สำหรับคำว่า “ค่าเสียหายทางแพ่ง” หลายคนคงเคยได้ยินคำนี้ แต่อาจจะยังไม่เข้าใจว่า ค่าเสียหายทางแพ่งนี้คืออะไร คือค่าเสียหายแบบใดบ้าง และค่าเสียหายทางแพ่งนี้สามารถเรียกได้อย่างไร และเรียกค่าเสียหายอะไรได้บ้าง วันนี้สำนักงานกฎหมายวงศกรณ์จะมาไขข้อข้องใจและให้ความรู้กันในแบบฉบับที่เข้าใจง่ายอีกตามเคยในเรื่องของค่าเสียหายทางแพ่ง
ทำความรู้จักค่าเสียหายทางแพ่งคืออะไร ?
ค่าเสียหายทางแพ่ง ก็คือค่าเสียหายในคดีแพ่งนั่นเอง ส่วนคดีแพ่งนั้นก็คือ คดีที่มีการโต้แย้งสิทธิ หรือหน้าที่กันเกิดขึ้นของบุคคลตามกฎหมายแพ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องส่วนตัวของบุคคล 2 ฝ่าย ที่มีการผิดสัญญากัน หรือต้องการโต้แย้งสิทธิหน้าที่กัน หรือเป็นคดีที่มีการร้องขอต่อศาลให้รับรองสิทธิบางอย่างให้ เช่น การขอให้อีกฝ่ายชดใช้เงิน คืนของ หรือจ่ายค่าเสียหายต่าง ๆ หรือต้องการให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง รวมไปถึงการฟ้องร้องให้ผู้กู้ชำระเงินตามสัญญากู้ หรือการฟ้องเรียกให้ผู้ละเมิดชดใช้ค่าเสียหายให้
ค่าเสียหายทางแพ่ง มีอะไรบ้าง และเรียกอะไรได้บ้าง ?
ค่าเสียหายทางแพ่ง มีอะไรบ้าง และหรือสามารถเรียกอะไรได้บ้าง คำตอบคือ ค่าเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับตามความเสียหายข้างต้นที่ได้ยกตัวอย่างมานั่นเอง โดยหากผู้เสียหายได้รับความเสียหายเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็สามารถเรียกค่าเสียหายทางแพ่งได้ทุกอย่างตามความเสียหายที่แท้จริง
ซึ่งสำหรับค่าเสียหายทางแพ่งนี้ หลายคนอาจไม่คุ้นหูกับคำนี้สักเท่าไร เนื่องจากโดยปกติแล้วค่าเสียหายทางแพ่งจะถูกเรียกว่า “ค่าสินไหมทดแทน” นั่นเอง ซึ่งก็คือการเรียกค่าเสียหายทดแทนเงินและหรือทดแทนค่าเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับตามความเสียหายในเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมด
ยกตัวอย่างเช่น
รถชนได้รับบาดเจ็บ รถชนได้รับความเสียหาย รถชนบาดเจ็บสาหัส ต้องตกเป็นบุคคลทุพพลภาพถาวร รถยนต์ได้รับความเสียหาย ไม่มีรถใช้หลายเดือน และหรือได้รับบาดเจ็บจนไม่สามารถทำงานประกอบอาชีพได้ ฯลฯ สำหรับความเสียหายต่าง ๆ นานาที่ผู้เสียหายได้รับมานั้น ในส่วนเหล่านี้ ผู้เสียหายสามารถเรียกค่าเสียหายทางแพ่งและหรือค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย และหรือคู่กรณีได้ และจากที่กล่าวไปสำหรับกรณีที่รถชนจนไรถได้รับความเสียหายหนัก ต้องเข้าจัดซ่อมที่ศูนย์นานหลายเดือน เป็นเหตุให้ผู้เสียหายไม่มีรถใช้ในการประกอบอาชีพหรือใช้ประโยชน์จากรถได้ ในส่วนตรงนี้ผู้เสียหายก็สามารถเรียกค่าเสียหายทางแพ่งในส่วนของค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ และหรือค่าเสียโอกาสในการใช้รถ ได้นั่นเอง เพราะถือว่าเป็นค่าเสียหายทางแพ่งด้วย นอกจากนี้ค่าซ่อมรถต่าง ๆ ก็ถือว่าเป็นค่าเสียหายทางแพ่งเช่นกัน มาถึงตรงนี้หลายท่านที่ได้อ่านคงจะมองเห็นภาพของค่าเสียหายทางแพ่งกันมาบ้างแล้ว เพราะค่าเสียหายทางแพ่งในแบบฉบับเข้าใจได้ง่าย ก็คือ ค่าสินไหมทดแทนนั่นเอง
ในอีกประเด็นหนึ่งที่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าในกรณีแบบนี้ก็สามารถเรียกค่าเสียหายทางแพ่งได้ นั่นก็คือในกรณีที่มีผู้เสียชีวิตนั่นเอง หลายคนก็อาจจะสงสัยว่าในเมื่อเป็นกรณีที่มีผู้เสียชีวิตจะสามารถเรียกคาเสียหายทางแพ่งได้หรือ ซึ่งแน่นอนว่าต้องเป็นคดีอาญา โดยเราจะสามารถเรียกค่าเสียหายในค่าเสียหายส่วนนี้ได้ ก็คือต้องนำมาฟ้องในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา จึงสามารถเรียกค่าเสียหายทางแพ่งได้ อาทิ
-ค่าทำศพ
-เงินค่าเสียโอกาสในการทำงานของผู้เสียชีวิต
-ค่าอุปการะเลี้ยงดู หากผู้เสียชีวิตมีภรรยาและลูกและหรือครอบครัวที่ต้องดูแล เป็นต้น
ค่าเสียหายต่าง ๆ ตามตัวอย่างเหล่านี้คือค่าเสียหายทางแพ่งที่สามารถเรียกได้นั่นเอง
จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นสำหรับเรื่องค่าเสียหายทางแพ่งนั้น สรุปใจความอย่างอธิบายเข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ค่าเสียหายทางแพ่ง = ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริง สามารถคิดคำนวณออกมาเป็นตัวเลขได้ และที่สำคัญคือจะต้องสามารถสืบให้ศาลมท่านเห็นและเข้าใจอย่างชัดเจนว่าค่าต่าง ๆ เหล่านั้นคือค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และเมื่อสามารถสืบให้ศาลท่านเห็นได้อย่างชัดเจนอย่างตรงไหนตรงมาแล้ว ศาลท่านก็จะพิจารณาและตัดสินให้ตามค่าเสียหายทางแพ่งที่ผู้เสียหายได้ขอไปนั่นเอง
และไม่ว่าคดีใดเรื่องใด คดีแพ่ง คดีอาญา และหรือคดีความอื่น ๆ รวมไปถึงบริการทางกฎหมายอื่น ๆ อาทิ ประกันตัวเร่งด่วน , ปรึกษากฎหมายในเรื่องต่าง ๆ คดีประกันภัยรถยนต์ , เมาแล้วขับถูกนับผลแอลกอฮอล์ย้อนหลัง และหรือความเดือดเนื้อร้อนใจอื่น ๆ อย่ารอให้ถูกเอาเปรียบหรือรอให้ความเสียหายที่ได้รับเสียหายไปมากกว่าเดิม เดินเรื่องตั้งแต่แรกให้ถูกจุดคือสิ่งสำคัญ อย่าหลงไปเจอทะแนะ ก่อนเจอทนาย สามารถมีทนายได้ตั้งแต่เกิดเรื่องโดยไม่ต้องลังเล เพราะหากว่ามัวแต่ลังเล ความเสียหายหรือเรื่องเดือดร้อนก็บานปลายไปใหญ่แล้ว ปรึกษากฎหมายได้ที่ >>สำนักงานกฎหมายวงศกรณ์<<