รถชน ฟันหัก 5 ซี่ขึ้นไป พ.ร.บ.จ่ายเท่าไหร่ ?

รถชน ฟันหัก 5 ซี่ขึ้นไป พ.ร.บ.จ่ายเท่าไหร่ ?

          อุบัติเหตุจากรถเป็นเรื่องไม่คาดฝัน เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน  เพราะเราต้องใช้ยานพานหนะทางบกในการเดินทางเป็นหลัก ซึ่งรถทุกประเภทมีความเสี่ยงภัยทั้งสิ้น โดยเฉพาะอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ที่ผู้คนนิยมใช้จำนวนมาก เพราะมีความสะดวก คล่องตัว ทำให้มีความเสี่ยงภัยสูงที่จะเกิดอุบัติเหตุ จากรายงานแสดงสถิติการเกิดเหตุจากรถจักรยานยนต์ ตามข้อมูลการใช้สิทธิ์ พ.ร.บ  ในปีพ.ศ. 2566 ของศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน พบว่า ในปี 2566 ประเทศไทยมีอุบัติเหตุทางท้องถนนจากรถจักรยานยนต์ เกิดขึ้น จำนวน 495,264 ครั้ง  มีผู้เสียชีวิต 7,915 ราย และมีผู้บาดเจ็บถึง 486,855 ราย เห็นสถิติแล้วต้องบอกว่าน่าทึ่งมาก แล้วจะมีผู้ประสบภัยสักกี่คนที่ได้รับการเยียวยาที่ถูกต้องตามสิทธิ กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถได้กำหนดให้บริษัทจ่ายค่าสินไหมทดแทน กรณีได้รับความเสียหายต่อร่างกาย อนามัย ตามความเสียหายที่แท้จริง ไม่เกิน 80,000 บาท และกรณีสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต คนส่วนใหญ่ค่อนข้างทราบดีว่าสามารถเรียกร้องได้ 200,000-500,000 บาท แต่อาจจะมีบางท่านที่ยังไม่ทราบว่ากรณีที่อวัยวะถูกทำลายลงแล้วจะทำให้กระทบต่อการดำรงชีวิตอย่างปกติสุขของผู้ประสบภัยนั้น เช่น การสูญเสียฟันแท้ตั้งแต่ 5 ซี่ ขึ้นไป สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ถึง 250,000 บาท เป็นต้น

ฟันหัก ดูดีๆ อาจไม่ใช่กรณีบาดเจ็บธรมดา แต่เป็นเรื่องการสูญเสียอวัยวะ

ฟันหัก ดูดีๆ อาจไม่ใช่กรณีบาดเจ็บธรมดา

          “ฟัน” เป็นอวัยวะหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้อวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย เพราะมีหน้าที่ช่วยทำให้เราบดเคี้ยวอาหารได้ในทุก ๆ วัน ฟันเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราพูดและออกเสียงได้อย่างปกติ ช่วยรักษาโครงสร้างใบหน้า ให้มีความกว้าง , ความยาว และความอิ่มของริมฝีปากให้สมดุล และฟันเป็นส่วนประกอบของบุคลิกภาพ สร้างความประทับใจได้โดยเฉพาะเวลาที่พูดคุยกัน ฉะนั้น เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากรถแล้วฟันหัก แน่นอนว่าย่อมเกิดความเจ็บปวดทุกข์ทรมานและกระทบต่อการใช้ชีวิตอย่างปกติสุข นอกจากการเรียกร้องค่ารักษาพยาบาล ค่าสูญเสียโอกาสในการทำงาน ค่าเสียหายอื่น ๆ แล้ว ต้องดูเงื่อนไข พ.ร.บ. ด้วย

          ดังนั้นดูให้ดี! บาดเจ็บฟันหักจากอุบัติเหตุรถชน แล้วฟันแท้หักตั้งแต่ 5 ซี่ขึ้นไป  สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ถึง 250,000 บาท ตามเงื่อนไขกรมธรรม์พ.ร.บ. ข้อ 3.1.2 (7) ประกันภัยอาจจะใช้ความ “ไม่รู้” ของชาวบ้าน เสนอจ่าย พ.ร.บ. ในวงเงิน 80,000 บาท ซึ่งเป็นแค่กรณีบาดเจ็บเท่านั้น อาจจะทำให้ผู้ประสบภัยเสียสิทธิได้   

ตัวอย่างเคส ผู้เสียหาย ถูกรถชนได้รับบาดเจ็บฟันหักเกิน 5 ซี่ พ.ร.บ. จ่ายแค่ 80,000 บาท

          ผู้เสียหายรายหนึ่งได้รับบาดเจ็บสาหัส กระดูกเบ้าฟันหน้าแตก , ฟันหลุดออกจากเบ้า และฟันโยกไม่สามารถใช้งานได้มากกว่า 5 ซี่ มีบาดแผลฉีกขาดเหงือกบนและล่าง กระดูกนิ้วก้อยมือขวาหัก และมีบาดแผลถลอกตามร่างกาย จากอาการบาดเจ็บจะเห็นได้ว่าผู้เสียหายรายได้บาดเจ็บสาหัสมาก ก่อนที่จะได้มาปรึกษาสำนักงานกฎหมายวงศกรณ์ ผู้เสียหายท่านนี้ได้ดำเนินคดีเรียกร้องค่าเสียหายจากการบาดเจ็บดังกล่าวจากพ.ร.บ. ซึ่งบริษัทประกันภัยเสนอจ่ายพ.ร.บ. เพียงแค่ 80,000 บาท เท่านั้น ซึ่งไม่ถูกต้อง ผู้เสียหายได้ค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต จึงได้มารู้จักกับสำนักงานกฎหมายวงศกรณ์  ทำให้ได้รู้ว่าอาจกำลังถูกประกันภัยเอาเปรียบ จึงตัดสินใจติดต่อหาทนายเพื่อปรึกษา และให้มาดำเนินการเรียกร้องค่าสินไหมแทน ซึ่งหลังจากที่สำนักงานกฎหมายวงศกรณ์เข้าไปดำเนินการเรียกร้องในส่วน พ.ร.บ. ให้กับผู้เสียหายได้ 250,000 บาท ตามสิทธิ  และเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในส่วนของภาคสมัครใจเป็นค่ารักษารักษาพยาบาลในอนาคต ค่าขาดประโยชน์จากการทำมาหาได้ ค่าสูญเสียความสามารถฯ และค่าสินไหมทดแทนอันมิใช่ตัวเงิน (ค่าทนทุกข์ทรมาน) ให้กับผู้เสียหายท่านนี้ด้วย ทำให้ผู้เสียหายไม่ถูกเอาเปรียบจากความไม่รู้ ดังนั้น สำหรับใครที่ถูกรถชนได้รับบาดเจ็บฟันหัก ดูให้ดี ว่าหักกี่ซี่? เข้าเงื่อนไขการสูญเสียอวัยะหรือไม่? หากไม่แน่ใจและรู้สึกว่าถูกเอาเปรียบเหมือนอย่างเคสคดีนี้ การติดต่อหาทนายความ
เป็นสิ่งที่ดีที่สุด

ขอขอบคุณที่มาข้อมูลสถิติ  : ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน