ทำความรู้จักอาชีพทนายความให้มากขึ้นกับสำนักงานกฎหมายวงศกรณ์

ทำความรู้จักอาชีพทนายความให้มากขึ้นกับสำนักงานกฎหมายวงศกรณ์

          วันนี้สำนักงานกฎหมายวงศกรณ์จะมาพูดถึงในเรื่องของบริษัททนายความ หรือสำนักงานกฎหมายนั่นเอง ว่าแท้ที่จริงแล้วนั้นบริษัททนายความให้บริการอย่างไรบ้าง และอาชีพทนายความเป็นอย่างไร มีหน้าที่อะไรบ้าง และต้องมีคุณสมบัติอย่างไรถึงจะมาเป็นทนายความได้ สำหรับใครที่ในอนาคตต้องการมีอาชีพเป็นทนายความต้องอ่านเลย เพราะวันนี้เราได้สรุปและรวบรวมข้อมูลคร่าว ๆ เกี่ยวกับอาชีพทนายความ และบริษัททนายความมาฝากทุกคนกัน

บริษัททนายความ สำนักงานทนายความ สำนักงานกฎหมายเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?

บริษัททนายความ สำนักงานทนายความ สำนักงานกฎหมาย เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

          บริษัททนายความ  สำนักงานทนายความ หรือสำนักงานกฎหมาย คือ สถานที่สำหรับให้บริการทางด้านกฎหมายแก่ผู้มาใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไป องค์กรและหรือบริษัทขนาดเล็ก-ใหญ่ ที่ต้องการได้รับคำแนะนำ คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย หรือต้องการดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทางกฎหมาย เช่น จัดทำเอกสารเกี่ยวกับกฎหมาย โดยบริษัททนายความจะมีทนายความและทีมผู้ช่วยทนายความเป็นผู้ให้บริการทางกฎหมายแก่ผู้มาใช้บริการ โดยจะต้องให้คำปรึกษา คำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาของผู้ที่มาใช้บริการอย่างตรงจุด และให้ผู้มาใช้บริการรู้สึกว่าได้รับประโยชน์จากการที่มาปรึกษาทนาย ซึ่งบริษัททนายความบริษัทหนึ่งสามารถมีทนายความได้หลายคน และทนายความแต่ละคนอาจมีประสบการณ์ ความถนัด หรือความสามารถทางกฎหมายที่แตกต่างกันได้ เพื่อให้คำปรึกษาความเข้าใจอย่างตรงปัญหาของผู้มาใช้บริการมากที่สุด นอกจากนี้ยังเพื่อให้ผู้มาใช้บริการได้รับความเชื่อมั่นและเชื่อถือในตัวทนายความอย่างมากที่สุดด้วย

คุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็นทนายความ

          สำหรับใครที่สนใจและต้องการจะประกอบอาชีพทนายความในอนาคต ต้องอ่านหัวข้อนี้เลย ว่าการจะเป็นทนายความได้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง เพื่อการเตรียมตัวที่ดีในการที่จะประกอบอาชีพนี้ในอนาคต

  • ต้องมีสัญชาติไทย
  • ต้องสำเร็จการศึกษาระดับชั้นปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์หรืออนุปริญญาจากสถาบันที่สภาทนายความให้การรับรองอนุมัติ
  • ต้องเป็นบุคคลที่มีการขอจดทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นทนายความจากสภาทนายความอย่างถูกต้อง
  • ต้องเป็นบุคคลที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ยื่นขอจดทะเบียนและได้รับใบอนุญาต
  • ต้องไม่เป็นผู้ที่อยู่ระวางมีโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด และหรือต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
  • ต้องไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสื่อมเสียในศีลธรรมหรือมีความบกพร่องในการทำผิดศีลธรรมอันดี อีกทั้งยังต้องเป็นผู้ที่ไม่มีความประพฤติหรือการกระทำใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าไม่ซื่อสัตย์สุจริต
  • ต้องเป็นผู้ที่ไม่มีโรคติดต่อซึ่งเป็นที่รังเกียจของสังคม
  • ต้องไม่เป็นผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย ความพิการ หรือมีความบกพร่องทางด้านจิตใจอันเป็นผลไปสู่ความบกพร่องในสมรรถภาพในการประกอบอาชีพ
  • ต้องไม่เป็นบุคคลที่มีตำแหน่งทางราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีเงินเดือนและตำแหน่งประจำ
  • ต้องมีความซื่อตรงซื่อสัตย์ต่อลูกความ ผู้ร่วมงาน องค์กร บริษัท และมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง

ลักษณะงานของทนายความ

          ใครที่อยากเป็นทนายความในอนาคตต้องรู้เลยว่าลักษณะการทำงานของทนายความในแต่ละวันนั้นต้องทำอะไรบ้าง วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกัน

  • ให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่มาใช้บริการทางกฎหมายกับบริษัททนายความที่เราทำงานประจำอยู่
  • จัดทำเอกสารเกี่ยวกับกฎหมาย ซึ่งในบางบริษัททนายความทนายความส่วนใหญ่อาจไม่ต้องทำเอกสารเอง เนื่องจากจะมีผู้ช่วยทนายความหรือที่เรียกว่าเสมียนทนายความทำให้อยู่แล้ว
  • มีหน้าที่ในการดำเนินกระบวนการทางกฎหมาย ว่าความ และดำเนินกระบวนการพิจารณาใด ๆ ในศาลแทนคู่ความทั้งคดีแพ่งและหรืออาญา
  • สร้างความเป็นธรรมและรักษาผลประโยชน์ให้กับบุคคลหรือองค์กรที่รับเป็นทนายความให้
  • นอกจากนี้ในบางครั้งทนายความยังมีหน้าที่ในการเป็นคนกลางไกลเกลี่ยความขัดแย้งในด้านผลประโยชน์ด้วย

สถานที่ทำงานของทนายความ

          ส่วนใหญ่แล้วสถานที่ทำงานของทนายความจะเป็นลักษณะออฟฟิศอย่างบริษัททนายความ หรือสำนักงานกฎหมาย ก็จะเป็นบริษัททนายความมีออฟฟิศที่มีสิ่งแวดล้อมพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการทำงานของทนาย บริษัททนายความจะมีความคล้ายคลึงกับออฟฟิศทั่ว ๆ ไป แต่อาจมีความแตกต่างเล็กน้อยตรงที่โต๊ะของทนายความอาจต้องใช้พื้นที่มากพอสมควรสำหรับการวางเอกสารต่าง ๆ และนอกจากนี้ทนายความยังต้องมีการออกไปติดต่อประสานงานนอกสถานที่อย่างเช่น ศาล สถานีตำรวจ รวมไปถึงสถานที่อื่น ๆ อีกด้วย โดยการทำงานในหนึ่งสัปดาห์ของทนายความนั้นอาจมีการทำงานมากกว่า 40 ชั่วโมงก็เป็นได้ เนื่องจากต้องปฏิบัติงานให้ได้ตามที่ได้รับมอบหมายและต้องอยู่ในขอบเขตเวลา นอกจากนี้ยังอาจมีการใช้วันหยุดอย่างวันเสาร์-อาทิตย์เป็นวันทำงานหรือต้องเข้าบริษัททนายความด้วยเช่นกัน เรียกได้ว่าบางสัปดาห์ทนายความอาจไม่มีวันหยุดเลยก็ว่าได้ สำหรับอาชีพนี้เป็นอาชีพที่ต้องทุ่มเทและเสียสละเวลาส่วนตัวมากจริง ๆ

          อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นนั้น หากใครที่สนใจในอาชีพทนายความก็อย่าลืมศึกษาคุณสมบัติข้างต้นของทนายความไว้ เพื่อเป็นการเริ่มต้นเตรียมตัวที่จะเป็นทนายความในอนาคต และที่สำคัญเกี่ยวกับอาชีพนี้ก็คือ นอกจากจะต้องมีความฝัน มีใจรักในอาชีพนี้แล้ว ต้องรู้ไว้เลยว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่จะต้องมีความอดทน ความเสียสละและทุ่มเทอย่างมาก ดังนั้น หากสามารถทำได้ตามที่กล่าวไปนี้ก็จะสามารถเป็นทนายในบริษัททนายความได้อย่างประสบความสำเร็จแน่นอน