สำหรับเรื่องฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ หลายท่านที่ได้ติดตามสำนักงานกฎหมายวงศกรณ์ของเราคงจะทราบกันแล้วว่าค่าขาดประโยชน์คืออะไร ? สำคัญอย่างไร ? และทำไมเราถึงต้องฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์ รวมไปถึงคงจะทราบถึงวิธีเรียกร้องค่าขาดประโยชน์กันแล้วว่าเมื่อรถชนเกิดอุบัติเหตุ ผู้เสียหายและหรือผู้เอาประกันภัยจะต้องฟ้องเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถอย่างไร ? วันนี้ทนายอาร์มจากสำนักงานกฎหมายวงศกรณ์ของเราก็ได้นำเรื่องราวอีกมุมหนึ่งของเรื่องการฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์ที่ได้เกิดขึ้นกับผู้เสียหายท่านหนึ่งที่ได้มาปรึกษาทนายความ แต่สุดท้ายทนายยืนยันว่าไม่ทำคดีให้เด็ดขาด เรื่องราวและเหตุผลที่ไม่ทำคดีให้ผู้เสียหายท่านนี้จะเพราะอะไรมาดูกัน
ทะแนะ ! แนะจนได้เรื่องผู้เสียหายช้ำหนัก โร่มาปรึกษาทนาย
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นนั้นสืบเนื่องมาจากมีผู้เสียหายท่านหนึ่งในที่นี้ขอเรียกว่าคุณ A คุณ A ได้ทักมาปรึกษาทนายอาร์มผ่านช่องทาง Line Official ของสำนักงานกฎหมายวงศกรณ์เมื่อไม่นานมานี้ในเรื่องที่ว่าจะให้ทนายฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์ให้ และได้ปรึกษามาว่า คุณ A ได้เกิดอุบัติเหตุรถชนและรถได้รับความเสียหายหนักต้องจัดซ่อมรถเป็นระยะเวลาเกือบ 100 วัน ซึ่งคุณ A เองก็ได้รับความเดือนร้อนจากเหตุการณ์นี้เป้นอย่างมาก เนื่องจากต้องใช้รถเป็นพาหนะในการทำงาน
ต่อมาก็ได้มี “ทะแนะ” ผู้รู้ที่รู้ทุกเรื่อง แต่รู้ไม่จริงสักเรื่องได้มาแนะนำข้อมูลผิด ๆ กับคุณ A บอกว่าให้คุณ A ไปเดินเรื่องร้องเรียนได้เลยที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ซึ่งเป็นสำนักงานที่คอยควบคุมและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยอยู่ในขณะเดียวกัน ซึ่งในมุมมองของทนายอาร์มมองว่า การทำงานของธุรกิจประกันภัยกับหน่วยงานของรัฐนั้นจะมีสมาคมประกันวินาศภัย ซึ่งสมาคมประกันวินาศภัยจะการส่งรายชื่อ โดยบริษัทประกันภัยจะส่งรายชื่อเข้ามาเป็นกรรมการสมาคมฯ ดังกล่าว ซึ่งการมาเป็นกรรมการสมาคมฯ หน้าที่หลักก็คือคอยถ่วงดุลระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือคปภ.กับภาคธุรกิจนั่นเอง
แต่ถ้าสมมติว่าภาคธุรกิจมาขัดแย้งกับหน่วยงานของรัฐ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก ต่อมาจึงได้มีการสร้างสมาคมขึ้นมา ชื่อสมาคมว่า สมาคมประกันวินาศภัยไทย และสมาคมนี้ก็ได้มีการออกกฎกติกาในเรื่องของการกำหนดอัตราการจ่ายค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถมาว่า กำหนดให้ค่าขาประโยชน์ฯ วันละ 500 บาท แต่ไม่ได้ระบุว่า เพราะเหตุใดจึงกำหนดให้วันละ 500 บาท นอกจากนี้ก็ยังไม่ได้ระบุชัดเจนอีกว่าที่กำหนดมาวันละ 500 บาทนั้น กำหนดจ่ายให้ทุกวันหรือไม่อย่างไร
ทนายยืนยันหากไปหาทะแนะมาแล้ว ไม่ต้องมาหาทนาย ร้องคปภ.แล้ว ไม่รับทำคดีเด็ดขาด !
สำหรับเรื่องราวของคุณ A ที่จะให้ทนายฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์ โดยรถของคุณ A ได้จัดซ่อมไปประมาณ 90 วัน หรือเกือบ 100 วัน ซึ่งตามที่กล่าวไปคือคุณ A ดันโชคร้ายไปเจอทะแนะแล้วก็ดันหลงเชื่อทะแนะ หลังจากไปเดินเรื่องร้องคปภ. ปรากฏว่าคปภ. ไม่สามารถที่จะช่วยเหลือหรือจะบังคับให้บริษัทประกันภัยจ่ายได้ตามระยะเวลาจัดซ่อมหรือ 100 วัน แต่สามารถบังคับให้บริษัทประกันจ่ายได้วันละ 500 บาท เท่านั้น ซึ่งก็ขัดแย้งกันโดยชัดเจนว่า เพราะเหตุใดจึงสามารถบังคับให้บริษัทฯ จ่ายได้วันละ 500 บาทเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่ความเสียหายรถของคุณ A เสียหายเกินกว่านั้นกลับไม่สามารถบังคับให้บริษัทฯ จ่ายให้ผู้เสียหายได้
ต่อมาเมื่อคุณ A เห็นท่าไม่ดี เพราะได้รับความเสียหายเดือนร้อนมากกว่าเดิมหลังจากหลงเชื่อทะแนะ และคปภ.ก็ไม่สามารถช่วยเหลือได้ คุณ A จึงตัดสินใจเข้าปรึกษาทนายให้ช่วยฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์ให้ในเวลาต่อมา และหลังจากที่คุณ A ได้มาปรึกษาทนาย ทนายจึงต้องตอบอย่างจริงใจและตรงไปตรงมายืนยันทันทีว่า “ไม่สามารถดำเนินคดีให้ได้” เนื่องจากคุณ A ได้นำข้อมูลทั้งหมดที่มีไปบอกให้กับบริษัทประกันภัย และหรือนำไปบอกกับคปภ.จนหมดแล้ว และการที่คุณ A ได้ทำอย่างนั้นไม่ว่าจะข้อมูลที่ถูกบ้าง และหรือผิดบ้าง แต่หากได้นำไปบอกคปภ.จนหมดแล้ว และเมื่อเรื่องได้มาถึงมือทนายความ ก็กลับกลายเป็นว่าทนายความจะไปรวบรวมข้อมูลและหรือลำดับเหตุการรณ์ที่คุณ A เคยไปเดินเรื่องก็ไม่ส่ามารถทำได้แล้ว และหากทำได้ก็เป็นเรื่องที่ยากพอสมควร
เทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ จากทนายอาร์ม รู้ทันประกันภัยเรื่องการจัดซ่อมรถ
สำหรับกรณีของคุณ A ทำให้ได้เห็นว่าประชาชนยังขาดความรู้เกี่ยวกับเรื่องของประกันภัยพอสมควร เมื่อเกิดเหตุก็มักจะถูกเอาเปรียบได้ง่าย เพราะความ “ไม่รู้” กว่าเรื่องจะถึงมือทนายมาให้ทนายฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์ให้ ก็ถูกเอาเปรียบไปมากแล้ว วันนี้ทนายอาร์มจึงได้นำเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับเรื่องการเรียกค่าขาดประโยชน์ฯ มาฝากกัน
ยกตัวอย่าง พอรถซ่อมเสร็จประกันบอกอู่ที่ไปซ่อมซ่อมล่าช้า ทำไมถึงไม่ไปซ่อมอีกอู่หนึ่ง สมมติว่าอู่ที่คุณไปซ่อมคือเอการาจ ซ่อมล่าช้า แต่ไปซ่อมอู่บี ซึ่งเป็นอู่ในเครือของบริษัทประกัน ซ่อม 10 วันก็เสร็จแล้ว ซึ่งนี่ก็ถือว่าเป็นเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่นำมาฝากให้คิดกันเพื่อรู้ทันประกันภัย
เพราะเหตุใดจึงควรมีทนายตั้งแต่เกิดเรื่อง ?
เหตุผลที่ผู้เสียหายและหรือผู้ประสบภัยไปฟังทะแนะก่อนที่จะมาหาทนาย เพราะผู้เสียหายอาจกลัวเสียค่าทนาย แต่ถ้าหากผู้เสียหายเลือกที่จะมาปรึกษาทนายตั้งแต่เกิดเรื่อง ยืนยันเลยว่าบริษัทประกันภัยไหนที่สามารถจ่ายได้มากกว่าวันละ 500 บาท ได้ ยืนยันเลยว่าไม่มี และจริง ๆ แล้วค่าเสียหายค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ คือต้องได้เท่ากับค่าเสียหายที่รถเสียหายจริง ถ้ารถเสียหายมากกว่าวันละ 500 บาท ก็จะได้มากกว่าวันละ 500 บาท ถ้าเราซ่อมรถ 100 วัน บริษัทฯ ก็ต้องจ่าย 100 วัน ดังนั้น หากไม่อยากเสียรู้ทะแนะจนนำไปสู่การเสียรู้บริษัทประกันภัยหัวแพทย์เหมือนอย่างกรณีคุณ A ที่เสียรู้ทะแนะไปแล้ว และค่อยมาหาทนายให้ฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์ กว่าเรื่องจะถึงมือทนายก็เสียเรื่องและเสียรู้ไปแล้ว จึงเป็นที่มาที่ว่าเพราะเหตุใดจึงควรมีทนายตั้งแต่เกิดเรื่อง ย้ำ ! เมื่อรถชนปรึกษาทนายทันทีดีที่สุด >>ติดต่อเรา<<