รถชนบาดเจ็บกระดูกหักใส่เหล็ก ความเจ็บปวดทรมานที่เรียกร้องให้ประกันภัยชดใช้ได้

รถชนบาดเจ็บกระดูกหักใส่เหล็ก ความเจ็บปวดทรมานที่เรียกร้องให้ประกันภัยชดใช้ได้

กระดูกหักใส่เหล็ก ไม่ใช่เรื่องเล็ก ทั้งเจ็บตัว ขาดรายได้ แถมยังเสี่ยงพิการได้ เรื่องนี้ใครๆก็รู้ บริษัทประกันภัยเองก็รู้แต่…..

         เมื่ออุบัติเหตุทางถนนเกิดขึ้น ย่อมต้องมีความเสียหายตามมา มาก-น้อย แล้วแต่เหตุการณ์ไป ความเสียหายนั้นอาจเป็นความเสียหายต่อร่างกายและอนามัย เช่น บาดเจ็บกระดูกหัก แขนหัก ฟันหัก ตาบอด สมองกระทบกระเทือน หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิต และความเสียหายต่อทรัพย์สินทั้งของตนเองและของบุคคลภายนอก ซึ่งคนส่วนใหญ่ทราบดีอยู่แล้วว่า ความเสียหายเหล่านี้สามารถเรียกร้องให้ประกันภัยจ่ายค่าชดเชยได้ หากเป็นทรัพย์สินเราสามารถประเมินค่าเสียหายได้ แต่หากเป็นกรณีบาดเจ็บล่ะ? จะเรียกร้องค่าเสียหายอย่างไร?  เมื่อถูกรถชน อาการบาดเจ็บยอดฮิต คงหนีไม่พ้น กระดูกหักใส่เหล็ก ซึ่งเป็นอาการบาดเจ็บที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อผู้บาดเจ็บเป็นอย่างมาก เริ่มตั้งแต่ความทุกข์ทรมานจากอาการเจ็บปวด ต้องรักษาตัวต่อเนื่องเป็นเวลานาน การขาดรายได้จากการที่ไม่สามารถประกอบอาชีพ รวมถึงสูญเสียโอกาสในการทำงานทั้งในปัจจุบันและในอนาคตอีกด้วย

บาดเจ็บกระดูกหักใส่เหล็ก ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องอะไรได้บ้าง?

  1. ค่ารักษาพยาบาลที่ได้จ่ายไปในการรักษาอาการบาดเจ็บทั้งหมดจนกว่าจะหายดี
  2. ค่าขาดแรงงาน ค่าขาดรายได้จากการประกอบการงานในระหว่างรักษาพยาบาล
  3. ค่าเสียความสามารถในการประกอบการงานในปัจจุบันและในอนาคต  อาการบาดเจ็บกระดูกหักใส่เหล็ก ทำให้ร่างกายส่วนที่หักไม่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพดังเดิม 
  1. ค่าเสียหายอื่นอันที่มิใช่ตัวเงิน ที่เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย อนามัย และเสรีภาพ เช่น ค่าทนทุกข์ทรมานจากบาดแผลกระดูกหักใส่เหล็ก มีรอยแผลเป็นจากการผ่าตัดทำให้ขาดความมั่นใจ 
    ค่าทุกข์ทรมานใจจากการที่เป็นนักกีฬาแต่ออกกำลังกายไม่ได้อีก ความเสียหายต่อชื่อเสียงเกียรติคุณ เป็นต้น

บริษัทประกันภัยนัดไปโรงพักบอกจะจ่าย แต่เกลี้ยกล่อมให้ยอมรับค่าสินไหมทดแทนน้อยกว่าความเสียหาย ต้องรับมืออย่างไร?

บริษัทประกันภัยนัดไปโรงพักบอกจะจ่าย แต่เกลี้ยกล่อมให้ยอมรับค่าสินไหมทดแทนน้อยกว่าความเสียหาย ต้องรับมืออย่างไร?

       จากที่กล่าวมาข้างต้นเราทราบแล้วว่า ค่าเสียหายจากการถูกรถชนกระดูกหักใส่เหล็กสามารถเรียกร้องอะไรได้บ้าง ก็ถึงคราวรวบรวมเอกสารใบรับรองแพทย์และหลักฐานแสดงความเสียหายเพื่อยื่นเรื่องขอรับสินไหมทดแทน เมื่อเราติดต่อบริษัทไป บริษัทมักจะทำการนัดหมายที่โรงพักแล้วเสนอค่าสินไหมทดแทนให้ในจำนวนน้อย มักจะขอเอกสารเพิ่ม และนัดหมายหลาย ๆ ครั้งเหมือนเป็นการยื้อให้ผู้บาดเจ็บเกิดความลำบากในการมาเดินเรื่อง รวมถึงการถูกเกลี้ยกล่อมให้ยอมรับค่าสินไหมทดแทนน้อยกว่าความเสียหายที่แท้จริง หากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น สิ่งสำคัญคือการตั้งสติ ยังไม่รับค่าชดเชยและไม่เซ็นต์เอกสารยอมความใดๆ หลีกเลี่ยงการคุยที่ไม่เกิดประโยชน์ซึ่งทำให้เสียเวลาเปล่า ควรขอเอกสารคืนแล้วหาคนที่มีความรู้มีความเชี่ยวชาญไปดำเนินการแทน

ตัวอย่างเคสผู้เสียหายถูกรถชนได้รับบาดเจ็บขาหักใส่เหล็ก ประกันภัยนัดไปเจรจาที่โรงพัก เสนอค่าสินไหมทดแทนแค่หลักหมื่น!!

คำพิพากษาคดี

          ผู้เสียหายท่านนี้ได้ให้สำนักงานกฎหมายวงศกรณ์ ดำเนินคดีเรียกร้องค่าเสียหายจากการบาดเจ็บถูกรถชนจนบาดเจ็บสาหัส กระดูกเท้าหักใส่เหล็ก แพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวพักฟื้นที่บ้านถึง 120 วัน ในชั้นเจรจาที่โรงพักประกันภัยเสนอชดใช้เพียงแค่หลักหมื่น ซึ่งน้อยกว่าความเสียหายที่แท้จริง ผู้เสียหายรู้สึกว่าถูกเอาเปรียบ จึงตัดสินใจติดต่อหาทนายให้มาดำเนินการแทน ซึ่งหลังจากที่สำนักงานกฎหมายวงศกรณ์เข้าไปดำเนินการแทนจนจบกระบวนการแล้ว ศาลได้พิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย รวมจำนวนเงิน 1,030,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี เห็นได้ว่า การที่เข้าไปเจรจาเองที่โรงพักโดยไม่มีความรู้เท่าทันประกันภัยมากพอ อาจเสียประโยชน์ได้

          จากประสบการณ์ของสำนักงานกฎหมายวงศกรณ์ ในการทำคดีประกันภัยมายาวนาน ทำให้เรียกร้องค่าเสียหายได้มากถึง 1,030,000 บาท โดยที่ผู้เสียหายไม่ต้องลำบากไปเดินเรื่องเอง หน้าที่ของผู้เสียหายคือ เก็บข้อมูลหลักฐาน รูปภาพ ให้ครบถ้วน พยายามอย่าอ้างว่ารูปภาพและหลักฐานอยู่กับตำรวจ หรือบริษัทประกันภัยได้นำไปแล้ว ผู้เสียหายต้องเก็บเอกสารไว้ เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินคดี
ซึ่งในการพิจารณาคดีศาลจะดูพยานหลักฐานเป็นสำคัญ  ยกตัวอย่างเคสนี้ได้เก็บภาพถ่ายบาดแผล
และเอกสารทางการแพทย์อย่างครบถ้วน ทำให้สามารถเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลก่อนฟ้องได้ 300,000 บาท และค่ารักษาพยาบาลอันเกี่ยวเนื่องกับการรักษาพยาบาล จำนวนเงิน 200,000 บาท และอีกส่วนที่เรียกร้องได้เยอะก็คือค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน ซึ่งผู้เสียหายได้เบิกความว่า ได้รับความทุกข์ทรมานจากการรักษาพยาบาล อันเกิดจากอุบัติเหตุดังกล่าว ไม่สามารถเดินได้อย่างคนปกติ หรือช่วยเหลือตัวเองได้เป็นเวลา 172 วัน มีบาดแผลขนาดใหญ่ตามร่างกาย รับประทานอาหารด้วยความยากลำบาก หวาดกลัวว่าจะไม่สามารถจะรักษาให้สภาพร่างกายให้กลับไปดีได้อย่างเดิม มีอาการเท้าบวม ทำให้เลือกซื้อรองเท้าได้ลำบากกว่าคนปกติ ไม่สามารถออกกำลังกายได้ ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากในการใช้ชีวิตประจำวัน มีหลักฐานภาพถ่ายที่แสดงถึงความทรมานและเอกสารการทำกายภาพบำบัดแนบ
ค่าสินไหมในส่วนนี้ศาลกำหนดให้เป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท จากตอนแรกในชั้นโรงพักประกันภัยเสนอจ่ายเพียงหลักหมื่น เมื่อให้ทนายความดำเนินการแทน จะเห็นว่าเฉพาะยกตัวอย่างมาสองส่วนนี้ก็มากกว่าหลายเท่าแล้ว

          สำหรับใครที่ถูกรถชนได้รับบาดเจ็บกระดูกหักกำลังถูกบริษัทประกันภัยเสนอชดใช้ค่าเสียหายน้อยกว่าความเสียหายที่แท้จริงเหมือนอย่างเคสคดีนี้ ต้องรีบติดต่อหาทนายความด่วน เพราะบริษัทประกันภัยมีทนายไว้ตั้งแต่ยังไม่มีเรื่องราว แต่สำหรับประชาชนไม่มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา จึงอาจถูกเอาเปรียบได้ ดังนั้นสุดท้ายปรึกษาทนายคือทางออกที่ดีที่สุด