส่วนค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวเนื่องกับการรักษาพยาบาล การที่โจทก์ที่ 3 จะให้โจทก์ที่ 2 ดื่มนมเพื่อรักษาอาการกระดูกต้นขาหักนั้นต่างกับโจทก์ที่ 1 เนื่องจากอาการกระดูกต้นขาหักเป็นอาการบาดเจ็บที่รุนแรง นอกจากจะต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัดหรือทำกายภาพบำบัด จะต้องดื่มนมที่มีโปรตีนและแคลเซียมประกอบด้วยจึงจะทำให้กระดูกสมานกันดังเดิม เมื่อโจทก์ที่ 2 ต้องดื่มนมวันละ 2 กล่อง อันเป็นปริมาณที่เหมาะสม จึงกำหนดให้ตามขอเป็นเงิน 8,000 บาท ส่วนค่าสูญเสียความสามารถในการประกอบการงานในอนาคตและค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินนั้น เมื่อพิจารณาจากคลิปวิดีโอและความรุนแรงของบาดแผลที่โจทก์ที่ 2 ได้รับแล้ว การที่โจทก์ที่ 2 ได้รับบาดเจ็บกระดูกต้นขาหักทั้งสองข้างจึงส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต โดยใช้เวลาตั้งแต่วันเกิดเหตุจนถึงวันที่ผ่าตัดครั้งสุดท้ายเป็นเวลา 2 เดือนและยังต้องทำกายภาพบำบัดอีก แม้โจทก์ที่ 2 จะกลับมาเดินได้ แต่ก็ยังมีอาการเดินกะเผลกและไม่แน่ว่าจะรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ซึ่งอาจประสบปัญหาในการประกอบอาชีพต่อไป แต่อย่างไรก็ดี ที่โจทก์ที่ 3 อ้างว่าโจทก์ที่ 2 อยากประกอบอาชีพเจ้าพนักงานตำรวจก็เป็นเพียงการคาดคะเนของโจทก์ที่ 3 เอง โจทก์ที่ 2 อาจประกอบอาชีพอื่นที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตนก็ได้ จึงกำหนดค่าเสียหายในส่วนค่าสูญเสียความสามารถในการประกอบการงานในอนาคตเป็นเงิน 250,000 บาท และเมื่อพิจารณาจากความรุนแรงของอุบัติเหตุตามภาพถ่ายอาการบาดเจ็บ และการเดินของโจทก์ที่ 2 ตามเอกสารแล้ว นอกจากย่อมทำให้โจทก์ที่ 2 ได้รับความทุกข์ทรมานระหว่างการรักษาแล้ว โจทก์ที่ 2 อาจไม่สามารถเดินหรือวิ่งได้เหมือนคนปกติ และยังมีรอยแผลเป็นจากการผ่าตัดและเกิดการหวาดระแวงในการโดยสารรถยนต์ แต่ค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งสามเรียกร้องมานั้นสูงเกินไป จึงกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้เป็นเงิน 250,000 บาท รวมค่าเสียหายที่จำเลยที่ 2 ต้องชำระให้แก่โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 856,368 บาท

          ในส่วนดอกเบี้ยนั้นปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ทั้งสามโดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้ปฏิเสธว่าตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย หมวดเงื่อนไขทั่วไปข้อ 5 ระบุว่าหากศาลพิพากษาให้บริษัทแพ้คดี บริษัทจะต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยหรือผู้เสียหายนั้น โดยชดใช้ค่าเสียหายตามอัตราดังกล่าว สำหรับค่าเสียหายเชิงลงโทษนั้นเห้ฯว่าโจทก์มีนายศุภสิทธิ์ ศิริ ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ทั้งสามและทนายโจทก์ เบิกความว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยภาคบังคับและภาคสมัครใจของรถยนต์หมายเลขทะเบียน 2XX 1016 กรุงเทพมหานคร จึงมีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อบุคคลภายนอกเมื่อเกิดวินาศภัย ภายหลังเกิดเหตุ โจทก์ทั้งสามทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วแต่เพิกเฉย ทั้งที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน แต่กลับไม่ดำเนินการพิจารณาและชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนภายใน 15 วัน และไม่ระบุข้อเท็จจริงและเหตุผลของการปฏิเสธไม่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ส่วนจำเลยที่ 2 มีนาย O เบิกความว่าพยานเคยเจรจากับโจทก์ที่ 3 แล้วแต่ไม่สามารถตกลงกันได้ เนื่องจากพยานเสนอชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่เกินคนละ 50,000 บาท แต่โจทก์ที่ 3 เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเต็มวงเงินตามกรมธรรม์ เห็นว่า แม้จำเลยที่ 2 จะเคยเจรจาค่าสินไหมทดแทนกับโจทก์ที่ 3 แล้ว แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ ซึ่งไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีนี้ จำเลยที่ 2 ได้พิจารณาทบทวนการจ่ายยค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสามหรือชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลของการปฏิเสธไม่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน อันเป็นการขัดต่อคำสั่งนายทะเบียนที่ 66/2563 และคู่มือตีความกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ คู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์คู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์แบบคุ้มครองเฉพาะภัย แม้โจทก์ทั้งสามจะไม่ใช่ผู้เอาประกันภัยกับจำเลยที่ 2 แต่โจทก์ทั้งสามเป็นผู้เสียหายจากรถยนต์ที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัย เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนายทะเบียนที่ 66/2563 ในการพิจารณาจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสาม การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบในฐานะผู้มีอาชีพและธุรกิจอันเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จึงเห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษให้แก่โจทก์ทั้งสามเป็นเงินคนละ 50,000 บาท ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 12 ประกอบมาตรา 42

          พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 50,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 1 พร้อมอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 50,000 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 14 มีนาคม 2565) เป็นต้น ไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 864,368 บาท ให้โจทก์ที่ 2 พร้อมอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 864,368 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และชำระเงิน 75,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 3 พร้อมอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 75,000 บาท  นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าเสียหายเพื่อการลงโทษแก่โจทก์ทั้งสามคนละ 5,000 บาท กับให้จำเลยที่ 2 ชดใช่ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสาม โดยส่วนที่โจทก์ทั้งสามได้รับยกเว้นนั้น ให้จำเลยที่ 2 นำมาชำระต่อศาลในนามของโจทก์ทั้งสาม เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ชำระตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ทั้งสามชนะคดี โดยกำหนดค่าทนายความ 15,000 บาท คำขออื่นให้ยก/

คำพิพากษาศาลฎีกาคดีเมาขับ : ศาลฎีกาตีตกสูตรคำนวณแอลกอฮอล์ย้อนหลัง ประกันภัยไม่มีสิทธิ์ปัดรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกา ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2567 คดีความระหว่าง นาย ก (โจทก์) และบริษัท ABC ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

  โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองและเอาประกันภัยรถยนต์หมายเลขทะเบียน XX 5678 เชียงราย กับจำเลย มีความคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 ถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564 เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 เวลา 23.00 น. โจทก์ขับรถยันต์ดังกล่าวเฉี่ยวชนเสาป้ายจราจรทางหลวงและประตูเหล็กร้าน A ได้รับความเสียหาย และเป็นเหตุให้รถยนต์ที่เอาประกันภัยได้รับความเสียหายด้วย โจทก์แจ้งเหตุแก่จำเลยเพื่อนำเอารถยนต์ของโจทก์ไปจัดซ่อมให้คืนสู่สภาพเดิม แต่จำเลยปฏิเสธอ้างเหตุว่าขณะเกิดเหตุโจทก์มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดมากกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ทั้งที่เจ้าพนักงานตำรวจไม่ได้แจ้งข้อหาแก่โจทก์ว่าขับรถในขณะเมาสุรา การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นค่าซ่อมรถ 209,820 บาท ค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์ไม่สามารถใช้รถได้นับแต่วันพ้นกำหนด 15 วัน และค่าขาดประโยชน์หลังจากวันฟ้องวันละ 800 บาท จนกว่าจะเลยจะซ่อมรถยนต์ขอฃโจทก์จนแล้วเสร็จ ค่าสินไหมทดแทนจากกรณีที่จำเลยอิดเอื้อนผิดสัญญาเป็นค่าเสียหายเชิงลงโทษ 120,000 บาท ค่ายกลาก 12,500 บาท รวมเป็นเงิน 283,700 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 283,700 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถนับถัดจากวันฟ้องวันละ 800 บาท จนกว่าโจทก์จะซ่อมรถเสร็จ และหรือให้จำเลยนำรถยนต์ของโจทก์ไปซ่อมให้เสร็จและใช้งานได้ดีดังเดิมหรือชดใช้ค่าซ่อมรถ 209,820 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 283,700 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยให้การว่า จำเลยเป็นผู้รับประกันรถยนต์ หมายเลขทะเบียน XX 5678 เชียงราย จากโจทก์ ประเภทประกันภัยแบบคุ้มครองความเสียหายโดยสิ้นเชิง (ประเภทหนึ่ง) ระยะเวลาคุ้มครอง 1 ปี เริ่มคุ้มครองวันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 และสิ้นสุดวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564 กำหนดวงเงินคุ้มครองความเสียหายตัวรถยนต์ 250,000 บาท ต่อครั้ง เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 เวลาประมาณ 23.00 น. โจทก์ขับรถยนต์ดังกล่าวด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวัง เฉี่ยวชนเสาป้ายจราจรทางหลวงและทรัพย์สินของบุคคลอื่นได้รับความเสียหาย หลังเกิดเหตุพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเชียงของ จังหวัดเชียงราย ไปตรวจที่เกิดเหตุ พบโจทก์แสดงตัวเป็นผู้ขับขี่รถยนต์ ต่อมาเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2564 เวลา 03.46 น. พนักงานสอบสวนได้ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดของโจทก์โดยวิธีเป่าตรง ค่าที่วัดได้ 38 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เวลาที่ตรวจวัดกับเวลาที่เกิดเหตุจริงมีระยะเวลาห่างกัน 286 นาที ซึ่งปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดจะจะมีอัตราเฉลี่ยลดลง 0.25 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ต่อนาที คิดเป็น 71.50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เมื่อนำผลมารวมกับผลเป่าตรงที่มีแอลกอฮอล์ในเลือด 109.50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดและเกินกว่าที่กรมธรรม์ประกันภัยกำหนดไว้ จึงเป็นการผิดเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์และค่าเสียหายในอนาคต ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกมา ได้แก่ ค่าซ่อมรถยนต์และค่ายกลากนั้นสูงเกินความจริง ค่าเสียหายในเชิงลงโทษไม่ใช่ความเสียหายที่มีอยู่จริง โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้อง หากจำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์แล้วต้องไม่เกิน 250,000 บาท อัตราดอกเบี้ยผิดนัดซึ่งจำเลยต้องรับผิดตามกฎหมายไม่เกินอัตราร้อยละ 5 ต่อปี การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษากลับเป็นว่า ให้จำเลยชำระเงิน 202,400 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 178,400 บาท นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 23 มิถุนายน 2564) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนตามทุนทรัพย์ที่ชนะคดี โดยกำหนดค่าทนายความให้รวม 20,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

จำเลยฎีกา โดยศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า จำเลยเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ หมายเลขทะเบียน XX 5678 เชียงราย โดยโจทก์เป็นผู้เอาประกันภัย ประเภทประกันภัยแบบคุ้มครองความเสียหายโดยสิ้นเชิง (ประเภทหนึ่ง) มีระยะเวลาคุ้มครอง 1 ปี เริ่มคุ้มครองวันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 และสิ้นสุดวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564 เวลา 16.30 น. กำหนดวงเงินคุ้มครองความเสียหายตัวรถยนต์ 250,000 บาท ต่อครั้ง ตามสำเนาตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 เวลาประมาณ 23.00 น. ร้อยตำรวจเอก ข พนักงานนสอบสวนสถานีตำรวจเชียงของ ได้รับแจ้งเหตุรถยนต์ชนบ้านได้รับความเสียหาย จึงเดินทางไปตรวจที่เกิดเหตุ พบโจทก์แสดงตัวเป็นผู้ขับขี่รถยนต์คันดังกล่าวเฉี่ยวชนเสาป้ายจราจรหมวดทางหลวงและทรัพย์สินของบุคคลอื่นได้รับความเสียหาย และเป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์ได้รับความเสียหายด้วย ต่อมาวันที่ 2 พฤษภาคม 2564 เวลา 03.46 น. พนักงานสอบสวนได้ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดของโจทก์โดยวิธีเป่าตรง ค่าที่วัดได้ 38 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้นพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่โจทก์ว่าขับรถโดยประมาทอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน แต่ไม่ได้แจ้งข้อหาขับรถในขณะเมาสุรา โจทก์ฤให้การรับสารภาพ พนักงานสอบสวนทำการเปรียบเทียบปรับ 400 บาท  ต่อมาจำเลยมีหนังสือฉบับลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 แจ้งผลพิจารณาค่าสินไหมทดแทน โดยปฏิเสธความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยเหตุผลว่า ขณะเกิดเหตุโจทก์มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เกินกว่าเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยกำหนดไว้ หลังเกิดเหตุโจทก์นำรถยนต์ไปซ่อมแซมเองแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2564

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่า คำสั่งนายทะเบียนที่ 669/2563 กับคู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัยที่กำหนดหลักการคำนวณปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดว่า การลดลงของระดับแอลกอฮอล์ในเลือดหลังการดื่มครั้งสุดท้ายลดลงประมาณ 15 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ต่อชั่วโมง เป็นหลักการคำนวณที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือไม่ และโจทก์นำสืบหักล้างแก้ไขหลักการดังกล่าวได้หรือไม่ จำเลยฎีกาว่า คำอธิบายคู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัยที่แนบท้ายคำสั่งนายทะเบียนที่ 66/2563 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรมธรรม์ประกันภัยย่อมมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาประกันภัยจะต้องปฏิบัติตาม นั้น เห็นว่า ตามสำเนาตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์มีเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งได้กำหนดเงื่อนไขไว้ชัดแจ้งในหมวดเงื่อนไขทั่วไป การตีความกรมธรรม์ประกันภัยว่า “ข้อความที่ปรากฏในกรมธรรม์ประกันภัยนี้รวมทั้งเอกสารแนบท้ายและเอกสารประกอบให้ตีความตามคู่มือการตีความที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบไว้” ดังนั้น คู่มือตีความที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบไว้ตามสำเนาคำสั่งนายทะเบียนที่ 66/2563 และสำเนาคู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัย หมวดความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ จึงต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของกรมธรรม์ประกันภัย โดยสำเนาคู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัย หมวดการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ ระบุว่า ข้อ 9 การยกเว้นการใช้อื่น ๆ การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครอง… ข้อ 9.3 การขับขี่โดยบุคคลซึ่งในขณะขับขี่ให้ถือว่าเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ดังนี้ 9.3.1 มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์…การตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดสามารถดำเนินการได้หลายวิธี เช่น การใช้วิธีเป่าลมหายใจ (BREATH ANALYZER TEST) การตรวจจากปัสสาวะ การตรวจจากเลือด และสามารถคำนวณปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด ณ เวลาที่เกิดเหตุได้ แม้ระยะเวลาที่ตรวจวัดหลังเกิดเหตุก็ตาม ซึ่งถ้าคำนวณตามหลักทางการแพทย์ของแพทยสภา และตามผลการวิจัยของสถาบันนิติเวชวิทยากรมตำรวจ เรื่อง การลดลงของระดับแอลกอฮอล์ในเลือดภายหลังการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (ผลการวิจัยของทั้งสองสถานบัน) ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดภายหลังการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จะลดลงภายหลังดื่มครั้งสุดท้ายประมาณ 15 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ต่อชั่วโมง เป็นต้นไป ดังนั้น ไม่ว่าจะใช้วิธีการใดหรือตรวจวัดเวลาใด หากผลที่ได้เมื่อเทียบค่าออกมาแล้วปรากฏว่า ผู้ขับขี่นั้นในขณะเกิดเหตุมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ สำหรับบุคคลทั่วไปหรือเกินกว่า 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ สำหรับบุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ หรือโดยบุคคลที่มีใบอนุญาตขับรถชั่วคราวหรือโดยบุคคลที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถหรืออยู่ระหว่างพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถก็จะเข้าข้อยกเว้นนี้ จึงรับฟังได้ว่า คำสั่งนายทะเบียนที่ 66/2563 กับคู่มือการตีความกรมธรรม์ประกันภัยที่กำหนดหลักการคำนวณปริมาณแอลกอฮอล์เป็นหลักการคำนวณที่กำหนดไว้ในสัญญา แต่ปัญหาว่าขณะเกิดเหตุโจทก์ขับรถยนต์ในขณะเมาสุราโดยมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์หรือไม่นั้น จำเลยมีภาระการพิสูจน์ เมื่อทางนำสืบของจำเลยได้ความเพียงว่าพนักงานสอบสวนตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดของโจทก์โดยวิธีเป่าตรง ค่าที่วัดได้ 38 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เวลาที่ตรวจวัดโดยวิธีเป่าตรงกับเวลาที่เกิดเหตุมีระยะเวลาห่างกัน 286 นาที และจำเลยมีนาย ค รองผู้อำนวยการฝ่ายสินไหมทดแทน เป็นพยานเบิกความสนับสนุนว่า ตามคำสั่งนายทะเบียนที่ 66/2563 และคู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 9.3 การขับขี่โดยบุคคลซึ่งในขณะขับขี่ให้ถือว่าเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการเจรจาทางบก ดังนี้ 9.3.1 มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์…การตรวจปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดดำเนินการได้หลายวิธี เช่น การใช้วิธีเป่าลมหายใจ (BREATH ANALYZER TEST) การตรวจจากปัสสาวะ การตรวจจากเลือด และสามารถคำนวณปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด ณ เวลาที่เกิดเหตุได้ แม้ระยะเวลาตรวจวัดหลังเกิดเหตุก็ตาม ซึ่งถ้าคำนวณตามหลักทางการแพทย์ของแพทย์สภา และตามผลการวิจัยของสถาบันนิติเวชวิทยา กรมตำรวจ เรื่อง การลดลงของระดับแอลกอฮอล์ในเลือดภายหลังการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (ผลการวิจัยของทั้งสองสถานบัน) ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดภายหลังการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จะลดลงภายหลังดื่มครั้งสุดท้ายประมาณ 15 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ต่อชั่วโมงเป็นต้น คดีนี้พนักงานสอบสวนตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดของโจทก์โดยวิธีเป่าตรง ค่าที่วัดได้ 38 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เวลาที่ตรวจวัดโดยวิธีเป่าตรงกับเวลาที่เกิดเหตุมีระยะเวลาห่างกัน 286 นาที ตามหลักการทางการแพทย์ของแพทยสภา และตามผลการวิจัยของสถาบันนิติเวชวิทยา กรมตำรวจ ดังกล่าวข้างต้นคิดคำนวณเป็นปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดที่ลดลงจำนวน 71.50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เมื่อนำผลดังกล่าวมารวมกับผลโดยวิธีเป่าตรงแล้ว ขณะเกิดเหตุโจทก์มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 109.50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกินกว่ากฎหมายกำหนด จึงไม่เข้าเงื่อนไขความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ และมีข้อมูลทางวิชาการของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุขที่สนับสนุนสอดคล้องกับวิธีการคำนวณตามหลักทางการแพทย์ของแพทยสภา และตามผลการวิจัยของสถาบันนิติเวชวิทยา กรมตำรวจ ตามข้อมูลทางวิชาการ และผลจากการวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้ศึกษาระดับแอลกอฮอล์ในเลือดว่า ภายหลังการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และอัตราการทำลายของแอลกอฮอล์ใน 1 ชั่วโมง ร่างกายจะกำจัดแอลกอฮอล์ได้ 15 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ตามข้อมูลการวิจัย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่จำเลยไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดมาสนับสนุน ทั้งการคำนวณการลดลงของระดับแอลกอฮอล์ในเลือดภายหลังการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ตามที่ระบุไว้ในคู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัยเป็นการคำนวณการลดลงของระดับแอลกอฮอล์ในเลือดภายหลังการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นการทั่วไป หาใช่การคำนวณที่จะนำมาใช้กับโจทก์เป็นการเฉพาะไม่ และในข้อนี้โจทก์มีนายแพทย์ ง เป็นพยานเบิกความว่า ปริมาณอาหารที่อยู่ในกระเพาะอาหารมีผลต่อการดูดซึมแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกาย อาหารบางประเภททำให้การดูดซึมแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกายช้าลง เช่น อาหารที่มีไขมันสูง เพศและขนาดของร่างกายก็มีผลต่อการดูดซึมแอลกอฮอล์ หลังจากร่างกายดูดซึมมีการดูซึมแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกายผ่านจุดสูงสุดแล้ว โดยทั่วไปจะต้องมีการตรวจหาระดับแอลกอฮอล์ในเลือด ณ ปัจจุบัน 2 ครั้ง เปรียบเทียบกัน การที่มีการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์เพียงครั้งเดียวย่อมเป็นการยากที่จะวัดระดับแอลกอฮอล์ย้อนกลับไปได้ และทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบค่า และไม่สามารถทราบได้ว่า ขณะนั้นมีการดูดซึมผ่านระดับสูงสุดมาแล้วหรือไม่ นายแพทย์ ง เป็นพยานคนกลาง ไม่มีส่วนได้เสียในคดี ทั้งคำเบิกความของนายแพทย์ ง เจือสมกับข้อมูลทางวิชาการที่ระบุว่า ถ้าหากกระเพาะอาหารว่าง แอลกอฮอล์จะดูดซึมหมดภายใน 30 นาที หลังการดื่ม แต่ถ้าเพศและน้ำหนักของร่างกายเป็นปัจจัยที่มีผลต่อระดับแอลกอฮอล์ในเลือดทำให้คำเบิกความของนายแพทย์ ง มีน้ำหนักให้รับฟัง เมื่อจำเลยมีภาระการพิสูจน์ แต่จำเลยไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดมานำสืบให้เห็นว่า โจทก์มีสภาพร่างกายหรือมีภาวะอื่นที่ทำให้ร่างกายของโจทก์มีการดูดซึมแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกายตามปกติ และระดับแอลกอฮอล์ในเลือดของโจทก์ภายหลังการดื่มจะลดลงตามค่าเฉลี่ยที่กำหนดไว้ในคู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัย หรือไม่อย่างไร พยานหลักฐานจำเลยที่นำสืบมายังไม่มีน้ำหนักพอให้รับฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุโจทก์ขับรถยนต์ฝในขณะเมาสุรา โดยมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จำเลยต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ ฎีกาข้อนี้จำเลยฟังไม่ขึ้น

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อต่อไปว่า จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพียงใด จำเลยฎีกาว่า ตามนสภาพความเสียหายของรถยนต์ความเสียหายไม่เกิน 85,431 บาท ตามสำเนาใบประเมินราคา จำเลยอ้างเหตุปฏิเสธความรับผิดว่า ขณะโจทก์ขับรถยนต์มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ตามหลักการในคู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัยจำเลยมิได้จงใจเพื่อหน่วงเวลาให้เนิ่นช้า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ ค่ายกลากรถ 8,000 บาท สูงเกินควร สำหรับค่าเสียหายของรถยนต์โจทก์ เห็นว่า โจทก์นำสืบว่ารถยนต์โจทก์ได้รับความเสียหาย 60 รายการ ค่าซ่อมเป็นเงิน 209,820 บาท ตามสำเนาในเสนอราคา ส่วนจำเลยนำสืบว่า รถยนต์โจทก์เสียหายไม่เกิน 85,431 บาท โดยโจทก์และจำเลยมาได้นำพยานมาสืบให้เห็นว่าอะไหล่และอุปกรณ์ตามสำเนาใบเสนอราคาและสำเนาใบประเมินราคาได้รับความเสียหายเพียงใด และจำต้องเปลี่ยนใหม่หรือไม่เพียงใด เมื่อพิจารณาสภาพความเสียหายของรถยนต์โจทก์ ตามสำเนาภาพถ่าย ประกอบสำเนาสใบเสนอราคาและสำเนาใบประเมินราคา เห็นว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 กำหนดค่าเสียหายสำหรับรถยนต์โจทก์เป็นเงิน 140,000 บาท เหมาะสมแล้ว ส่วนค่าขาดประโยชน์นั้น โจทก์นำสืบว่า โจทก์ต้องใช้รถยนต์เป็นพาหนะเดินทางจากบ้านพักไปที่ทำงาน ไปตรวจที่ทำการเกษตรและใช้ทำธุระส่วนตัว ส่วนจำเลยไม่ได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่น โจทก์มีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์จากจำเลย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 กำหนดค่าขาดประโยชน์ให้แก่โจทก์เป็นเงินวันละ 800 บาท นับแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2564 ถึงวันฟ้อง (วันที่ 23 มิถุนายน 2564) เป็นเงิน 30,400 บาท กับค่าขาดประโยชน์นับถัดจากวันฟ้องถึงวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 ซึ่งเป็นวันที่ซ่อมรถยนต์แล้วเสร็จเป็นเงิน 24,000 บาท นั้น เหมาะสมแล้ว ส่วนค่ายกรถนั้น โจทก์นำสืบว่า หลังเกิดเหตุรถยนต์โจทก์ไม่สามารถขับได้ ต้องเสียค่ายกรถจากที่เกิดเหตุไม่สถานีตำรวจภูธรเชียงของ เสียค่ายกรถ 2,500 บาท และเสียค่ายกรถจากสถานีตำรวจภูธรเชียงของไปอู่ช่าง จ 10,000 บาท ส่วนจำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าค่ายกรถสูงเกินสมควรอย่างไร ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 กำหนดค่ายกรถเป็นเงิน 8,000 บาท เหมาะสมแล้วเช่นกัน

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อสุดท้ายว่า โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราใด จำเลยฎีกาว่า การเรียกดอกเบี้ยในค่าสินไหมทดแทนเป็นหนี้เงิน โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 เห็นว่า ตามเงื่อนไขกรามธรรม์ประกันภัยรถยนต์ หมวดเงื่อนไขทั่วไป ข้อ 5 ความรับผิดของบริษัทเมื่อมีการปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนกำหนดว่า เมื่อมีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนต่อบริษัทและหากบริษัทปฏิเสธความรับผิดไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตามจนเป็นเหตุใหผู้เอาประกันภัยหรือผู้เสียหายนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาล หากศาลพิพากษาให้บริษัทแพ้คดี บริษัทจะต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยหรือผู้เสียหายนั้น โดยชดใช้ค่าเสียหายตามคำพิพากษาพร้อมดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ผิดนัด ดังนี้เมื่อจำเลยปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนจนเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องคดีต่อศาล และศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยตามข้อสัญญาดังกล่าว หาใช่รับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ดังที่จำเลยฎีกาไม่ อย่างไรก็ตาม ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีผิดสัญญาอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลอาจลดลงได้ตามที่เห็นสมควร ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยบางส่วน ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

นานๆทีจะได้เห็นคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ : ชี้!บริษัทประกันภัยต้องรับผิด คำนวณแอลกอฮอล์ย้อนหลังไม่ใช่เหตุอันควรปฏิเสธความรับผิด

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2567 คดีความระหว่าง นาวสาว A (โจทก์) และบริษัท 1234 ประกันภัย (จำเลย)

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจหมายเลขทะเบียน XX 5678 ตาก ไว้กับจำเลย เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2568 เวลา 01.40 น. นาย B ขับรถคันที่เอาประกันภัยดังกล่าว โดยได้รับความยินยอมจากโจทก์ไปเฉี่ยวชนรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน XX 1111 ตาก เป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์ได้รับความเสียหายหลายรายการ จำเลยมีหน้าที่ต้องนำรถยนต์ของโจทก์ไปดำเนินการจัดซ่อมให้คืนสู่สภาพเดิม แต่จำเลยกลับเพิกเฉยและมีหนังสือปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนอ้างว่า ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์นาย B ได้ 48 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งเมื่อคำนวณปริมาณแอลกอฮอล์ย้อนหลังแล้วในขณะเกิดเหตุนาย B มีปริมาณแอลกอฮอล์เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ อันเข้าข้อยกเว้นตามสัญญา จำเลยเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการประกันภัย ไม่ได้สอบเทียบวัดเครื่องมือหรือตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์ และผลคำนวณดัชนีมวลกายของนาย B ไม่เร่งรัดจัดซ่อมโดยทดรองจ่ายค่าซ่อมแล้วค่อยมาเรียกเงินคืน แต่ประวิงเวลาการชำระหนี้โดยปราศจากหลักฐานตามสมควร อันเป็นการฝ่าฝืนในฐานะผู้ประกอบธุรกิจอันเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าซ่อมเป็นเงิน 110,624 บาท และชำระค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์ไม่สามารถใช้รถยนต์นับแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2565 ถึงวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 รวมเป็นเงิน 40,000 บาท นอกจากนี้ยังต้องรับผิดในค่าเสียหายเพื่อการลงโทษตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 42 ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 145,124 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และให้จำเลยชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเป็นค่าเสียหายในอนาคตนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่ารถยนต์ของโจทก์จะซ่อมเสร็จ (วันที่ 30 มกราคม 2566) อีกวันละ 800 บาทกับขอให้ศาลกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษไม่เกินสองเท่าแก่จำเลยตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 42

        จำเลยให้การว่า จำเลยรับประกันภัยภาคสมัครใจรถยนต์ของโจทก์ จำเลยไม่สามารถชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่โจทก์เรียกร้อง เนื่องจากพบว่าคดีนี้เกิดเหตุเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2565 เวลา 01.40 น. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองตาก จ.ตาก ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์โดยการเป่าลมหายใจในเวลา 02.17 น. (หลังเกิดเหตุแล้ว 37 นาที) ได้ค่าปริมาณแอลกอฮอล์ 48 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ตามที่เงื่อนไขกรมธรรม์กหนดไว้ จึงไม่สามารถรับผิดชอบความเสียหายต่อรถคันที่เอาประกันภัยได้ จำเลยจึงมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาไปยังโจทก์และชี้แจงเรื่องร้องขอความเป็นธรรมต่อสำนักงาน คปภ. จึงไม่อาจรับผิดชำระค่าซ่อม 97,455 บาท ให้แก้โจทก์ และค่าซ่อมดังกล่าวไม่สามารถตรวจสอบค่าซ่อมที่แท้จริง โจทก์ไม่อาจเรียกค่าขาดประโยชน์ได้เนื่องจากเหตุละเมิดครั้งนี้เกิดจากความประมาทของโจทก์ ค่าเสียหายสูงเกินจริง จำเลยไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเนื่องจากจำเลยประกิจการภายใต้การกำกับและควบคุมดูแลโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันภัย เมื่อคู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ระบุเหตุที่ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิด จำเลยจึงไม่ได้กระทำเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรมหรือจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงแต่อย่างใด หากจำเลยต้องรับผิดในอัตราดอกเบี้ยต้องเป็นอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายใหม่ ไม่ใช่ร้อยละ 15 ต่อปี ตามที่โจทก์เรียกร้องมา ขอให้ยกฟ้อง

        ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 110,624 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 4 กรกฎาคม 2565) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นแก่โจทก์ กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี 5,000 บาท สำหรับค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ได้รับยกเว้นนั้น ให้จำเลยนำมาชำระต่อศาลในนามของโจทก์ เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ชำระตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์จะชนะคดี คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

        โจกท์และจำเลยอุทธรณ์

        ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วข้อเท็จจริงคู่ที่ความไม่ได้โต้แย้งกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า จำเลยรับประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจของโจทก์ หมายเลขทะเบียน XX 5678 ตาก ตามสำเนาหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2565 เวลา 01.40 น. นาย B ขับรถยนต์ของโจทก์ที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยไปเฉี่ยวชนกับรถยนต์ หมายเลขทะเบียน XX 1111 ตาก รถยนต์โจทก์ได้รับความเสียหายวันเดียวกัน เวลา 02.17 น. มีการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์นาย B โดยวิธีการเป่าลมหายใจ วัดค่าได้ 48 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ตามรายงานการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหานาย B ว่า ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นได้รับความเสียหายและเปรียบเทียบปรับนาย B เป็นเงิน 400 บาท โจทก์จึงเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามกรมธรรม์ แต่จำเลยปฏิเสธชดใช้ค่าเสียหายตามกรมธรรม์ อ้างข้อยกเว้นตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยและคู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ตามหนังสือแจ้งผลการพิจารณา

        มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยหรือไม่ ตามข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติแล้วว่า เกิดเหตุในช่วงเวลา 01.40 น. แต่มีการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์นาย B โดยวิธีการเป่าลมหายใจ ในช่วงเวลา 02.17 น. ได้ค่า 48 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์  ซึ่งจำเลยอุทธรณ์โต้แย้งทำนองว่า การตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์กระทำภายหลังเกิดเหตุแล้วเป็นเวลา 37 นาที ดังนั้นที่ถูกต้องตามคู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ตามคำสั่งนายทะเบียนที่ 66/2563 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2563 ข้อ 9 การลดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดภายหลังการดื่มครั้งสุดท้ายประมาณ 14 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ต่อชั่วโมง ตามคำสั่งนายทะเบียนที่ 66/2563 หน้า 108 ถึง 118 จะคำนวณปริมาณแอลกอฮอล์ของนาย B ได้ 57.25 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ตามที่กำหนดความรับผิดชอบของจำเลยตามกรมธรรม์ เห็นว่า ทั้งโจทก์และจำเลยต่างก็อ้างพยานหลักฐานทางการพิสูจน์มาสนับสนุนพยานของฝ่ายตน โดยโจทก์มีนาย C อดีตนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษากรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุขและหัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยาและนิติเวชศาสตร์โรงพยาบาล DEFG เป็นพยานเบิกความประกอบแผนภาพกราฟในสำเนาบทความพิเศษ และนางสาว N ผู้รับมอบอำนาจช่วงโจทก์เบิกความและนำสืบเอกสารสนับสนุนโดยอ้างอิงบทความพิเศษของจุฬาลงกรณ์เวชสาร “การพิสูจน์ว่าเมา” ที่ระบุว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเลือด ซึ่งจะส่งผลต่อการคิดคำนวณตามสูตรการหาค่าจริงของแอลกอฮอล์ได้แก่ เพศ อายุ น้ำหนักตัว น้ำหนักรวมของกระดูกและกล้ามเนื้อ มวลน้ำในร่างกาย การได้รับการรักษาบางอย่าง หรือแม้แต่ระยะเวลาการดื่มและสภาพกระเพาะอาหาร ส่วนจำเลยก็อ้างตามคู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ คำสั่งนายทะเบียนที่ 66/2563 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2563 หน้าที่ 116 ประกอบสำเนาเอกสารการนำความรู้ “นิติเวชศาสตร์” มาประยุกต์ใช้ในการพิจารณา ที่ระบุว่า การตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดสามารถทำได้หลายวิธีและสามารถคำนวณปริมาณแอลกอฮอล์ ณ เวลาที่เกิดเหตุได้ แม้จะตรวจวัดภายหลังเกิดเหตุตามหลักทางการแพทย์ของแพทยสภาและผลการวิจัยของสถาบันนิติเวชวิทยา เรื่องการลดลงของระดับแอลกอฮอล์ในเลือดภายหลังการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยมีหลักเกณฑ์ว่าระดับแอลกอฮอล์ในเลือดจะลดลงหลังจากดื่มครั้งสุดท้ายประมาณ 15 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ต่อชั่วโมง ซึ่งก็จะเห็นว่าตามข้ออ้างทั้งสองฝ่ายล้วนแต่เป็นการอ้างหลักการในเชิงทฤษฎีและตามหลักนิติวิทยาศาสตร์ ที่เป็นเพียงการประเมินความน่าจะเป็น หรือโอกาสที่น่าจะเป็นไปได้ว่าในช่วงภายหลังเกิดเหตุระดับปริมาณแอลกอฮอล์อาจลดลงได้กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ไม่สามารถชี้ชัดตามผลทางนิติวิทยาศาสตร์เหมือนเช่นการตรวจรหัสพันธุกรรม (DNA) กล่าวคือคงเป็นเรื่องการคาดการณ์โดยวิธีประเมินจากค่าเฉลี่ยของอัตราการกำจัดแอลกอฮอล์จากร่างกายของบุคคลทั่ว ๆ ไปเท่านั้น โดยเฉพาะที่สำคัญค่าวัดที่ได้มา 48 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์นั้น ก็ได้มาจากการวัดโดยวิธีการเป่ามิใช่อาศัยจากการตรวจปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด ก็อาจทำให้การวัดค่าเฉลี่ยที่มีความคลาดเคลื่อนได้เช่นกันไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง แต่เมื่อพิจารณาพฤติการณ์แห่งคดีประกอบด้วยแล้ว ก็ไม่ปรากฏว่าภายหลังเกิดเหตุนาย B มีพฤติกรรมบ่ายเบี่ยง หลบเลี่ยงที่จะตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์แต่อย่างใด การที่มีการตรวจแอลกอฮอล์นาย B ภายหลังเกิดเหตุเพียง 37 นาที โดยอาศัยหลักเกณฑ์ของบุคคลทั่วไปที่จะนำมาใช้กล่าวอ้างเพื่อจะแสดงให้เห็นว่าหากมีการวัดปริมาณแอลกอฮอล์สูงเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์นั้น จึงไม่น่าจะเป็นธรรมกับโจทก์ผู้บริโภคและต้องตีความในทางที่เป็นคุณแก่ฝ่ายผู้เอาประกันภัย ข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่าขณะเกิดเหตุนาย B จะมีค่าปริมาณแอลกอฮอล์สูงเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายในการซ่อมแซมรถของโจทก์ ตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคเห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของจำเลยฟ้องไม่ขึ้น

        มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า จำเลยมีการประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน และต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการขาดประโยชน์จากการใช้รถใช่หรือไม่ เห็นว่า ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยกำหนดชัดเจนว่า การยกเว้นความเสียหายต่อรถยนต์การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครอง “ความเสียหายจากการขาดการใช้รถ เว้นแต่การขาดการใช้รถยนต์นั้นเกิดจากบริษัทประวิงการซ่อมหรือซ่อมล่าช้าเกินกว่าที่ควรจะเป็นโดยไม่มีเหตุผลสมควร” ดังนั้น แม้ว่าโจทก์จะอุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้อ้างทำนองว่า สืบเนื่องมาจากที่จำเลยมีการออกบัตรติดต่อซ่อมรถยนต์ให้ โจทก์จึงนำรถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้ไปซ่อมกับอู่ของจำเลย ดังนั้นจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถด้วยก็ตาม ก็เห็นว่า ตามข้ออ้างดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนที่ต้องซ่อมในตัวรถยนต์เท่านั้น เพราะค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถนั้น ไม่ว่าโจทก์จะนำไปซ่อมที่อู่ใดก็ตาม โจทก์ก็ไม่สามารถใช้รถได้ในระหว่างการซ่อม ข้ออ้างดังกล่าวจึงมิได้เกี่ยวข้องในเรื่องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถแต่อย่างใด จึงต้องพิจารณาตามเงื่อนไขกรมธรรม์ตามที่กล่าวถึงเท่านั้น ซึ่งตามข้อตกลงดังกล่าวจำเลยไม่ต้องรับผิดชอบค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถให้แก่โจทก์แต่อย่างใด เว้นแต่จะปรากฏว่า การขาดการใช้รถยนต์นั้นเกิดจากการที่บริษัทประวิงการซ่อมหรือซ่อมล่าช้าเกินกว่าที่ควรจะเป็นโดยไม่มีเหตุผลสมควร เมื่อปรากฏว่าหลักเกณฑ์ที่จะถือว่าเป็นการประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือประวิงการคืนเบี้ยประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัยตามประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันภัย ในข้อ 15 (12) “ในกรณีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนด้วยการซ่อม…บริษัทไม่ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 15 วันนับแต่วันที่การตกลงเป็นที่ยุติและบริษัทได้รับเอกสารครบถ้วน…” ซึ่งตามข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยมีหนังสือปฏิเสธไม่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ เพราะเหตุนาย B ,ปริมาณแอลกอฮอล์เกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ตามสำเนาหนังสือแจ้งผลการพิจารณาค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์แล้ว มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยตกลงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ด้วยการซ่อมแซมแล้วไม่ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน ประกอบกับตามข้อ 15 (7) ก็ระบุว่า “บริษัทใดจงใจฝ่าฝืนข้อตกลงแห่งสัญญาประกันภัยหรือข้อกำหนดหรือกฎเกณฑ์ใด ๆ ที่มีความชัดเจนที่กำหนดให้บริษัทมีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน…” เมื่อจำเลยนำสืบว่าเหตุที่จำเลยปฏิเสธความรับผิดก็เนื่องจากการยึดถือตามข้อความในคู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ตามคำสั่งนายทะเบียนที่ 66/2563 ที่มีการระบุให้ใช้ผลการวิจัยของแพทยสภาและรายงานวิจัยของสถาบันนิติเวช ดังนั้นการที่จำเลยอ้างเหตุดังกล่าวมาปฏิเสธความรับผิดจึงไม่ใช่เป็นไปโดยจงใจหรือฝ่าฝืนข้อตกลงแห่งสัญญาประกันภัยเช่นนี้จึงไม่เข้าลักษณะของการประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการขาดประโยชน์จากการใช้รถตามข้อสัญญาดังกล่าว อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

        คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยอีกว่า จำเลยต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษและโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี หรือไม่ เห็นว่า ค่าเสียหายเพื่อการลงโทษนั้นมุ่งที่จะพิจารณาผู้ประกอบธุรกิจกระทำโดยมีเจตนาที่จะเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรมหรือจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้บริโภคหรือกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อความรับปผิดชอบในฐานะมีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ซึ่งจะเห็นได้ว่าตามพฤติการณ์แห่งคดีที่ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์มานั้นเป็นคุณแก่โจทก์แล้วว่าจำเลยไม่สามารถนำความน่าจะเป้นทางหลักทฤษฎีมากำหนดหลักเกณฑ์ปริมาณแอลกอฮอล์เพื่อเป็นข้อพิสูจน์ชี้ชัดได้ว่า นาย B มีปริมาณแอลกอฮอล์สูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดในกรมธรรม์ประกันได้ไม่ โดยเฉพาะหากพิจารณาตามเงื่อนไขกรมธรรม์ก็จะเห็นชัดว่า ไม่ได้สนับสนุนให้ผู้ใช้รถยนต์ดื่มแอลกอฮอล์ในขณะขับขี่รถที่จะไปก่อให้เกิดเหตุอันตรายต่อบุคคลภายนอก ซึ่งฝ่ายโจทก์พึงคำนึงถึงเรื่องนี้เป็นสำคัญมากกว่าและต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่าที่จะอาศัยบทบัญญัติของกฎหมายเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ชอบ การที่จำเลยยกข้อต่อสู้ดังกล่างจึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายที่จำเลยสามารถกระทำได้ ไม่เข้าลักษณะผู้ประกอบธุรกิจมุงกระทำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรมหรือจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหายหรือผู้ประกอบธุรกิจไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคด้วยความประมาทเลิกเล่ออย่างร้ายแรงหรือกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบในฐานะผู้มีวิชาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนตามบทบัญญัติมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 นอกจากนี้ดังที่ได้วินิจฉัยไปแล้วว่าเหตุที่จำเลยปฏิเสธความรับผิดเนื่องจากการยึดถือตามข้อความในคู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ตามคำสั่งของนายทะเบียนที่ 66/2563 การปฏิเสธไม่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจึงไม่ใช่การปฏิเสธความรับผิดโดยมิชอบตามกรมธรรม์ ข้อ 5 โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามกรมธรรม์ได้ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อค่าซ่อมรถยนต์ของโจทก์อันเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ศาลกำหนดให้เป็นหนี้เงิน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาบวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมา ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคเห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยฟังไม่ขึ้น

        พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยตามอัตราและระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยให้ปรับเปลี่ยนลดลงหรือเพิ่มขึ้นได้ตามพระราชกฤษฎีกาซึ่งตราขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ที่แก้ไขใหม่ บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยนละ 2 ต่อปี แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราที่โจทก์มีสิทธิได้รับในขณะฟ้องคดี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมขอให้เป็นพับ

 “นับผลแอลกอฮอล์ย้อนหลัง” ไม่ใช่ข้ออ้างในการปฏิเสธสินไหม คำพิพากษาชี้ชัดประกันภัยต้องชดใช้!

ในโลกของการประกันภัย โดยเฉพาะกรณีอุบัติเหตุจราจร การตีความเงื่อนไขกรมธรรม์ถือเป็นประเด็นสำคัญที่อาจสร้างความขัดแย้งระหว่างบริษัทประกันภัยกับผู้เอาประกัน ซึ่งคดีหนึ่งที่สะท้อนปัญหานี้ได้ชัดเจน คือ กรณีบริษัทประกันภัยปฏิเสธความรับผิดโดยอ้าง “การนับผลแอลกอฮอล์ย้อนหลัง” ทั้งที่ผลตรวจจริงไม่เกินค่าที่กฎหมายกำหนด ซึ่งศาลได้วินิจฉัยแล้วว่าเป็นการปฏิเสธที่ไม่ชอบธรรม พร้อมสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมตามเงื่อนไขกรมธรรม์อย่างครบถ้วน

เหตุการณ์อุบัติเหตุ และข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น : คำนวณปริมาณแอลกอฮอล์ย้อนหลัง

คดีนี้เริ่มต้นจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 รถยนต์กระบะทะเบียน 2 XX 3456 กรุงเทพมหานคร ประสบอุบัติเหตุร้ายแรง ทำให้ตัวรถได้รับความเสียหาย มีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บสาหัส 3 ราย และเสียชีวิต 1 ราย โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรถและเป็นผู้เอาประกันภัยได้สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพให้แก่ครอบครัวผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ

รถคันดังกล่าวมีประกันภัยทั้งภาคบังคับและภาคสมัครใจ โดยจำเลยที่ 1 คือบริษัทผู้รับประกันภัยภาคบังคับ มีหน้าที่ดูแลความเสียหายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ส่วนจำเลยที่ 2 คือบริษัท 1234 จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยภาคสมัครใจ มีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมในส่วนของความเสียหายตัวรถ, ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ, ค่ารักษาพยาบาล, และค่าชดเชยกรณีเสียชีวิตตามกรมธรรม์

แต่เมื่อโจทก์ยื่นขอสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 กลับถูกปฏิเสธ โดยบริษัทอ้างว่า ผู้ขับขี่มีแอลกอฮอล์ในร่างกายเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด โดยอาศัยการ “คำนวณย้อนหลัง” จากข้อมูลบางส่วน ทั้งที่ผลตรวจจากสถานพยาบาลแสดงชัดเจนว่าผู้ขับขี่มีแอลกอฮอล์เพียง 37 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าค่ากำหนดของกฎหมายคือ 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

ข้อโต้แย้งและข้อเท็จจริง

โจทก์ได้โต้แย้งการปฏิเสธนี้ว่าไม่มีมูลทางกฎหมายหรือวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน โดยชี้ว่า

  • จำเลยไม่มีผลตรวจย้อนหลังที่ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างถูกต้อง
  • ไม่มีข้อมูลด้านดัชนีมวลกายหรือข้อมูลทางสุขภาพของผู้ขับขี่ที่สามารถนำมาคำนวณย้อนหลังได้
  • พนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งข้อหาเมาสุราต่อผู้ขับขี่ ซึ่งแสดงว่าเจ้าหน้าที่รัฐไม่ได้เห็นว่าผู้ขับขี่เมาในขณะเกิดเหตุ

โจทก์จึงมองว่าการนับผลแอลกอฮอล์ย้อนหลังเป็นเพียงข้ออ้างเพื่อเลี่ยงความรับผิด ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงและข้อกฎหมาย จึงแต่งตั้งทนายความติดตามทวงถามและขอเอกสารประกอบจากจำเลย แต่จำเลยกลับเพิกเฉย ไม่ตอบกลับ ไม่แสดงหลักฐาน โจทก์จึงนำคดีเข้าสู่การพิจารณาของศาล

คำพิพากษาที่ชี้ชัดถึงความรับผิดของประกันภัย

ศาลได้พิจารณาพยานหลักฐานและวินิจฉัยอย่างละเอียด ก่อนมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 2 คือบริษัทประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) ต้องชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตามรายละเอียด ดังนี้:

1.ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายต่อรถยนต์ ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ภาคสมัครใจ หมวดการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ ภายในวงเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้

oหรือเลือก จัดซ่อมรถให้อยู่ในสภาพเดิม

2.ชำระค่ายกรถ จำนวน 10,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม 2566 จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น

3.ชำระค่าเก็บรักษารถ เดือนละ 10,000 บาท นับจากวันฟ้อง (18 มิถุนายน 2567) จนกว่าจะชำระค่าสินไหมครบ หรือมีการนำรถออกจากสถานที่เก็บรักษา

oแต่บริษัทประกันภัยจะต้องรับผิดในค่ายกรถและค่าเก็บรักษา ไม่เกิน 20% ของค่าซ่อมแซม

4.ชำระค่าทนายความ จำนวน 5,000 บาท ให้แก่โจทก์

5.ชำระค่าธรรมเนียมศาล ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี

6.คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 (บริษัทประกันภัยภาคบังคับ): ศาล ยกฟ้อง โดยให้แต่ละฝ่ายรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของตนเอง7.คำขออื่น ๆ ของโจทก์ ศาล ยกคำขอ

อย่ารอให้ตกเป็นเหยื่อ ! ปรึกษาทนายคดีประกันภัย หากถูกนับผลแอลกอฮอล์ย้อนหลัง

คดีนี้เป็นตัวอย่างสำคัญที่สะท้อนถึงการใช้ “การนับผลแอลกอฮอล์ย้อนหลัง” โดยไม่มีหลักฐานรองรับอย่างเป็นทางการ เป็นแนวปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง และอาจขัดต่อหลักความเป็นธรรม

หากผลตรวจแอลกอฮอล์ในร่างกายจากหน่วยงานทางการระบุว่าอยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด และไม่มีการตั้งข้อหาจากพนักงานสอบสวน บริษัทประกันภัยไม่สามารถอ้าง “การคำนวณย้อนหลัง” เป็นเหตุปฏิเสธความรับผิดได้

นับผลแอลกอฮอล์ย้อนหลัง จึงไม่ควรเป็นเครื่องมือที่บริษัทประกันภัยนำมาใช้ในลักษณะลอย ๆ โดยไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับอย่างชัดเจน เพราะนอกจากจะทำให้ผู้เอาประกันเสียสิทธิ์ ยังอาจนำไปสู่ความเสียหายทางกฎหมายแก่บริษัทเอง

คดีนี้ยืนยันว่าการตีความสัญญาประกันภัยต้องอยู่บนพื้นฐานของ “ข้อเท็จจริง” และ “พยานหลักฐาน” ไม่ใช่การคาดคะเนหรือประเมินจากสมมุติฐานที่ไม่มีที่มารองรับ

บริษัทประกันภัยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขกรมธรรม์อย่างเคร่งครัด ไม่เลือกปฏิบัติหรือเลี่ยงความรับผิดโดยไม่มีมูล หากมีข้อสงสัยเรื่อง ประกันภัย หรือการ นับผลแอลกอฮอล์ย้อนหลัง ขอแนะนำให้ปรึกษาทนายความที่เชี่ยวชาญ เพื่อปกป้องสิทธิของคุณอย่างถูกต้องตามกฎหมายหากคุณหรือคนใกล้ตัวเคยเจอกรณีคล้ายกัน อย่าลังเลที่จะขอคำปรึกษาจากทนายความ เพราะบางครั้ง “ความเงียบของเรา” อาจกลายเป็นการยอมรับในความไม่เป็นธรรมโดยไม่รู้ตัว ปรึกษากฎหมายแอดไลน์ @Wongsakorn หรือคลิก ติดต่อเรา

ประกันภัยนับผลแอลกอฮอล์ย้อนหลัง ปัดจ่าย เจอทนายฟ้องศาล ชนะคดี!

ในโลกของการประกันภัยรถยนต์ ผู้เอาประกันคงคาดหวังว่าหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น บริษัทประกันภัยจะดำเนินการตามหน้าที่เพื่อช่วยเหลือและชดเชยความเสียหายให้ตรงไปตรงมา ทว่าความจริงอาจไม่สวยงามเช่นนั้น กรณีศึกษาหนึ่งที่น่าสนใจคือเหตุการณ์ที่บริษัทประกันภัยใช้วิธี นับผลแอลกอฮอล์ย้อนหลัง มาเป็นเหตุผลในการ ปฏิเสธจ่ายค่าสินไหมทดแทน ทั้งที่ไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจน และสุดท้ายต้องจบลงด้วยการฟ้องร้องในชั้นศาล

เคสอุทาหรณ์ เหตุการณ์เริ่มต้น : อุบัติเหตุและการปฏิเสธจากประกัน

เหตุการณ์เริ่มต้นจากผู้เสียหายรายหนึ่งขับรถยนต์จนเกิดอุบัติเหตุขึ้น ทำให้รถยนต์ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก โดยตามหน้าที่ของบริษัทประกันภัยแล้ว จำเป็นต้องเข้ามาสำรวจและประเมินความเสียหาย พร้อมจัดซ่อมให้คืนสภาพเดิมภายในระยะเวลาที่สมควร

แต่บริษัทประกันภัยกลับมีหนังสือปฏิเสธความคุ้มครอง โดยให้เหตุผลว่า “ผู้ขับขี่มีแอลกอฮอล์เกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ในขณะเกิดเหตุ”

เมื่อหลักฐานคลุมเครือ ไม่มีผลตรวจจริงในขณะเกิดเหตุ

แม้จะฟังดูเหมือนบริษัทประกันภัยปฏิบัติตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ แต่เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงจะพบความคลุมเครือในหลายประเด็น บริษัทฯ ไม่สามารถแสดงหลักฐานการตรวจวัดแอลกอฮอล์ในขณะเกิดเหตุได้อย่างชัดเจน ทั้งไม่สามารถยืนยันว่าเครื่องมือที่ใช้ผ่านการรับรองมาตรฐาน และไม่มีลายเซ็นของผู้ขับขี่ในเอกสารยืนยันผลตรวจ

ประเด็นหลักของคดี ! นับผลแอลกอฮอล์ย้อนหลังโดยไม่มีหลักฐาน

ประเด็นสำคัญของคดีนี้คือบริษัทประกันภัยกับการ “นับผลแอลกอฮอล์ย้อนหลัง” โดยไม่มีหลักฐานแสดงผลการวัดแอลกอฮอล์ที่เกิดขึ้น ณ ขณะเกิดเหตุจริง ซึ่งสวนทางกับคำสั่งของนายทะเบียนที่ 66/2563 ที่ระบุชัดว่า การยกเว้นความรับผิดตามเงื่อนไขแอลกอฮอล์ ต้องพิจารณาที่ “ขณะเกิดเหตุ” เท่านั้น

ไม่รอถูกเอาเปรียบนาน ให้ทนายความเดินเรื่องทันที

เมื่อผู้เสียหายเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงได้ติดต่อขอความช่วยเหลือจาก สำนักงานกฎหมายวงศกรณ์ เพื่อให้ทนายความดำเนินการเรียกร้องสิทธิในฐานะผู้เอาประกัน โดยทนายความได้ยื่นหนังสือเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัย พร้อมอ้างอิงระเบียบของ คปภ. ว่าการเพิกเฉยหรือประวิงเวลาการพิจารณาเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย พ.ศ. 2566

ศาลชี้ชัด! บริษัทประกันภัยต้องชดใช้

ในที่สุด คดีความนี้จึงถูกนำขึ้นสู่ชั้นศาล ซึ่งศาลได้พิจารณาพยานหลักฐานทั้งหมดและมีคำพิพากษาให้บริษัทประกันภัยแพ้คดี โดยศาลชี้ชัดว่าการอ้างผลแอลกอฮอล์ย้อนหลังโดยไม่มีหลักฐานยืนยันสถานะในขณะเกิดเหตุ ถือเป็นการปฏิเสธความรับผิดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ศาลสั่งชดใช้ค่าเสียหายรวมเกือบ 620,000 บาท ได้แก่

  • ค่าซ่อมรถยนต์ 550,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย 15% ต่อปี
  • ค่ายกลากรถ 4,500 บาท
  • ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ 50,000 บาท
  • ค่ารักษาพยาบาล 5,506.69 บาท
  • ค่าทนายความ 10,000 บาท

บทเรียนสำคัญจากเคสนี้ คือ ผู้บริโภคควรปรึกษาทนายทันทีหลังเกิดเหตุ

เหตุการณ์นี้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ผู้บริโภคยังคงเป็นฝ่ายที่เสียเปรียบเมื่อเจอกับบริษัทประกันภัยที่มุ่งหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบด้วยเหตุผลอันคลุมเครืออย่างการ นับผลแอลกอฮอล์ย้อนหลัง โดยปราศจากหลักฐานสนับสนุนที่ถูกต้องและชัดเจนนี่จึงเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ยืนยันว่า ผู้เอาประกันควรมี ทนายความที่เข้าใจด้านประกันภัย คอยให้คำแนะนำและช่วยดำเนินคดีหากถูกเอาเปรียบ

ทนายความที่มีประสบการณ์คดีประกันภัย กรณีประกันภัยอ้างผลแอลกอฮอล์ย้อนหลัง – สำนักงานกฎหมายวงศกรณ์

สำนักงานกฎหมายวงศกรณ์ เป็นสำนักงานกฎหมายที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านคดีประกันภัย โดยเฉพาะกรณีที่บริษัทประกันภัยปฏิเสธความรับผิด โดยอ้างผลตรวจแอลกอฮอล์ย้อนหลังแบบไม่มีหลักฐานเชิงวิทยาศาสตร์รองรับ ซึ่งตลอดมาทางจากประสบการณ์สำนักงานฯ ยังไม่เคยแพ้คดีลักษณะนี้ หากคุณหรือคนใกล้ตัวเคยเจอปัญหาแบบเดียวกัน อย่าเพิ่งยอมแพ้ขอแนะนำให้ปรึกษาทนายความก่อนเป็นอันดับแรกดีที่สุด เพื่อที่คุณจะสามารถใช้สิทธิทางกฎหมายเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมได้เต็มที่ นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่สุดคือ ควรมีทนายความตั้งแต่เริ่มต้น เพราะในความเป็นจริง บริษัทประกันภัยมีทนายเตรียมพร้อมต่อสู้ตั้งแต่รถยังไม่ทันชน แล้วเหตุใดเราจึงไม่ควรมีทนายตั้งแต่วันเกิดเหตุ?

อย่ารอจนสายเกินไป จนไม่ได้อะไรเลยแม้แต่บาทเดียว — ปรึกษาทนายตั้งแต่แรกคือทางออกที่ดีที่สุด >>ติดต่อเรา<<

เมินคำสั่ง คปภ. สุดท้ายศาลสั่งชดใช้! พร้อมค่าเสียหายเชิงลงโทษคนละ 30,000 บาท

ในยุคที่บริษัทประกันภัยมีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองผู้ใช้รถใช้ถนน ความเชื่อมั่นในระบบประกันภัยควรเป็นรากฐานสำคัญของสังคม แต่เมื่อความรับผิดชอบนั้นกลับถูกละเลย ผู้บริโภคจึงต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิของตนเองอย่างถึงที่สุด เช่นเดียวกับกรณีของ นางสาว A และ นางสาว B ผู้เสียหายจากอุบัติเหตุรุนแรง ที่จุดจบของเรื่องราวนี้กลายเป็นบทเรียนสำคัญให้กับสังคมทั้งในด้านกฎหมาย และการปกป้องสิทธิผู้บริโภคอย่างแท้จริง

อุบัติเหตุที่เปลี่ยนชีวิต

วันที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันนั้นคือช่วงเย็นของวันหนึ่ง เมื่อรถยนต์ที่ น.ส. A และ น.ส. B โดยสารมาด้วยความเร็วสูง เกิดเสียหลักตกข้างทางและพุ่งชนเข้ากับเสาไฟฟ้าอย่างรุนแรง ส่งผลให้ทั้งสองได้รับบาดเจ็บสาหัส จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงต้องเผชิญกับผลกระทบทางร่างกายและจิตใจในระยะยาว

พยายามขอความเป็นธรรม แต่กลับถูกเพิกเฉย

หลังจากพักฟื้นพอมีแรงต่อสู้ น.ส. A และ น.ส. B เริ่มดำเนินการเจรจากับบริษัทประกันภัยของรถที่เกิดเหตุ โดยหวังว่าจะได้รับค่าสินไหมทดแทนอย่างเป็นธรรม เพื่อชดเชยความเสียหายที่ได้รับ ทั้งค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทาง ค่าขาดรายได้ รวมถึงค่าทุกข์ทรมานทางร่างกายและจิตใจ

แต่ความจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น บริษัทประกันภัยกลับเสนอจำนวนเงินชดเชยที่ต่ำกว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างมาก แม้ผู้เสียหายจะพยายามดำเนินเรื่องด้วยตนเอง ทั้งการยื่นเอกสารหลักฐาน และติดตามความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ก็ยังไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเหมาะสม

เมื่อทนายความกลายเป็นความหวัง

เมื่อเห็นว่าความพยายามด้วยตนเองไม่เกิดผล ทั้งสองจึงตัดสินใจแต่งตั้งทนายความให้เข้ามาดำเนินเรื่องแทน โดยทนายความได้ยื่นเรื่องร้องเรียนไปยัง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ซึ่งภายหลังเจ้าหน้า คปภ. ได้มีคำสั่งชัดเจนให้บริษัทประกันภัยทบทวนและประเมินค่าเสียหายใหม่อย่างเหมาะสม

อย่างไรก็ตาม บริษัทประกันภัยกลับเพิกเฉยและหรือฝ่าฝืนต่อคำสั่งของ คปภ. และยังคงยืนยันจำนวนเงินเดิมที่ต่ำเกินไป โดยไม่มีความคืบหน้าหรือความตั้งใจในการเจรจาที่เป็นธรรม

จากโต๊ะเจรจาสู่ศาล

เมื่อไม่สามารถหาข้อยุติได้ด้วยวิธีการเจรจา คดีจึงถูกส่งเข้าสู่กระบวนการทางศาล โดยทนายความได้ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายรวมเป็นจำนวนเงิน 1,540,000 บาท แบ่งเป็นของ น.ส. A จำนวน 1,050,000 บาท และของ น.ส. B จำนวน 490,000 บาท ซึ่งครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล ค่าขาดรายได้ ค่าพาหนะในการเดินทางไปโรงพยาบาล ค่าสูญเสียความสามารถในการทำงาน รวมถึงค่าทุกข์ทรมานทั้งกายและใจ
นอกจากนี้ ยังมีการเรียกร้องค่าเสียหายเชิงลงโทษ (Punitive Damages) ซึ่งเป็นบทลงโทษทางแพ่งต่อบริษัทประกันภัย เนื่องจากมีพฤติกรรมละเมิดสิทธิของผู้บริโภค และฝ่าฝืนคำสั่งของหน่วยงานรัฐอย่าง คปภ.

ศาลมีคำพิพากษาเป็นธรรม

ท้ายที่สุด ศาลได้พิจารณาอย่างรอบคอบ และมีคำพิพากษาให้ บริษัทประกันภัยชดใช้ค่าเสียหายให้กับ น.ส. A และ น.ส. B ตามที่เรียกร้อง พร้อมทั้งกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษเพิ่มเติมให้กับผู้เสียหายทั้งสอง คนละ 30,000 บาท โดยชี้ชัดว่าพฤติกรรมของบริษัทประกันภัยเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของหน่วยงานรัฐ และไม่แสดงความจริงใจในการชดเชยความเสียหาย

บทเรียนสำคัญจากกรณีนี้

กรณีนี้สะท้อนภาพให้เห็นว่า สิทธิของผู้บริโภคในระบบประกันภัยไม่ควรถูกมองข้าม และไม่ควรปล่อยให้ถูกละเมิดโดยไม่มีการตอบโต้ การมีทนายความที่มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการทางกฎหมาย และกลไกของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น คปภ. จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

สิ่งสำคัญคือ “อย่าเกรงกลัวเมื่อถูกริดรอนสิทธิ” เพราะกฎหมายยังคงเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการเรียกร้องความยุติธรรม และหากใช้ให้ถูกต้องก็สามารถพลิกสถานการณ์จากผู้เสียหายที่เคยถูกมองข้าม ให้กลับมายืนหยัดได้อย่างภาคภูมิ
การเพิกเฉยต่อคำสั่งของ คปภ. และการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายของบริษัทประกันภัย ไม่เพียงสร้างความเสียหายต่อผู้บริโภค แต่ยังนำไปสู่บทลงโทษทางกฎหมายที่รุนแรง การตัดสินใจของศาลในครั้งนี้คือเครื่องยืนยันว่า “ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย” และ ผู้บริโภคที่ลุกขึ้นสู้ด้วยความรู้และความถูกต้อง ย่อมได้รับความเป็นธรรมในที่สุด อย่ารอให้คุณถูกเอาเปรียบจากบริษัทประกันภัย เพราะบริษัทประกันภัยมีทนายความตั้งแต่รถยังไม่ชน ดังนั้น หากเกิดอุบัติเหตุประชาชนคนธรรมดาก็สามารถมีทนายความเพื่อนเดินเรื่องให้ได้เช่นเดียวกัน ปรึกษาทนาย >>ติดต่อเรา<<

เกือบแล้ว!!! ถ้าไม่มีทนาย ไม่ได้สักบาท เหตุประกันนับผลแอลกอฮอล์ย้อนหลัง

กรณีพิพาทเกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์มักเกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยเฉพาะเมื่อบริษัทประกันพยายามปฏิเสธความรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นการตีความเงื่อนไขกรมธรรม์แบบเข้าข้างตัวเอง หรือการอ้างเหตุผลที่คลุมเครือเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน วันนี้สำนักงานกฎหมายวงศกรณ์ขอยกกรณีของคุณ A เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหานี้ได้อย่างชัดเจนกับความหัวหมอและเอาเปรียบของบริษัทประกันภัย

เคสตัวอย่าง ชนท้ายไม่จ่าย งัดมุกนับผลแอลฯ ย้อนหลัง ยืนยันปฏิเสธท่าเดียว

เคสนี้คุณ A ขับรถไปชนท้ายรถคันหน้า เนื่องจากเปลี่ยนช่องทางโดยไม่ระมัดระวัง หลังเกิดเหตุ พนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุของบริษัทประกันภัยได้เข้ามาตรวจสอบที่เกิดเหตุและดำเนินการตามขั้นตอนตามปกติ รวมถึงตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ของคุณ A ซึ่งพบว่าอยู่ที่ 39 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่ง ไม่เกินค่าที่กฎหมายกำหนด (50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์) และยังอยู่ในเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย

เมื่อพนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุเห็นว่าไม่มีข้อผิดพลาดที่ขัดต่อเงื่อนไขกรมธรรม์ จึงออกใบติดต่อให้บริษัทประกันภัยรับผิดชอบต่อความเสียหาย โดยในขณะนั้น บริษัทประกันไม่ได้ปฏิเสธความรับผิดชอบแต่อย่างใด

ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการสอบสวน และแจ้งข้อหากับคุณ A เพียง ข้อหาขับรถโดยประมาท ซึ่งเป็นความผิดตามปกติเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แต่ไม่ได้ตั้งข้อหาขับขี่ขณะมึนเมา เนื่องจากปริมาณแอลกอฮอล์ของคุณ A ไม่เกินค่าที่กฎหมายกำหนด

บริษัทประกันภัยกลับคำปฏิเสธความรับผิดชอบ

หลังจากที่ทุกอย่างดำเนินไปตามขั้นตอนปกติ จู่ๆ บริษัทประกันภัยกลับเปลี่ยนท่าที ปฏิเสธการรับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนและค่าซ่อมรถ โดยอ้างว่าคุณ A มีปริมาณแอลกอฮอล์เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ทั้งที่ ผลตรวจในวันเกิดเหตุชี้ชัดว่าอยู่ที่ 39 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

การกลับคำของบริษัทประกันภัยในครั้งนี้ไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายให้กับคุณ A เท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึง ความไม่เป็นธรรมของบริษัทประกันภัยบางแห่งที่พยายามหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบโดยการอ้างเหตุผลที่ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง

ไม่รอให้ประกันเอาเปรียบ ตัดสินใจเข้าพบทนายอาร์มทันที!

เมื่อต้องเผชิญกับการปฏิเสธความรับผิดชอบโดยไม่มีเหตุผลที่สมเหตุสมผล คุณ A จึงตัดสินใจปรึกษาทนายความ และได้เข้ามาติดต่อสำนักงานกฎหมายวงศกรณ์ เพื่อให้ช่วยดำเนินการเรียกร้องสิทธิ์ที่ควรได้รับ

ขั้นตอนดำเนินคดีเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม

1.การส่งหนังสือทวงถาม

o ทางสำนักงานกฎหมายวงศกรณ์ได้ทำการส่งหนังสือทวงถามไปยังบริษัทประกันภัยเพื่อให้แสดงความรับผิดชอบตามเงื่อนไขของกรมธรรม์

o อย่างไรก็ตาม บริษัทประกันภัยยังคงปฏิเสธโดยอ้างเหตุผลเดิม คือ ปริมาณแอลกอฮอล์เกิน

2.การร้องเรียนไปยัง คปภ. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย)

o ทางสำนักงานกฎหมายวงศกรณ์ได้นำเรื่องไปร้องเรียนที่ คปภ. ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลบริษัทประกันภัย

o มีการนัดเจรจาชี้แจง แต่ บริษัทประกันภัยยังคงยืนยันปฏิเสธความรับผิดชอบ

3.การฟ้องร้องต่อศาล

o เมื่อการเจรจากับ คปภ. ไม่เป็นผล สำนักงานกฎหมายวงศกรณ์จึงตัดสินใจยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนและค่าซ่อมรถให้กับคุณ A

o ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ บริษัทประกันภัยกลับยอมจ่ายเงินชดใช้ให้อย่างง่ายดาย หลังจากที่คดีถูกนำขึ้นสู่กระบวนการพิจารณาของศาล

อย่าปล่อยให้ถูกเอาเปรียบ! ปรึกษาทนายความผู้เชี่ยวชาญคดีประกันภัยดีที่สุด

จากกรณีของคุณ A ทำให้เห็นได้ชัดว่า หากไม่มีทนายความเดินเรื่องดำเนินคดี บริษัทประกันอาจปฏิเสธความรับผิดชอบโดยไม่มีเหตุผล และผู้เอาประกันอาจไม่ได้รับการชดใช้แม้แต่บาทเดียว

หากคุณถูกบริษัทประกันภัยเอาเปรียบ อย่าปล่อยให้เรื่องเงียบ!
✅ ควรตรวจสอบเอกสารและหลักฐานให้ครบถ้วน
✅ หากพบว่าบริษัทประกันปฏิเสธความรับผิดชอบโดยไม่มีเหตุผลสมควร ควรปรึกษาทนายความทันที
✅ การร้องเรียนไปยัง คปภ. และการดำเนินคดีในชั้นศาล เป็นช่องทางที่สามารถใช้กดดันให้บริษัทประกันภัยปฏิบัติตามข้อตกลงในกรมธรรม์

บริษัทประกันภัยควรมีหน้าที่ดูแลและให้ความคุ้มครองตามข้อตกลงที่ระบุไว้ ไม่ใช่หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบโดยการบิดเบือนข้อเท็จจริง!

กรณีของคุณ A เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ยืนยันว่า เมื่อถูกบริษัทประกันเอาเปรียบ การมีทนายความที่เชี่ยวชาญด้านคดีประกันภัยสามารถช่วยให้คุณได้รับความเป็นธรรม

หากคุณต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่บริษัทประกันภัยใช้ข้ออ้างเรื่อง การนับผลแอลกอฮอล์ย้อนหลัง เพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบ ทั้งที่ผลตรวจในวันเกิดเหตุชัดเจนว่าอยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด อย่าปล่อยให้ตัวเองเสียเปรียบ เพราะกรณีแบบนี้มักเกิดขึ้นบ่อยและอาจนำไปสู่การเสียสิทธิ์โดยไม่เป็นธรรม การปรึกษาทนายความที่มีความเชี่ยวชาญด้าน คดีประกันภัยและข้อพิพาทเรื่องแอลกอฮอล์ จะช่วยให้คุณมีแนวทางในการเรียกร้องสิทธิ์ที่ถูกต้อง พร้อมดำเนินการโต้แย้งข้อกล่าวอ้างของบริษัทประกันภัยอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้คุณได้รับการคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ ไม่ใช่ถูกเอาเปรียบโดยไม่มีทางต่อสู้ ปรึกษาทนาย >> ติดต่อเรา <<

รถชนเจ็บหนักนอนติดเตียง ประกันภัยและคู่กรณีปล่อยเบลอทำนิ่ง ตัดสินใจไม่รอรักษาตัวให้หายดี โร่ปรึกษาทนาย

เรื่องราวที่สะเทือนใจและเป็นอุทาหรณ์สำหรับใครหลาย ๆ คนเกิดขึ้นกับสาววัย 24 ปี ผู้มีอาชีพขายหมูปิ้งในย่านท้องถิ่นของเธอ วันที่เหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น เธอกำลังทำงานตามปกติ จู่ ๆ รถกระบะตู้ทึบขับพุ่งเข้าชนอย่างรุนแรง ทำให้เธอได้รับบาดเจ็บสาหัส ทั้งกระดูกซี่โครงหักแทงปอด ตับฉีก มีเลือดออกในช่องท้อง รวมถึงกระดูกสะโพกขวาหัก ต้องดามเหล็กจนไม่สามารถขยับตัวได้ สถานการณ์เหล่านี้ทำให้เธอต้องนอนติดเตียงและทนทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดที่เกินบรรยาย

อย่างไรก็ตาม ความเจ็บปวดทางร่างกายที่เธอประสบไม่ได้สิ้นสุดเพียงแค่นั้น ความเจ็บปวดทางใจและความเครียดจากการดำเนินเรื่องกับบริษัทประกันภัยที่ยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลงไปอีก ได้เข้ามาทำให้เรื่องนี้กลายเป็นเคสที่ไม่ธรรมดา

อุบัติเหตุรุนแรง ที่มาพร้อมกับการเอาเปรียบของประกัน #รักษาตัวให้หายดีก่อน

การถูกชนครั้งนี้ส่งผลให้สาววัย 24 ปีต้องเผชิญกับความบาดเจ็บที่รุนแรงถึงขีดสุด กระดูกซี่โครงหักและแทงเข้าที่ปอดทำให้เกิดภาวะหายใจลำบาก อีกทั้งตับฉีกที่ส่งผลให้มีเลือดออกในช่องท้องต้องได้รับการผ่าตัดด่วน การบาดเจ็บของกระดูกสะโพกขวาที่หักจนต้องดามเหล็กทำให้เธอต้องนอนนิ่งอยู่บนเตียง ไม่สามารถปรับเตียงได้ เนื่องจากหากขยับตัวอาจทำให้เหล็กหลุดและเพิ่มความเสี่ยงในการบาดเจ็บซ้ำ

สภาพร่างกายที่บาดเจ็บอย่างหนักนี้ ทำให้เธอต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานเป็นเวลานาน ต้องอาศัยการดูแลจากบุคคลอื่นและไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เอง ขณะเดียวกัน ความรู้สึกของการเสียอิสรภาพและความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการเป็นผู้ป่วยติดเตียงนั้น ส่งผลต่อสภาพจิตใจอย่างมาก

ฝ่ายหนึ่งที่รอการช่วยเหลือกับอีกฝ่ายที่ละเลยทำนิ่งนอนใจไร้การเยียวยา

แม้เธอจะมีประกันภัยคุ้มครองอยู่ แต่ความคาดหวังที่จะได้รับการดูแลและการชดเชยกลับกลายเป็นสิ่งที่ยิ่งเพิ่มความเจ็บปวดมากขึ้นไปอีก เนื่องจากบริษัทประกันภัยที่เธอใช้บริการนั้นไม่ได้แสดงความใส่ใจต่อกรณีของเธอ การดำเนินเรื่องล่าช้าจนเกินไป ทำให้เธอและครอบครัวต้องรับภาระทางการเงินที่หนักหน่วงมากขึ้น 

ความไม่เป็นธรรมในกรณีนี้ ไม่เพียงแต่เป็นเรื่องของการบาดเจ็บที่รุนแรงเท่านั้น แต่ยังเป็นการที่บริษัทประกันภัยไม่ปฏิบัติตามสัญญา และไม่ใยดีต่อสภาพจิตใจและร่างกายของผู้เอาประกัน แม้ว่าจะมีการเรียกร้องและติดต่อไปยังบริษัทหลายครั้ง แต่เรื่องก็ยังคงถูกดองไว้เป็นเวลานาน 

การตัดสินใจที่เด็ดขาด !  ปรึกษาทนายแม้ขณะนอนติดเตียง

ด้วยความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้น เธอจึงไม่รอให้เสียเวลา และแม้จะยังนอนติดเตียงด้วยสภาพร่างกายที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ เธอก็ตัดสินใจที่จะปรึกษาทนายความเพื่อหาทางต่อสู้กับบริษัทประกันภัยที่ละเลยการดูแล

การตัดสินใจนี้นับว่าเป็นการก้าวเดินที่สำคัญ เนื่องจากในหลาย ๆ กรณี ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุมักรอจนกว่าจะรักษาตัวให้หายดีก่อนหรือให้บริษัทประกันดำเนินการก่อน ซึ่งในบางครั้งการรอคอยนี้อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ การที่เธอเลือกที่จะปรึกษาทนายความตั้งแต่เริ่มต้นนั้น ช่วยให้การดำเนินเรื่องเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีทิศทางที่ชัดเจน

ประกันภัยหัวหมอกับเล่ห์เหลี่ยมที่ต้องรู้เท่าทัน

กรณีของสาววัย 24 ปีนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนถึงปัญหาที่เกิดจากการดำเนินงานของบริษัทประกันภัยที่ไม่เป็นธรรม บ่อยครั้งที่บริษัทประกันภัยพยายามหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบหรือดำเนินเรื่องล่าช้าเพื่อให้ผู้เสียหายยอมแพ้หรือเลิกล้มการเรียกร้อง

การใช้ “เล่ห์เหลี่ยม” เพื่อประวิงเวลาในการชดเชยค่าเสียหายนั้นเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในระบบประกันภัย ผู้ที่ประสบเหตุการณ์เช่นนี้มักไม่มีความรู้เกี่ยวกับสิทธิ์ที่ตนเองมีอยู่ หรืออาจไม่ได้เข้าใจเงื่อนไขของกรมธรรม์อย่างละเอียด จึงทำให้บริษัทประกันสามารถใช้จุดอ่อนนี้ในการเอาเปรียบผู้เอาประกัน

กรณีนี้เป็นอุทาหรณ์ให้กับผู้ที่ใช้บริการประกันภัยทุกคนว่า เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบริษัทประกัน ไม่ควรรอให้บริษัทประกันดำเนินการเองโดยไม่มีการตรวจสอบ การปรึกษาทนายความตั้งแต่เริ่มต้นจะช่วยให้คุณได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง และสามารถเดินเรื่องได้อย่างรวดเร็วและตรงตามสิทธิ์ที่คุณพึงได้รับ

ทนายความที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องประกันภัยสามารถช่วยตรวจสอบเงื่อนไขของกรมธรรม์และให้คำแนะนำในการดำเนินการที่ถูกต้อง ไม่ว่าคุณจะอยู่ในสภาพร่างกายที่พร้อมหรือไม่พร้อมในการต่อสู้คดี การมีทนายความเป็นที่ปรึกษาจะช่วยป้องกันไม่ให้คุณถูกเอาเปรียบจากบริษัทประกัน

บทสรุปสุดท้ายก่อนจากกัน

จากกรณีนี้ สิ่งที่เราสามารถเรียนรู้ได้คือความสำคัญของการมีทนายความคอยช่วยเหลือในการดำเนินการกับบริษัทประกันภัย การรอให้ประกันดำเนินการเองอาจทำให้คุณเสียสิทธิ์ในการได้รับการชดเชยที่เหมาะสม โดยเฉพาะในกรณีที่ประกันภัยไม่ใยดีต่อความเสียหายที่คุณได้รับ

หากคุณประสบอุบัติเหตุรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นการบาดเจ็บทางร่างกายหรือการเสียหายทางทรัพย์สิน การปรึกษาทนายความทันทีจะช่วยให้คุณได้รับการดูแลที่ถูกต้องและป้องกันไม่ให้ถูกประกันภัยเอาเปรียบ อย่างที่เคสนี้ได้แสดงให้เห็นว่า การต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมไม่ควรรอจนสายเกินไป

อุทาหรณ์ ! ประกันภัย “หัวหมอ” ปฏิเสธจ่ายค่าสินไหมฯ ด้วยกระดาษแผ่นเดียว

ในปัจจุบัน หลายคนเลือกที่จะทำประกันภัยแบบ “เปิด-ปิด” เพราะคิดว่าคุ้มค่าและสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ตามความต้องการ แต่เคสที่เรานำมาวันนี้ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่าการทำประกันในรูปแบบนี้อาจมีข้อเสียที่ไม่คาดคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากบริษัทประกันภัยพยายามจะ “ตีความเข้าข้างตัวเอง” จนทำให้ผู้เอาประกันเสียสิทธิ์และเกิดความเดือดร้อนมากกว่าที่คิด

จากความเชื่อใจสู่ความผิดหวัง

เรื่องราวนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อผู้เสียหายในเคสนี้ได้เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ขณะเดียวกันก็ได้ทำประกันภัยรถยนต์แบบเปิด-ปิดไว้กับบริษัทประกันภัยชื่อดัง ทุกอย่างดูเหมือนจะเป็นไปตามขั้นตอนปกติ แต่ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อผู้เสียหายยื่นขอค่าสินไหมทดแทน บริษัทประกันภัยกลับปฏิเสธการชดใช้ค่าสินไหมด้วยกระดาษเพียงแผ่นเดียว?? โดยให้เหตุผลว่า “ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายไม่ได้เปิดแอปพลิเคชันประกันภัย” ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการคุ้มครองตามกรมธรรม์แบบเปิด-ปิด

ทั้ง ๆ ที่อุบัติเหตุเกิดขึ้นจริง เกิดเหตุขณะเปิดแอปพลิเคชันจริง และผู้เสียหายได้ทำการติดต่อบริษัทประกันภัยในทันทีหลังเกิดเหตุ แต่บริษัทประกันกลับบอกว่า ขณะเกิดเหตุไม่ได้เปิดแอปพลิเคชันซะอย่างนั้น

สุดท้ายศาลพิพากษา : ประกันภัยต้องชดใช้เกือบ 4 แสนบาท

เมื่อเรื่องนี้ถูกฟ้องไปยังชั้นศาล ศาลจึงมีคำพิพากษาที่ชัดเจนว่า บริษัทประกันภัยต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเกือบ 400,000 บาทให้กับผู้เสียหาย เนื่องจากการปฏิเสธการชดใช้ของบริษัทประกันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยศาลได้วิเคราะห์ว่าบริษัทประกันไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนพอที่จะพิสูจน์ว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นขณะไม่ได้เปิดแอปพลิเคชัน หรือหลักฐานที่เพียงพอที่จะอ้างสิทธิ์ในการปฏิเสธความรับผิดชอบ

นอกจากนี้ ศาลยังมีการพิจารณาเพิ่มเติมให้บริษัทประกันภัยต้องจ่ายค่าเสียหายเชิงลงโทษเป็นจำนวน 150,000 บาท เนื่องจากบริษัทมีการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม โดยไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหม และมีเพียงแค่หนังสือปฏิเสธเพียงแผ่นเดียวมาอ้างปฏิเสธเท่านั้น

ปัญหานี้เกิดขึ้นเพราะความไม่รอบคอบของบริษัทประกันภัย ซึ่งอาจมีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนด้วยการตีความสัญญาในทางที่เอาเปรียบผู้เอาประกัน สิ่งนี้ทำให้ผู้เสียหายต้องประสบปัญหาทางการเงินและการขาดความเชื่อมั่นในระบบการประกันภัย

จากเหตุการณ์นี้ เราสามารถเห็นได้ว่าบริษัทประกันภัยบางแห่งอาจใช้เงื่อนไขที่ซับซ้อนและตีความเข้าข้างตัวเองเพื่อลดความรับผิดชอบต่อผู้เอาประกัน หากไม่มีการทบทวนสัญญาและเงื่อนไขที่ชัดเจนตั้งแต่ต้น ผู้เสียหายอาจต้องรับผิดชอบต่อผลเสียหายทางการเงินเองอย่างไม่เป็นธรรม

อย่านิ่งนอนใจ ประกันภัยหัวหมอมีอยู่จริง

เรื่องราวนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่าผู้ที่ทำประกันภัยแบบ “เปิด-ปิด” ต้องระมัดระวังและศึกษารายละเอียดสัญญาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจทำประกัน อย่าไว้ใจเฉพาะคำโฆษณาหรือข้อเสนอที่ดูน่าดึงดูด แต่ต้องอ่านข้อกำหนดต่าง ๆ ของกรมธรรม์อย่างละเอียด เพราะหากเกิดปัญหา บริษัทประกันบางแห่งอาจใช้เงื่อนไขที่ซับซ้อนเพื่อเลี่ยงความรับผิดชอบ และผู้เอาประกันอาจต้องเสียสิทธิ์ในการได้รับค่าสินไหมอย่างไม่เป็นธรรม

ในเคสนี้ การที่ผู้เสียหายต้องประสบกับความเดือดร้อนมากมายเพราะการปฏิเสธของบริษัทประกันภัย แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ทำประกันภัยจำเป็นต้องระมัดระวังและเตรียมพร้อมเสมอ อย่าปล่อยให้ถูกบริษัทประกันเอาเปรียบ

อย่ารอจนสาย ปรึกษาทนายความคือทางออก

เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดไม่ว่าจะรถชนได้รับบาดเจ็บสาหัส เสียชีวิต หรือทรัพย์สินเสียหาย ฯลฯ ควรดำเนินการอย่างรวดเร็วในการติดต่อประกันภัยเพื่อรายงานเหตุการณ์ แต่อย่าเพิ่งไว้วางใจจนเกินไป หากรู้สึกว่ามีการปฏิเสธความรับผิดชอบหรือการใช้เงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรม อาทิ กรณีบาดเจ็บสาหัส แล้วถูกประกันบอกว่าให้ไป รักษาตัวให้หายดีก่อน หรือกรณีทรัพย์สินเสียหาย ถูกประกันงัดมุกเด็ด นับผลแอลกอฮอล์ย้อนหลัง ฯลฯ แบบนี้ควรปรึกษาทนายความทันที

การมีทนายความอยู่เคียงข้างจะช่วยให้คุณได้รับการดูแลและคำปรึกษาที่ถูกต้องในการดำเนินคดีหรือเจรจากับบริษัทประกัน เพื่อปกป้องสิทธิ์ของคุณอย่างเต็มที่ เพราะในหลายกรณี การต่อสู้ทางกฎหมายอาจเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้คุณได้รับความยุติธรรมและการชดใช้ที่เป็นธรรม

จากกรณีดังกล่าว เราควรตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจสอบรายละเอียดสัญญาประกันภัยอย่างรอบคอบและไม่ละเลยการปรึกษาทนายความเมื่อเกิดปัญหา แม้ว่าการทำประกันภัยจะเป็นการป้องกันความเสี่ยง แต่หากเกิดการปฏิเสธการชดใช้จากบริษัทประกัน การมีทนายความผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้คุณสามารถรักษาสิทธิ์ของตนเองและได้รับการชดใช้ที่ถูกต้องและเป็นธรรม