ทำความรู้จัก identity theft คืออะไร? กับการป้องกันและวิธีการจัดการ

Identity theft คืออะไร? วันนี้มีคำตอบ identity theft (ไอเด็นทิตี้ เธฟ) หรือ การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึงการที่ผู้เสียหายถูกคนร้ายหรือมิจฉาชีพแอบเอาข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลที่เป็นความลับไปแอบอ้างใช้ เพื่อหาผลประโยชน์บางอย่าง เช่น นำข้อมูลส่วนตัวของผู้เสียหายไปเปิดบัญชีธนาคารทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ หรือนำชื่อของผู้เสียหายไปใช้ก่อเหตุที่จะสร้างความเสียหายอื่น ๆ ตามมาภายหลัง เป็นต้น

และในยุคดิจิทัลแบบนี้ identity theft คือ ปัญหาที่จะสร้างความเดือดร้อนให้คุณอย่างไม่คาดคิด แน่นอนว่าอย่างที่ทราบกันดีและเราก็เคยได้นำเสนอไปว่าเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตมีผลในการดำเนินชีวิตประจำวันมากขึ้น การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล หรือ identity theft คืออีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม และกลายเป็นปัญหาที่ร้ายแรงมากขึ้น เพราะการขโมยข้อมูลส่วนบุคคลคือการที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแอบอ้างตัวตนหรือทำกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย วันนี้สำนักงานกฎหมายวงศกรณ์จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกันว่า identity theft คืออะไร? และมีการป้องกันหรือวิธีการจัดการที่ถูกต้องอย่างไรบ้าง

Identity theft คืออะไร?

Identity theft คือ การขโมยตัวตน หมายถึงการที่มิจฉาชีพโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวเพื่อนำข้อมูลไปแอบอ้างหรือปลอมแปลงเป็นเจ้าของข้อมูลเพื่อหลอกลวงบุคคลอื่นให้โอนเงินหรือส่งข้อมูลส่วนบุคคลให้ โดยมีเทคนิคหลัก ๆ 2 ประการในการขโมยข้อมูลได้ ดังนี้

1. การฟิชชิ่ง (Phishing) ใช้อีเมลหรือหน้าเว็บปลอมเพื่อหลอกขอข้อมูลส่วนตัว เช่น ประวัติส่วนตัว ข้อมูลทางการเงิน หมายเลขประจำตัวประชาชน หมายเลขบัญชีธนาคาร ข้อมูลบัตรเครดิต หรือรหัสผ่าน ซึ่งมิจฉาชีพสามารถนำไปแฮ็กโซเชียลมีเดียและหลอกลวงผู้อื่นได้

2. การปลอมแปลงเว็บไซต์ (Spoof Site) ใช้เว็บไซต์ปลอมที่เชื่อมโยงกับอีเมลปลอม โดยมักปลอมเป็นเว็บไซต์ของหน่วยงานต่าง ๆ หรือสถาบันการเงินเพื่อขโมยข้อมูลทางการเงินหรือข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว เช่น เลขประจำตัวประชาชน เป็นต้น

รูปแบบของ Identity theft ในการขโมยข้อมูลส่วนบุคคล

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นทุกท่านคงจะทราบกันแล้วว่า Identity theft คืออะไร? และมีเทคนิคหลักในการโจรกรรมข้อมูลอย่างไร แต่วันนี้เราจะพาทุกท่านมาดูกันว่า identity theft ที่ว่านี้มักมีรูปแบบการขโมยข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไรบ้าง

1. ขโมยข้อมูลการเงิน

   การแอบอ้างใช้ข้อมูลบัตรเครดิต บัญชีธนาคาร หรือข้อมูลการเงินอื่น ๆ เพื่อทำการซื้อสินค้า โอนเงิน หรือทำธุรกรรมที่ผิดกฎหมาย

2. ขโมยข้อมูลสุขภาพ

   การแอบอ้างใช้ข้อมูลทางการแพทย์ เช่น หมายเลขประกันสุขภาพ หรือประวัติการรักษาพยาบาล เพื่อรับบริการทางการแพทย์หรือเรียกร้องสิทธิประโยชน์ทางการแพทย์ 

3. ขโมยข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป

   การแอบอ้างใช้ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขประจำตัวประชาชน หรือข้อมูลการสมัครงาน เพื่อสมัครงาน เปิดบัญชี หรือทำสัญญาต่าง ๆ

4. ขโมยข้อมูลออนไลน์

   การแอบอ้างใช้ข้อมูลจากโซเชียลมีเดีย หรืออีเมลเพื่อหลอกลวงผู้อื่น การฟิชชิ่ง (Phishing) เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการขโมยข้อมูลออนไลน์ โดยการส่งอีเมลปลอมที่ดูเหมือนเป็นบริษัทหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือเพื่อหลอกให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล

ผลกระทบจากการถูกขโมยข้อมูลส่วนบุคคล

Identity theft คือสิ่งที่สร้างปัญหาและความเดือดร้อนได้อย่างมาก เนื่องจากการขโมยข้อมูลส่วนบุคคลสามารถสร้างความเสียหายทั้งในด้านการเงินและชื่อเสียง ผู้เสียหายอาจต้องเผชิญกับหนี้สินที่เกิดจากการแอบอ้างใช้บัตรเครดิต หรือถูกใช้ชื่อในกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย นอกจากนี้ยังต้องใช้เวลาและความพยายามในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

How to ป้องกันการขโมยข้อมูลส่วนบุคคล

1. รักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล

   – ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลในที่สาธารณะหรือบนอินเทอร์เน็ตโดยไม่จำเป็น

   – ใช้รหัสผ่านที่มีความซับซ้อนและเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำ

   – ระมัดระวังการเก็บข้อมูลสำคัญในอุปกรณ์ที่ไม่มีความปลอดภัย

2. ตรวจสอบข้อมูลการเงินอย่างสม่ำเสมอ

   – ตรวจสอบรายการในบัญชีธนาคารและบัตรเครดิตอย่างสม่ำเสมอ

   – แจ้งธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตทันทีหากพบความผิดปกติ

3. ใช้เทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัย

   – ใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสและมัลแวร์

   – ใช้ระบบยืนยันตัวตนสองขั้นตอน (Two-Factor Authentication) ในการเข้าถึงบัญชีออนไลน์

4. ระมัดระวังการให้ข้อมูลส่วนบุคคล

   – ไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคลแก่บุคคลหรือองค์กรที่ไม่น่าเชื่อถือ

   – หลีกเลี่ยงการกรอกข้อมูลในเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือหรือไม่ได้รับการป้องกันความปลอดภัย

วิธีการจัดการเบื้องต้นเมื่อเกิดการขโมยข้อมูลส่วนบุคคล

1. แจ้งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

   – แจ้งธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตทันทีเพื่อระงับบัญชีหรือบัตรที่ได้รับผลกระทบ

   – แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค

2. ตรวจสอบและแก้ไขข้อมูล

   – ตรวจสอบรายงานเครดิตและแจ้งหน่วยงานเครดิตหากพบข้อมูลที่ผิดปกติ

   – อัปเดตข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกแอบอ้างใช้เพื่อป้องกันการขโมยข้อมูลเพิ่มเติม

3. ขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ

   – หากมีความซับซ้อนในการจัดการปัญหา ควรขอคำปรึกษาจากทนายความมืออาชีพหรือผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของข้อมูล

แต่หากท่านใดที่เกิดเหตุการณ์ identity theft หรือถูกขโมยข้อมูลส่วนบุคคล อย่ารอให้ตัวเองต้องได้รับความเสียหายไปมากกว่านี้ ควรมีทนายความเพื่อปรึกษาดีที่สุดเพราะที่สำนักงานกฎหมายวงศกรณ์เรามีความเชี่ยวชาญในการสืบหามิจฉาชีพออนไลน์หรือจัดการคดี identity theft การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล หากคุณหรือคนในครอบครัวต้องตกเป็นเหยื่อของ identity theft การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล อย่าลังเลที่จะปรึกษาทนายในเรื่องที่สำคัญกับตัวคุณแบบนี้ เราพร้อมให้คำปรึกษาและให้บริการทางกฎหมายในการดำเนินคดีเพื่อทวงคืนและสร้างความยุติธรรมให้กับคุณ