เปิดกลยุทธ์เด็ดรู้ทัน “แก๊งดูดเงิน” หลอกคุย 2 นาที ดูดเงินหมดบัญชี

เปิดกลยุทธ์เด็ดรู้ทัน “แก๊งดูดเงิน” หลอกคุย 2 นาที ดูดเงินหมดบัญชี

          เรื่องราวเกี่ยวกับแก๊งดูดเงินหรือมิจฉาชีพคอลเซ็นเตอร์เป็นเรื่องราวที่สำนักงานกฎหมายวงศกรณ์ของเราได้นำเสนออยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในยุคสมัยที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์และแก๊งดูดเงินมีการระบาดเป็นภัยอย่างหนักในสังคม แม้ว่าจะมีผู้เสียหายที่ถูกดูดเงินจากเหล่ามิจฉาชีพเข้าดำเนินคดีแจ้งความเอาผิดกับแก๊งดูดเงินและได้เป็นกระแสข่าวไปไม่น้อย แต่ดูเหมือนว่ากระบวนการแก๊งดูดเงินของพวกมิจฉาชีพออนไลน์จะยังคงมีกระบวนการหลอกลวงเหยื่อในรูปแบบใหม่ ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่องราวกับท้าทายกฎหมายไทยและดูเหมือนไม่เกรงกลัวต่อโทษที่จะต้องได้รับแต่อย่างใด และแน่นอนว่าวันนี้เราก็มีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับกระบวนการของแก๊งดูดเงิน ในประเด็นที่ว่า “หลอกคุย 2 นาที ถูกดูดเงินหมดบัญชี” แก๊งมิจฉาชีพพวกนี้มีกระบวนการและหรือชั้นเชิงในการหลอกเหยื่ออย่างไรบ้าง

3 กลวิธีเด็ดของแก๊งดูดเงินที่ใช้หลอกลวงเหยื่อ

3 กลวิธีเด็ดของแก๊งดูดเงินที่ใช้หลอกลวงเหยื่อ

          อย่างที่เกริ่นนำไปข้างต้นทุกท่านน่าจะทราบถึงเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วพอสมควร เป็นเหตุให้แก๊งดูดเงินหรือมิจฉาชีพออนไลน์เข้ามามีบทบาทและระบาดเป็นภัยในสังคมและได้สร้างความเดือดร้อนต่อผู้เสียหายหลายท่านเป็นอย่างมาก วันนี้เราจึงได้นำข้อมูลความรู้ดี ๆ มาฝากเพื่อให้ทุกท่านได้ทราบและรู้ทันวิธีหลอกลวงเหยื่อจากพวกแก๊งดูดเงินภัยสังคมออนไลน์เหล่านี้กัน

1. ใช้วาทศิลป์หว่านล้อมให้เหยื่อกดโอนเงินให้เอง

          เป็นกลวิธีเด็ดกลวิธีหนึ่งของพวกแก๊งดูดเงินก็ว่าได้ โดยรูปแบบวิธีการคือจะใช้วาทศิลป์ในการพูดคุยเรื่องราวต่าง ๆ ราวกับว่าคุ้นเคยรู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น อ้างว่าเป็นรู้จัก อดีตคนสนิท และหรือเข้ามาในรูปแบบเชิงชู้สาว เป็นต้น ซึ่งมิจฉาชีพมักจะใช้วิธีนี้ในการสนทนากับเหยื่อที่เป็นผู้สูงอายุ แต่วิธีนี้ก็สามารถใช้ได้ดีในบุคคลปกติทั่วไปเช่นเดียวกัน เพราะมิจฉาชีพเหล่านี้จะมีขั้นตอนการรีเช็คและหรือสำรวจข้อมูลส่วนบุคคลมามากพอสมควรก่อนที่จะมาใช้วาทศิลป์ในการหลอกลวงเหยื่อ ถ้าหากได้หลงกลวาทศิลป์ของมิจฉาชีพพวกนี้ไม่ว่าใครก็สามารถถูกดูดเงินไปหมดบัญชีได้ง่าย ๆ เลยทีเดียว

2. แอปพลิเคชันดูดเงิน

          สำหรับวิธีนี้มิจฉาชีพออนไลน์นิยมใช้ไม่น้อย เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ายสามารถส่งถึงเหยื่อและเข้าถึงเหยื่อได้หลายคน โดยมักมาในรูปแบบของข้อความ SMS หรือลิงก์ต่าง ๆ เพื่อให้เหยื่อหลงกดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันรวมไปถึงโปรแกรมควบคุมโทรศัพท์มือถือเพื่อดูดเงินของเหยื่อออกจากบัญชีเอง ซึ่งเหยื่อแทบจะไม่รู้ตัวเลยว่านั่นคือแอปพลิเคชันอะไร หากมีข้อความแปลก ๆ เข้ามาแล้วเผลอกดเข้าไปแล้วปรากฏว่าต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน หากเผลอกดดาวน์โหลดไป นั่นหมายถึงการเปิดโอกาสให้มิจฉาชีพหรือแก๊งดูดเงินเข้ามาถึงข้อมูลสำคัญ ๆ ได้ง่ายนั่นเอง

3. แก๊งคอลเซ็นเตอร์

          แก๊งคอลเซ็นเตอร์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการของเหล่ามิจฉาชีพออนไลน์ กลวิธีการหลอกลวงเหยื่อคล้ายคลึงกับข้อ 1. แต่แก๊งคอลเซ็นเตอร์นี้มาในรูปแบบบทบาทของเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะมีการโทรเข้ามาแสดงตัวชัดเจนว่ามาจากหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งหรืออื่น ๆ เพื่อโทรมาพยายามหลอกถามข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลสำคัญ ๆ เพื่อนำข้อมูลไปเข้าถึงแอปพลิเคชันสำคัญ ๆ เช่น แอปธนาคาร หรือที่มากไปกว่านั้น อาจใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของเหยื่อนำไปทำธุรกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นได้

หลังรับสายหากได้ยินประโยคทำนองนี้ตัดสายทิ้งทันที !

หลังรับสายหากได้ยินประโยคทำนองนี้ตัดสายทิ้งทันที

1. โทรมาแล้วสร้างความน่าเชื่อถือให้ตนเอง

          เช่น อ้างตัวว่ามาจากหน่วยงานราชการ และหรือหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อหลอกถามข้อมูล อาทิ โทรมาแล้วรีเช็คเลขบัตรประจำตัวประชาชน ชื่อ-นามสกุล หรือข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งหากเป็นหน่วยงานจริงจะไม่มีการโทรเข้ามารีเช็คข้อมูลเหล่านี้กับคุณแน่นอน หากมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานใดโทรเข้ามา ไม่ว่าจะด้วยเรื่องอะไรสำคัญมากน้อยเพียงใด ไม่ควรคุยต่อหรือสนทนาด้วย และทางที่ดีหากมีเบอร์แปลกโทรมาไม่ควรรับสาย หรือหากรับสายไปแล้วควรกดตัดสายทิ้งทันที เพื่อเป็นการตัดโอกาสให้มิจฉาชีพเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวและไม่หลงเป็นเหยื่อของแก๊งดูดเงินเหล่านี้ด้วย

2. โทรมาแล้วแจ้งว่าคุณเป็นผู้โชคดีได้รับรางวัล

          หากมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานอื่นที่คุณใช้บริการอยู่ อาทิ เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ , แอปพลิเคชันสั่งซื้อสินค้า , แอปพลิเคชันรับชมวิดีโอ ฯลฯ หากมีเจ้าหน้าที่โทรเข้ามาแล้วแจ้งว่าคุณเป็นผู้โชคดี ได้รับรางวัลหรือสิทธิพิเศษต่าง ๆ ให้รีบกดสายทิ้งทันที ก่อนที่จะหลงกลเป็นเหยื่อเพราะเชื่อว่าเป็นผู้โชคดีจริง ๆ หากต้องการเป็นผู้โชคดีจริง ๆ ควรศึกษาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือของหน่วยงานนั้น ๆ ด้วยตนเองก่อนจะดีกว่า มิฉะนั้นอาจหลงเชื่อคำหลอกลวงของมิจฉาชีพและสูญเสียทรัพย์สินจากคำว่า “คุณเป็นผู้โชคดีได้รับรางวัล” ได้

3. ชวนพูดคุยแล้วหลอกให้พูดข้อมูลส่วนบุคคล

          สำหรับสายที่โทรเข้ามาแล้วมีการพูดคุยทำนองว่าเป็นการสำรวจข้อมูล จะมีการสอบถามข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ ตั้งแต่ชื่อ-นามสกุล อาชีพ รายได้ ฯลฯ แล้วหลังจากนั้นจะมีการให้ทำขั้นตอนต่าง  ๆ ตามที่ปลายสายพูด เช่น การหลอกให้โอนเงินชำระค่าบริการต่าง ๆ โดยเหยื่อที่มิจฉาชีพพวกนี้นิยมหลอกลวงมากที่สุดจะได้แก่ ผู้สูงวัยหลังเกษียณ หรือผู้สูงวัยที่อาศัยอยู่คนเดียวไม่มีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด เป็นต้น เนื่องจากเห็นว่าเหยื่อเหล่านี้ขาดความรู้ และสามารถชักจูงได้ง่ายเช่นเดียวกับเด็ก

หลอกคุย 2 นาที ดูดเงินหมดบัญชี มีจริงหรือ ?

หลอกคุย 2 นาที ดูดเงินหมดบัญชี มีจริงหรือ

          เนื่องจากช่วงนี้มีข่าวสะพัดอย่างมากเกี่ยวกับกระบวนการของมิจฉาชีพคอลเซ็นเตอร์ แก๊งดูดเงิน และหรือภัยร้ายออนไลน์รูปแบบต่าง ๆ มีกระแสข่าวมาแรงอย่าวข่าวหลอกคุย 2 นาที ดูดเงินหมดบัญชี วันนี้จะมาไขข้อสงสัยกับข่าวนี้ว่ามีจริงหรือ ?

          คำตอบคือ “ไม่จริง” เนื่องจากการที่มิจฉาชีพมีการโทรเข้ามาอ้าง หรือหลอกลวงต่าง ๆ นานานั้น ยังไม่สามารถดูดเงินออกจากบัญชีของคุณได้ทันทีไม่ว่าจะมีการโทรเข้ามา 2 นาที หรือมากกว่านั้น  แต่ที่ว่าโทรเข้ามา 2 นาทีแล้วถูกดูดเงินนั้น เป็นเพราะเหยื่อหรือผู้เสียหายได้มีการหลงเชื่อและทำการโอนเงินออกจากบัญชีให้มิจฉาชีพเอง นั่นจึงเป็นที่มาของข่าวที่ว่าหลอกคุย 2 นาที ดูดเงินหมดบัญชี แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นกระบวนการดูดเงินหมดบัญชีมีอยู่จริง เพียงแต่กระบวนการนี้ต้องมีขั้นตอนดำเนินการต่าง ๆ เช่น การที่มิจฉาชีพให้ผู้เสียหายกดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันหนึ่ง แล้วกดดาวน์โหลดไป และนั่นคือแอปที่มิจฉาชีพอาจแฝงมาด้วยโปรแกรมควบคุมโทรศัพท์มือถือหรือแอปดูดเงินเพื่อเจาะข้อมูลส่วนบุคคลของคุณนั่นเอง และแน่นอนว่าการกดยอมรับให้ติดตั้งแอปก็เสมือนว่าคุณกดยืนยันให้มิจฉาชีพเข้าถึงข้อมูลสำคัญของคุณได้ง่ายขึ้นนั่นเอง ดังนั้น ไม่ว่าจะมีใครโทรเข้ามาแล้วให้ทำตามขั้นตอนใด ๆ ก็ตาม “กดตัดสาย” คือทางออกเพื่อปิดโอกาสให้มิจฉาชีพเข้ามาหลอกดูดเงินเป็นสิ่งที่ควรทำที่สุด !