รักษาตัวให้หายดีก่อน ประโยคแสดงความเป็นห่วงเป็นใยจากบริษัทประกันภัยหัวแพทย์ ที่ฟังแล้วดูแล้วรู้สึกถึงความใส่ใจและหวังดี แต่แท้ที่จริงแล้วนี่เป็นประโยคเริ่มต้นของการหวังดีแต่ประสงค์ที่เอารัดเอาเปรียบประชาชนหรือผู้บริโภค เมื่อไรที่ถูกบริษัทประกันภัยพูดคำนี้ รักษาตัวให้หายดีก่อน ไม่ใช่เพราะเขาเป็นห่วง แต่เป็นเพราะเขาจะประวิงเวลาการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายทั้งหลายนั่นเอง
ประกันภัยหรือผี หลอกผู้เสียหายรักษาตัวให้หายดีก่อนถึง 3 ครั้ง
ครั้งที่ 1
ผู้เสียหายท่านนี้ประสบอุบัติเหตุคู่กรณีมาชนท้าย ได้บาดเจ็บสาหัสช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 64 เจอประกันภัยแสดงความหวังดีทันทีว่าให้ รักษาตัวให้หายดีก่อน โดยผู้เสียหายท่านนี้บาดเจ็บสาหัสถึงขั้นนอนรพ. นานร่วมสัปดาห์ด้วยอาการกระดูกก้นกบหัก รักษาอาการบาดเจ็บที่รพ. ยังไม่พอ ต้องกลับมาพักรักษาตัวที่บ้านอีกเป็นเวลากว่า 2 เดือน
ครั้งที่ 2
ผู้เสียหายยังเล่าว่า ตลอดระยะเวลาที่ตนนั้นนอนพักรักษาตัวที่รพ. บริษัทประกันภัยไม่มีการติดต่อใด ๆ มายังผู้เสียหายเลย เรียกได้ว่าเงียบสนิทหลังจากบอกให้ผู้เสียหายไป รักษาตัวให้หายดีก่อน ผู้เสียหายก็รอแล้วรอเล่าก็ไม่ได้รับการติดต่อจากบริษัทประกันภัยแต่อย่างใด ผู้เสียหายทนไม่ไหวเห็นเงียบหายนาน จนต้องเป็นผู้พยายามติดต่อหาประกันเองทั้งที่ตนยังบาดเจ็บและยังต้องรักษาตัว หลังจากที่ติดต่อประกันได้ จึงได้นัดคุยกันที่สถานีตำรวจแห่งหนึ่ง เมื่อได้พบปะพูดคุยกัน ประกันภัยยังย้ำต่อผู้เสียหายอีกครั้งว่าให้ รักษาตัวให้หายดีก่อน ผู้เสียหายก็หลงเชื่อคำประกันบอกจึงไม่ได้เอะใจอะไร
ครั้งที่ 3
จนระยะเวลาผ่านไปหลายเดือน ผู้เสียหายรอจนถึงช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 64 ผู้เสียหายตัดสินใจติดต่อหาประกันภัยอีกครั้ง และได้นัดพูดคุยกับประกันภัยอีก แต่คราวนี้ผู้เสียหายอาการดีขึ้นในระดับหนึ่งแล้ว สามารถนั่งได้ในระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 10 – 20 นาทีได้แล้วจากที่นั่งไม่ได้เลย แต่อาการยังไม่ดี 100% พอประกันภัยทราบดังนั้นว่าผู้เสียหายเริ่มอาการดีขึ้นตามคำบอกรักษาตัวให้หายดีก่อน จึงได้ออกกลอุบายต่อผู้เสียหายอีกครั้ง ทำทีว่าเป็นห่วงเป็นใยผู้เสียหายอีกว่า “หมอยังนัดดูอาการอยู่เลย” , “เรียกเท่านี้อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกนะ” , “อาจได้ไม่คุ้ม” และตบท้ายด้วยคำพูดยอดฮิตว่า “รักษาตัวให้หายดีก่อน” กับผู้เสียหายเป็นครั้งที่ 3 จากนั้นก็แยกย้ายกันไป
ผู้เสียหายไหวตัวทันเจอประกันภัยหลอก รักษาตัวให้หายดีก่อน
หลังจากได้นัดพูดคุยกันและถูกประกันภัยบอก รักษาตัวให้หายดีก่อน ถึง 3 ครั้งผู้เสียหายยังเล่าอีกว่าตั้งแต่เกิดเหตุมานี้เป็นระยะเวลากว่า 6 เดือนแล้ว ที่ไม่มีผลตอบรับหรือการติดต่อโทรถามแต่อย่างใดจากประกันภัยอีกเลย ผู้เสียหายเอะใจถึงพฤติกรรมของประกันภัย เพราะระยะเวลาก็ล่วงเลยมายาวนานพอสมควรหลังเกิดเหตุ จึงไหวตัวคิดว่าต้องพึ่งสำนักงานทนายความเข้าช่วยเหลือ จนได้ไปเจอเฟซบุ๊กแฟนเพจของสำนักงานกฎหมายวงศกรณ์ และช่อง YOUTUBE ที่เคยทำวิดีโอให้ความรู้ไว้ เมื่อศึกษาข้อมูลจากทั้งเพจและ YouTube ของสำนักงานทนายความ จึงได้ถึงบางอ้อว่า ตนถูกประกันหลอกให้รักษาตัวให้หายดีก่อนเหมือนเช่นเดียวกับเคสอื่น ๆ ที่ทางสำนักงานของเราเคยดำเนินคดีความให้ ผู้เสียหายท่านนี้จึงตัดสินใจเข้าปรึกษาทนายทันทีโดยไม่รอประกันแล้ว
3 ข้อเสีย เมื่อประกันภัยบอกให้ รักษาตัวให้หายดีก่อน
รักษาตัวให้หายดีก่อน หากจากคำนี้เมื่อไร ควรรีบปรึกษาทนายทันทีไม่ต้องรอให้ถูกประกันภัยหลอกแล้วหลอกเล่าเหมือนกรณีเคสตัวอย่างข้างต้นที่ถูกบริษัทประกันภัยหลอกให้ รักษาตัวให้หายดีก่อนถึง 3 ครั้งด้วยกันในระยะเวลากว่าครึ่งปี เพราะคำพูดหรือข้ออ้างต่าง ๆ ของบริษัทประกันภัย มักจะใช้เป็นข้ออ้าง เพื่อปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมให้แก่ผู้เอาประกันภัย จึงเป็นข้อระวังสำคัญที่ไม่ควรหลงเชื่อ
-
คดีอาจขาดอายุความ
ทำให้ไม่สามารถขอเคลมหรือฟ้องร้องได้ เป็นเพียงกลยุทธ์ตื้นๆ ที่พอเมื่อเราเสียเวลาในการไปรักษาตัวให้หายดีแล้วจึงให้ไปติดต่อขอเคลมประกัน แต่บางกรณีต้องรักษาตัวเป็นเวลานาน จึงทำให้คดีขาดอายุความ ทำให้ไม่สามารถขอเคลมหรือฟ้องร้องใด ๆ ได้เลย
-
อาจหมดสิทธิ์ในการเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลในอนาคตได้
หลายท่านอาจยังไม่ทราบว่าในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน เรามีสิทธิที่จะเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อีกด้วย ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ เช่น สมมติว่าเราขาหักแล้วต้องใส่เหล็กดาม ทางประกันภัยก็ตีความว่าการรักษาพยาบาลเป็นอันสิ้นสุด จึงได้อนุมัติการจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ และทำการเซ็นสัญญาประนีประนอม เป็นอันจบคดี แต่เมื่อเวลาผ่านไป ทางแพทย์ก็ได้นัดให้ทำการผ่าเอาเหล็กดามออก ทีนี้เราจึงไม่สามารถกลับไปเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลเพิ่มเติมได้อีกแล้ว
-
บริษัทประกันอาจอนุมัติจ่ายค่าสินไหมให้น้อยกว่าเท่าที่ควร
เนื่องจากเห็นว่าเรารักษาตัวหายดีแล้ว เมื่อรักษาตัวให้หายดีแล้วตามที่ประกันบอก ก็ไม่มีบาดแผล หรือความเจ็บปวดใดที่จะไปเรียกร้อง เมื่อประกันเห็นว่าหายดีแล้ว ก็จึงจ่ายค่าสินไหมให้ตามสภาพอาการบาดเจ็บนั่นเอง
3 ข้อนี้เป็นเพียงแค่ข้อเสียเบื้องต้นเท่านั้น แต่มุกเด็ด หรือกุลยุทธ์เด็ด ๆ ของประกันภัยอีกมากมายที่บริษัทประกันภัยมักหยิบมาใช้อ้างเพื่อปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหม เจอแบบนี้อย่าเพิ่งหลงเชื่อรีบปรึกษาทนายความที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อช่วยหาทางออกให้ดีที่สุด ยืนยันสำนักงานกฎหมายวงศกรณ์ ช่วยคุณได้