ถูกดูดเงินหมดบัญชี ปรึกษาทนายความทันที !!

มิจฉาชีพดูดเงินหมดบัญชี ปัญหาที่ถูกพบมากเป็นอันดับต้นๆในขณะนี้ อย่างที่เคยกล่าวไปในหลายๆบทความของเรา ไม่ว่าจะเป็น ถูกดูดเงินหมดบัญชี ปรึกษาทนายฟ้องธนาคารได้ ไม่ต้องรอให้เสียเวลา ! หรือ ปรึกษาทนายด่วนอย่ายอม !! หาเงินแทบตาย สุดท้ายถูกแอปดูดเงินหมดบัญชีและบทความอื่นๆที่เกี่ยวกับการดูดเงินของมิจฉาชีพ ในยุคดิจิทัลที่ธุรกรรมทางการเงินออนไลน์เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน ปัญหาการถูกมิจฉาชีพหลอกลวงทางการเงินและการสูญเสียเงินในบัญชีธนาคารก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลายคนพบว่าตัวเองกลายเป็นเหยื่อของการหลอกลวงทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการถูกล้วงข้อมูลบัญชีผ่านฟิชชิ่ง (Phishing) การปลอมตัวเป็นบุคคลสำคัญ หรือการใช้โปรแกรมสอดแนมข้อมูล (Spyware) ที่อาจดูดเงินจากบัญชีโดยไม่รู้ตัว

เหตุการณ์เช่นนี้อาจสร้างความตกใจและทำให้ผู้เสียหายไม่รู้จะทำอย่างไรดี ดังนั้น การรีบปรึกษาทนายความเพื่อขอความช่วยเหลือและคำแนะนำทางกฎหมายเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพื่อเพิ่มโอกาสในการจัดการกับปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและได้รับการคุ้มครองตามสิทธิ์ที่ควรจะได้รับ

รูปแบบการหลอกลวงทางการเงินที่พบบ่อย

1. ฟิชชิ่ง (Phishing)

   ฟิชชิ่งเป็นการหลอกลวงที่ใช้วิธีส่งอีเมล ข้อความ หรือการโทรปลอมตัวเป็นธนาคารหรือองค์กรที่เชื่อถือได้ เพื่อหลอกให้เหยื่อกรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น หมายเลขบัญชีธนาคาร รหัสผ่าน หรือรหัส OTP จากนั้นมิจฉาชีพจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้เข้าถึงบัญชีและดูดเงินออกจากบัญชีอย่างรวดเร็ว

2. มัลแวร์และสปายแวร์ (Malware & Spyware)

   มิจฉาชีพอาจใช้โปรแกรมมัลแวร์หรือสปายแวร์ที่ถูกฝังในอุปกรณ์ของผู้ใช้โดยไม่รู้ตัว โปรแกรมเหล่านี้จะคอยเก็บข้อมูลสำคัญ เช่น รหัสผ่าน ข้อมูลบัญชีธนาคาร และรหัส OTP เพื่อให้มิจฉาชีพสามารถเข้าถึงบัญชีของเหยื่อและทำธุรกรรมการเงินได้

3. การปลอมตัวเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารหรือหน่วยงานรัฐ

   มิจฉาชีพมักจะโทรศัพท์มาหลอกลวงเหยื่อ โดยอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากธนาคาร หน่วยงานรัฐ หรือบริษัทบัตรเครดิต เพื่อแจ้งเตือนเกี่ยวกับการทำธุรกรรมที่ผิดปกติ และขอข้อมูลสำคัญจากเหยื่อ เช่น หมายเลขบัตรประชาชนหรือรหัสผ่าน

4. การหลอกให้ลงทุนปลอม

   มิจฉาชีพบางกลุ่มจะใช้วิธีการชักชวนให้เหยื่อลงทุนในธุรกิจหรือโปรแกรมการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง โดยใช้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันปลอมที่ดูน่าเชื่อถือ แต่แท้จริงแล้วเมื่อเหยื่อโอนเงินเพื่อการลงทุน เงินจะถูกดูดออกจากบัญชีทันทีและไม่สามารถติดตามได้

ทำไมการปรึกษาทนายความจึงสำคัญ?

1. ปกป้องสิทธิ์ตามกฎหมาย

   การถูกมิจฉาชีพดูดเงินออกจากบัญชีธนาคารเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและทรัพย์สิน การปรึกษาทนายความจะช่วยให้ผู้เสียหายเข้าใจถึงสิทธิ์ของตนเอง รวมถึงแนวทางในการเรียกร้องความเสียหายจากธนาคารหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2. การติดตามและดำเนินคดี

   ทนายความสามารถช่วยในการติดตามข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีที่ถูกโจมตีและดำเนินการทางกฎหมายต่อมิจฉาชีพ การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการถูกหลอกลวงทางการเงินนั้นจำเป็นต้องมีการจัดการที่ซับซ้อน ซึ่งการมีทนายความที่มีความเชี่ยวชาญจะช่วยเพิ่มโอกาสในการติดตามเงินคืนหรือเรียกร้องค่าเสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. การประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ

   เมื่อคุณพบว่าบัญชีธนาคารถูกดูดเงิน ทนายความสามารถประสานงานกับธนาคารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กองปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เพื่อเร่งรัดการสืบสวนและติดตามมิจฉาชีพ นอกจากนี้ ทนายความยังสามารถช่วยให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำได้ในอนาคต

4. การให้คำปรึกษาและการวางแผนในการดำเนินคดี

   ทนายความจะช่วยให้คุณวางแผนการดำเนินคดีและรวบรวมหลักฐานที่จำเป็นในการฟ้องร้อง โดยจะมีการแนะนำเรื่องเอกสารที่ต้องเตรียม การติดตามบัญชีทางการเงิน และวิธีป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออีกในอนาคต

วิธีป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพออนไลน์

-อย่าคลิกลิงก์จากแหล่งที่ไม่รู้จักหรือไม่ควรคลิกที่ลิงก์ที่ได้รับทางอีเมล ข้อความ หรือสื่อสังคมออนไลน์ หากไม่แน่ใจว่าเป็นแหล่งที่มาจากธนาคารหรือหน่วยงานที่เชื่อถือได้

-ตั้งค่าการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด ใช้รหัสผ่านที่ซับซ้อนและไม่ใช้รหัสผ่านเดียวกันสำหรับทุกบัญชี นอกจากนี้ ควรเปิดใช้การยืนยันตัวตนสองชั้น (Two-Factor Authentication) เพื่อเพิ่มความปลอดภัย

-ตรวจสอบข้อมูลธุรกรรมการเงินอย่างสม่ำเสมอ หมั่นตรวจสอบยอดเงินและธุรกรรมที่เกิดขึ้นในบัญชีธนาคารอย่างสม่ำเสมอ และแจ้งธนาคารทันทีหากพบความผิดปกติ

ดูดเงินหมดบัญชี มีทนายได้ทันทีไม่ต้องรอ

เมื่อคุณเผชิญกับเหตุการณ์ที่มิจฉาชีพดูดเงินหมดบัญชี ควรรีบปรึกษาทนายความโดยเร็วที่สุด ทนายความจะช่วยคุณปกป้องสิทธิ์ ติดตามคดี และเรียกร้องความเสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ การได้รับความช่วยเหลือจากทนายความจะเพิ่มโอกาสในการแก้ไขปัญหาและป้องกันไม่ให้คุณตกเป็นเหยื่ออีกครั้ง

หากคุณตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงทางการเงินและต้องการคำปรึกษา สำนักงานกฎหมายวงศกรณ์พร้อมให้บริการและให้คำแนะนำทางกฎหมายอย่างครบวงจร โดยทนายความมืออาชีพ 

เตือนภัย!! เทคนิคตุ๋นเหยื่อ “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” ที่อย่าหลงเชื่อเด็ดขาด

เตือนภัย!! เทคนิคตุ๋นเหยื่อ แก๊งคอลเซ็นเตอร์

ความจริงแล้วกรณีเรื่องแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกเงินในเกิดขึ้นบ่อยมาก และในแทบจะทุกเคสมักเป็นผู้สูงอายุที่ตกเป็นเหยื่อ อย่างในเคสล่าสุดอาม่าวัย 72 ปี ได้ตกเป็นเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์อีกราย สูญเงินไปกว่า 1.6 ล้านบาท ซึ่งในก่อนหน้านี้แก๊งคอลเซ็นเตอร์พยายามหลอกล่อให้อาม่าโอนเงินเพื่อแลกเงินหยวนจำนวน 50,000 บาท อาม่าหลงเชื่อจึงโอนไป แต่หลังจากรู้ว่าถูกหลอกจึงเกิดเสียดายเงิน ประจวบกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์รวมหัวสร้างกลุ่มแสร้งว่าเป็นผู้เสียหายเช่นกัน และกำลังจะรวมตัวเพื่อดำเนินการเอาเงินคืนมา แต่อาม่าต้องโอนเงินค่าดำเนินการเอาเงินคืนมา แต่อาม่าต้องโอนงินค่าดำเนินการมาให้ นี่จึงเป็นที่มาว่าทำไมอาม่าถึงสูญเงินกว่า 1.6 ล้านบาท

กลลวงที่เหล่ามิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้นั้น ยังคงคอนเซปต์เดิมไม่เปลี่ยนไปมาก แต่ที่เปลี่ยนคือเป้าหมายหรือเหยื่อจะเป็นบรรดาผู้สูงวัยมากขึ้น ดังนั้นเราจึงควรช่วยกันสอดส่องเตือนภัยมุกหลอกโอนเงินให้แก่ผู้สูงวัยในบ้านมากขึ้น เพื่อจะได้ไม่หลงเชื่อตกเป็นเหยื่อ “มิจ” ที่ไม่ได้แปลว่าเพื่อน วันนี้ทีมงานสำนักงานกฎหมายวงศกรณ์จึงรวมมุกมิจฉาชีพมาเตือนภัยกันอีกครั้ง  

Scam
  1. บัญชีของคุณถูกอายัด ต้องไปทำรายการที่ตู้เอทีเอ็ม

มุกคลาสสิกเบื้องต้นของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่นิยมโทรเข้ามาหลอก ซึ่งแก๊งคอลเซ็นเตอร์จะชอบอ้างว่าตนเองเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อแอบอ้างสร้างความน่าเชื่อให้ผู้ที่ถูกหลอกหลงเชื่อได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เช่น การอ้างว่าคุณได้โอนเงินไปที่บัญชีที่ถูกอายัด ทำให้ผู้ที่ถูกหลอกหลงเชื่อว่าได้กระทำความผิด

 

  1. คุณมีหนี้บัตรเครดิตค้างชำระถ้าไม่เป็นความจริง ต้องรีบไปกดยกเลิกที่ตู้เอทีเอ็ม

การหลอกเป็นเจ้าหน้าที่จากธนาคารเป็นสิ่งที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์มักใช้อยู่เป็นประจำ โดยจะหลอกว่าคุณยังไม่ได้ชำระยอดค้างจ่ายของบัตรครดิต แล้วให้คุณดำเนินการชำระด้วยการโอนเงินค้างจ่ายดังกล่าว หากรู้ไม่เท่าทันแก๊งคอลเซ็นเตอร์ก็จะหลอกให้โอนเงินจนหมดบัญชี ดังนั้นคุณจะต้องเช็คให้แน่ใจว่าไม่ได้มียอดเงินค้างชำระ หรือโทรกลับไปเช็คกับทางธนาคารให้แนใจ

 

  1. ข้อมูลของคุณหายไปจากธนาคารรบกวนขอข้อมูลส่วนตัวอีกครั้ง

บางครั้งแก๊งคอลเซ็นเตอร์ก็จะมาในรูปแบบของการบอกว่าทางธนาคารได้ทำการอัพเดทข้อมูลของลูกค้าใหม่ ดังนั้นจึงทำการขอข้อมูลของลูกค้าเพื่ออัพเดทเข้าไปในฐานข้อมูลใหม่ ซึ่งแก๊งคอลเซ็นเตอร์อาจจะมีการได้ข้อมูลบางอย่างของผู้ที่ถูกหลอกมา เช่น ได้ธนาคารที่เรามีบัญชีอยู่มา ทำให้เราเชื่อได้ว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของธนาคารจริง จึงหลงเชื่อทำตามขั้นตอนที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์บอก จนทำให้สูญเสียเงินจากในบัญชีไป

 

  1. คุณเป็นผู้ต้องสงสัยว่าพัวพันกับคดีค้ายาหรือฟอกเงินต้องโอนเงินทั้งหมดมาให้เราตรวจสอบ

อีกมุกที่ช่วงแรกๆ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้บ่อยมาก ถึงขนาดที่มีผู้เสียหายที่ถูกหลอกอัดคลิปเสียงของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ไว้ เพื่อให้ทราบถึงกลวิธีการที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้หลอกเหยื่อ โดยจะใช้วิธีการบอกว่าบัญชีของเราเกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน ต้องทำการโอนเงินทั้งหมดไปให้ทางตำรวจตรวจสอบ การสร้างความน่าเชื่อถือให้ดูมีน้ำหนักแก๊งคอลเซ็นเตอร์จะใช้หน้าม้าหลอกว่าเป็นตำรวจจาก สภอ. นั้น สภอ. นี้ เพื่อให้เหยื่อกลัวว่าได้กระทำความผิดจึงหลงเชื่อแล้วโอนเงินไปเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ แต่ที่ไหนได้นั่นเป็นการโอนเงินไปให้มิจฉาชีพแล้ว

 

  1. คุณได้รับสิทธิ์ขอคืนภาษีรีบไปทำรายการขอรับคืนที่ตู้เอทีเอ็ม

คนทำงานที่มีรายได้ตามเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีอาจมีโอกาสเจอมุกนี้กัน โดยแก๊งคอลเซ็นเตอร์จะหลอกว่าทางสรรพากรได้มีการจ่ายคืนเงินภาษี ให้คุณสามารถไปทำการขอรับคืนได้ที่ตู้ ATM โดยวิธีขั้นตอนดำเนินการนั้นเป็นการโอนเงินไปยังบัญชีของแก๊งคอลเซ็นเตอร์

 

  1. คุณโชคดีได้รับรางวัลใหญ่แต่ต้องโอนจ่ายภาษีให้เราก่อนนะ

มุกนี้แก๊งคอลเซ็นเตอร์จะทำทีโทรเข้ามาแล้วบอกว่าคุณได้รับรางวัลจากแบรนด์นั้น แบรนด์นี้ ให้กดลิ้งค์เพื่อทำการรับรางวัล สุดท้ายอาจหลอกให้กรอกรายละเอียดเพื่อยืนยันตัวตน หรือบอกว่าการที่จะรับรางวัลจะต้องโอนเงินเพื่อชำระภาษีก่อน ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินให้เหล่ามิจฉาชีพไป

 

  1. มีหมายศาลส่งถึงคุณแต่ส่งไปไม่ถึง รบกวนขอข้อมูลส่วนตัวหน่อย

เมื่อเราได้ยินคำว่า “หมายศาล” หลายคนจะรู้สึกกลัวว่าตนเองได้กระทำผิดกฎหมายไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง มัวแต่พะวงว่าตนเองจะถูกจับ ถูกดำเนินคดี เมื่อเหล่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์บอกว่าจะต้องโอนเงินมาเป็นค่าดำเนินคดีเหยื่อจึงหลงกลตกเป็นเหยื่อสูญเสียเงินมากมาย

 

  1. เมื่อกี้โอนเงินไปผิดบัญชีรบกวนโอนคืนมาให้หน่อย

มาถึงมุกสุดท้ายที่หลอกกันตรงๆ บางครั้งอาจจะไม่ใช่แก๊งคอลเซ็นเตอร์โดยตรง อาจเป็นมิจฉาชีพมือสมัครเล่นทั่วไปก็ได้ที่สุ่มโทรมาแล้วบอกเราว่าตนเองได้โอนเงินมาผิดบัญฃี จะใช้เราช่วยโอนคืนกลับไปให้หน่อย ซึ่งบางครั้งกลหลอกตุ๋นเหยื่อนี้ยังรวมถึง การแกล้งโอนเงินมาให้ผิดบัญชีแล้วเราอาจต้องตกเป็นบัญชีม้าไปด้วย

 

หากไม่อยากตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์ต้องรู้ให้เท่าทันมุกตุ๋นเหยื่อเหล่านี้เอาไว้ และหากท่านใดมีปัญหาอยากปรึกษาทางด้านกฎหมายติดต่อได้ที่ สำนักงานกฎหมายวงศกรณ์