ค่าเสียหายเชิงลงโทษ คืออะไร ค่าเสียหายเชิงลงโทษเป็นหนึ่งในหลักเกณฑ์วิธีพิจารณาพิเศษ ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตราที่ 42 คือ ศาลมีอำนาจพิพากษากำหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษหรือเรียกผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลให้ร่วมรับผิดในหนี้ของนิติบุคคลได้
ค่าเสียหายเชิงลงโทษ มาตราที่ 42 บัญญัติว่า “ถ้าการกระทำที่ถูกฟ้องร้องเกิดจากการที่ผู้ประกอบธุรกิจกระทำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรมหรือจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดแก่ผู้บริโภค หรือกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ผู้ประกอบธุรกิจชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้บริโภค ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนดได้ตามที่เห็นสมควร ฯลฯ โดยกำหนดได้ไม่เกิน 2 เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนด แต่ถ้าค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนดมีจำนวนเงินไม่เกิน 50,000 บาท ให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษได้ไม่เกิน 5 เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนด”
ค่าเสียหายเชิงลงโทษมีเป้าหมาย 2 ประการ ได้แก่
-ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามหลักการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนของกฎหมายแพ่ง
-เป็นการลงโทษในทางอาญาเพื่อเป็นการป้องปรามมิให้เอาเยี่ยงอย่าง และเพื่อเอาเรื่องกับจำเลยที่หลบหนีความรับผิด
ลักษณะของค่าเสียหายเชิงลงโทษ
-ค่าเสียหายเชิงลงโทษ คือ เป็นค่าเสียหายที่ศาลกำหนดขึ้นเพื่อลงโทษผู้กระทำละเมิด ป้องปรามไม่ให้ผู้กระทำละเมิดกระทำการละเมิดซ้ำอีก และยังป้องปรามไม่ให้บุคคลอื่นกระทำการละเมิดในอนาคตด้วย
-ค่าเสียหายเชิงลงโทษ คือ ค่าเสียหายที่ผู้ถูกกระทำละเมิดไม่ต้องพิสูจน์ถึงจำนวนความเสียหายในส่วนนี้ เพราะเป็นดุลยพินิจของศาลที่กำหนดให้ตามความเหมาะสม โดยจะมีการคำนึงถึงความร้ายแรงของการกระทำละเมิด , ฐานะของผู้กระทำละเมิด รวมไปถึงความเสียหายที่ผู้ถูกกระทำละเมิดต้องได้รับจากการกระทำละเมิดนั้นด้วย
-ค่าเสียหายเชิงลงโทษเป็นค่าเสียหายที่ศาลกำหนดเพิ่มเติมนอกเหนือจากค่าเสียหายที่แท้จริง ซึ่งศาลสามารถกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษอย่างเดียวได้ แม้ว่าจะไม่ปรากฏค่าเสียหายที่แท้จริง
-ศาลจะกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษให้ในกรณีที่เห็นว่าการกระทำละเมิดนั้นมีพฤติการณ์ที่รุนแรง เช่น มีการทำร้าย ข่มขู่ หลอกลวง ฉ้อฉล หรือมีวัตถุประสงค์ชัดเจนว่ามุ่งร้ายเกิดความกระทบกระเทือนต่อจิตใจของผู้ถูกกระทำละเมิด หรือทำให้เกิดความอับอาย ถูกดูหมิ่น ถูกเหยียดหยาม
บทบัญญัติกฎหมายไทยเกี่ยวกับค่าเสียหายเชิงลงโทษ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด อนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนนั้นได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด หรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอันจะถึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย
การสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2511 มาตรา 42
1.กระทำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม
2.จงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย
3.ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดแก่ผู้บริโภค
4.กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจแก่ประชาชน
ตัวอย่างกรณี ผู้เสียหายถูกบริษัทประกันภัยคำนวณนับผลแอลกอฮอล์ย้อนหลัง สุดท้ายศาลสั่งจ่ายค่าเสียหายเชิงลงโทษ 5 หมื่นบาท เหตุเพราะบริษัทฯ จงใจเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม
เป็นเรื่องราวที่ไขข้อข้องใจได้ดีว่าค่าเสียหายเชิงลงโทษ คืออะไร ซึ่งเป็นเรื่องของผู้เสียหายรายหนึ่งที่ขับขี่รถยนต์แล้วได้เกิดอุบัติเหตุจนทรัพย์สินเสียหายหนัก และได้รับบาดเจ็บ โดยได้เกิดเหตุเวลาประมาณ 05.00 น. ต่อมาภายหลังเกิดเหตุได้มีการตรวจเลือดเพื่อวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเวลาประมาณ 07.03 น. และผลตรวจเลือดออกเวลาประมาณ 13.40 น. หลังจากนั้นบริษัทประกันภัยก็ทำการหัวหมอต่อผู้เสียหายทันที เพื่อที่จะไม่รับผิดชอบต่อคามเสียหายใด ๆ ได้มีการเอาผลที่แอลกอฮอล์ที่ออกมานั้น มานับคำนวณผลแอลกอฮอล์ย้อนหลังไปจนถึงเวลาที่เกิดเหตุ ทั้ง ๆ ที่ตามข้อเท็จจริงแล้วจะต้องนับตั้งแต่เวลาที่ผู้เสียหายได้เจาะเลือดคือเวลา 07.03 น. แต่บริษัทฯ กลับเอาเวลาที่ผลเลือดออกคือเวลา 13.40 น. มานับ เมื่อบริษัทฯ มาคำนวณตั้งแต่เวลา13.40 น. แน่นอนว่าอย่างไรก็ตามปริมาณแอลกอฮอล์ในตัวผู้เสียหายก็เกิน 50 Mg.% ต่อมาบริษัทฯ ยังมาอ้างว่าคำนวณตามใบผลตรวจเลือดที่ออกมา ซึ่งในส่วนนี้บริษัทฯ ไม่ได้นำเอกสารดังกล่าวไปแปลเป็นเวลาไทย เนื่องจากเวลาในเอกสารดังกล่าวที่ออกมาเป็นภาษาอังกฤษ
เห็นได้อย่างชัดเจนว่าบริษัทฯ ที่ประกอบธุรกิจประกันภัยอันเป็นที่น่าเชื่อถือและได้รับความไว้วางใจต่อประชาชนไม่ได้อ่านและไม่ได้แปลเอกสารเป็นไทย เป็นเหตุให้บริษัทฯ เกิดความเข้าใจผิดอย่างมากทั้ง ๆ ที่ก็เป็นบริษัทฯ ใหญ่ ควรมีความละเอียดและรอบคอบมากกว่านี้ ดังนั้น ศาลจึงพิเคราะห์ว่าจากเหตุนี้ การคำนวณของบริษัทประกันภัยไม่มีความถูกต้องตามหลักข้อเท็จจริง อีกทั้งยังเป็นการเอาเปรียบประชาชนหรือผู้บริโภคอย่างชัดเจน การคำนวณผลแอลกอฮอล์แบบนี้ของบริษัทฯ คำนวณอย่างไรผลก็เกินแน่นอน โดยคดีนี้ศาลจึงได้พิพากษาสั่งให้บริษัทฯ จ่ายค่าเสียหายเชิงลงโทษเป็นเงินจำนวน 50,000 บาท นอกจากนี้ยังได้สั่งจ่ายค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ สั่งให้บริษัทฯ นำรถของผู้เสียหายไปจัดซ่อม อีกทั้งยังสั่งจ่ายเกือบทั้งหมดที่ผู้เสียหายได้เรียกไปอีกด้วย
รถชนได้รับความเสียหายหนัก ไม่ต้องต่อล้อต่อเถียงกับประกันภัยให้เสียเวลา ปรึกษาทนายได้ตั้งแต่เกิดเรื่อง !!
สำหรับใครที่ประสบปัญหาเกิดอุบัติเหตุรถชน แล้วถูกบริษัทฯ คำนวณผลแอลกอฮอล์ย้อนหลังว่าคุณเมาแล้วขับ มาปฏิเสธไม่รับชอบต่อความเสียหายใด ๆ ไม่ต้องต่อล้อต่อเถียงกับใครให้เสียเวลา เพราะคุณไม่ใช่เหยื่อของบริษัทฯ อีกต่อไป สามารถมีทนายความไว้ปรึกษาได้ตั้งแต่วันที่เกิดเรื่อง และทนายความผู้เชี่ยวชาญกฎหมายและการประกันภัยรถยนต์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอดจนการดำเนินคดีความต้องที่สำนักงานกฎหมายวงศกรณ์