สำหรับกรณีเมาแล้วขับที่บริษัทประกันภัยมักใช้กลยุทธ์เด็ด “นับผลแอลกอฮอล์ย้อนหลัง” มาเอาเปรียบประชาชนผู้บริโภค และสำหรับปี 2567 นี้ราชกิจจานุเบกษาก็ได้ออกประกาศแพทยสภาล่าสุดฉบับที่ 25/2567 เรื่องแนวทางการพิจารณาการคำนวณย้อนกลับเพื่อหาระดับแอลกอฮอล์ในเลือด ประจำวันที่ 24 เมษายน 2567 ที่ผ่านมาล่าสุดนี้ ซึ่งหลังจากที่ประกาศฉบับนี้ได้ออกมาก็ส่งผลให้ประชาชนไม่น้อยเกิดความเคลือบแคลงสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้
วันนี้ทนายอาร์มและสำนักงานกฎหมายวงศกรณ์จะพาทุกท่านมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องประกาศราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้กันกับกรณีเมาแล้วขับว่าเป็นกฎหมายใหม่หรืออย่างไรกันแน่ วันนี้มีคำตอบ
ประชาชนเข้าใจผิดสนั่น ประกาศราชกิจจานุเบกษาแพทยสภาล่าสุด เป็นกฎหมายใหม่หรือไม่ ?
การประกาศราชกิจจานุเบกษาของแพทยสภาที่มีการออกมาฉบับล่าสุดนั้นเป็นเหตุให้ประชาชนจำนวนไม่น้อยสงสัยว่าประกาศฉบับดังกล่าวมีนัยแอบแฝงเพื่อให้ประชาชนเข้าใจผิดหรือไม่ คำว่า “แนวทางการพิจารณาการคำนวณย้อนกลับเพื่อหาระดับแอลกอฮอล์ในเลือด” เป็นตำราวิชาการทางการแพทย์ที่มีสูตรและวิธีการคำนวณ
โดยสำนักงานกฎหมายวงศกรณ์ได้รับคดีที่ผู้เสียหายได้รับความเดือดร้อนจากบริษัทประกันภัยคือคดีเมาแล้วขับ ซึ่งเหล่าผู้เสียหายได้ถูกบริษัทใช้เล่ห์เลี่ยมอาศัยเหตุว่า กรณีเมาแล้วขับขณะขับขี่ผู้ประสบภัยมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
ซึ่งถ้าหากตีความตามกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 9.3 ได้บอกไว้ว่าการขับขี่โดยบุคคลซึ่งในขณะขับขี่ให้ถือว่าเมาสุรา ใช้คำว่า “ขณะขับขี่ ให้ถือว่าเมาสุรา” หรือของมึนเมาอย่างอื่นตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ซึ่งก็หมายความว่า ขณะขับขี่แล้วเกิดเหตุ ผู้ขับขี่มีแอลกอฮอล์เกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ บริษัทฯ ไม่จ่าย บริษัทฯ จึงใช้วิธีและหรือเทคนิคที่ว่า ขณะขับขี่ให้ถือว่าเมาสุรา
ยกตัวอย่าง : หากคุณเกิดเหตุเวลา 21.00 น. หมายความว่าคุณขับรถก่อน 21.00 น. และแสดงว่าคุณดื่มแอลกอฮอล์ก่อน 21.00 น. คุณถึงมาเกิดอุบัติเหตุ ถ้ากรณีเกิดอุบัติเหตุในความเป็นจริงเมาแล้วขับไม่สามารถเป่าวัดแอลกอฮอล์ได้ทันที และหรือตรวจเลือดได้ทันที บริษัทประกันก็ได้อาศัยช่องว่าตรงนี้มาใช้กลยุทธ์หัวแพทย์ใส่ผู้ประสบภัย เพราะกว่าพนักงานสอบสวนจะมาที่เกิดเหตุ อีกทั้งกว่าเจ้าหน้าที่ประกันภัยจะมาที่เกิดเหตุ ในความเป็นจริงแล้วนั้นเพียงแค่บริษัทประกันภัยมาที่เกิดเหตุ ช้าไป 1 ชั่วโมง บริษัทฯ ก็ได้ฟรีไปแล้ว 15 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
แพทยสภาเป็นเครื่องมือให้กับบริษัทประกันภัยทำให้ประชาชนเข้าใจผิดหรือไม่ ?
จากกรณีประกาศราชกิจจานุเบกษาแพทยสภาดังกล่าว ผู้ประสบภัยหรือประชาชนจะเกิดความเข้าผิดคิดว่าประกาศราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้เป็น “กฎหมาย” แต่ในท่อนที่ว่า โดยพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรมกำหนดวัตถุประสงค์ให้แพทยสภาเผยแพร่เรื่องเกี่ยวกับการแพทย์ เพราะฉะนั้นราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้จึงถือว่า ไม่ใช่กฎหมายใช้บังคับนับแอลกอฮอล์ย้อนหลังอย่างแน่นอน
เตือน ! ก่อนเข้าใจผิด แพทยสภาประกาศราชกิจจานุเบกษา ท.อาร์มยืนยันไม่ใช่กฎหมายใหม่ !
ผู้ประสบภัยอย่าเข้าใจผิด หลงประเด็น หรือหลงกลในการต่อสู้ว่าประกาศราชกิจจานุเบกษาฉบับดังกล่าวคือกฎหมายใหม่ ไม่แม้แต่ประชาชนที่เข้าใจผิด แต่ยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ได้ต่อสายเข้ามาสอบถามทนายอาร์มของเรา เข้าใจว่านี่คือกฎหมายใหม่ ทางทนายอาร์มจึงบอกไปว่าไม่ใช่ เพราะหากเป็นกฎหมายต้องเขียนระบุในพระราชบัญญัติที่ตราอย่างถูกต้องออกมาว่า ใครเมาแล้วขับเกิดเหตุแล้วนับย้อนหลังทุกคน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
แต่ในความเป็นจริงสามารถทำได้ยาก เพราะเราไม่สามารถคิดได้ว่าคนไหนมีปริมาณลดลง 15 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ อีกทั้งเรื่องแนวทางการพิจารณาการคำนวณย้อนกลับเพื่อหาระดับแอลกอฮอล์ในเลือด มีวิธีการคำนวณ เหมือนกับสมการ อธิบายง่าย ๆ คือ นึกถึงว่าการหาพื้นที่ตารางเมตร คุณต้องใช้สูตร กว้างXยาว ก็เช่นเดียวกัน การคำนวณหาปริมาณแอลกอฮอล์ก็มีสมการ วิธีการคำนวณแอลกอฮอล์ย้อนหลังหมายถึงว่าคุณต้องมีข้อมูลเบื้องต้น และคุณต้องรู้รายละเอียดทั้งหมด คุณถึงคำนวณย้อนหลังได้ แต่อย่างกรณีราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้ชาวบ้านและประชาชนอาจเข้าใจผิดได้ว่าคือกฎหมายให้นับย้อนหลัง วันนี้ทนายอาร์มจากสำนักงานกฎหมายวงศกรณ์จึงยืนยันว่าไม่ใช่กฎหมายใหม่ เป็นเพียงแนวทางทางการแพทย์ หากจะนำมานับย้อนหลังจริง เพราะเหตุใดประกันภัยถึงไม่เขียนระบุในกรมธรรม์เลยว่า เกิดเหตุแล้วประกันจะคำนวณแอลกอฮอล์ย้อนหลัง ประชาชนจึงได้ไม่ต้องตีความเอาเองว่า หากไม่สามารถตรวจวัดแอลกอฮอล์ขณะเกิดเหตุได้ บริษัทฯ จะใช้วิธีการคำนวณย้อนหลัง 15 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ การกระทำแบบนี้ของบริษัทญ จึงเรียกว่าหัวแพทย์
เมาแล้วขับ ถูกนับผลแอลฯ ย้อนหลัง ใครอยากรู้หลักการคำนวณปริมาณแอลฯ ที่ถูกต้อง รีบปรึกษาทนายทันที !
วิธีการคำนวณแอลกอฮอล์ย้อนหลังคือคุณรู้ได้อย่างไรว่าว่าคนที่เมาแล้วขับ เมาสูงสุดที่เท่าไหร่ เช่น บางคนเมาแล้วขับ มีปริมาณสูงสุดเพียง 48 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่ประกันภัยมานับย้อนหลัง 15 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ไปเพิ่มปริมาณแอลกอฮอล์ให้เขา เท่ากับว่า 15+48 = 63 หมายความว่าเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ทั้งที่จริงๆ ผู้ขับขี่ที่ว่าเขาเมาแล้วขับอาจจะไม่ถึงเลยก็ได้ หากบริษัทฯ ทำแบบนี้นำประกาศมาใช้หัวแพทย์กับประชาชน ทนายอาร์มขอยืนยันตรงนี้เลยว่า ไม่ใช่กฎหมาย ประกาศฉบับนี้เพียงให้แค่ทุกคนรับทราบเท่านั้น
และสำหรับผู้ประสบภัยท่านใดเจอกรณีเมาแล้วขับถูกนับผลแอลกอฮอล์ย้อนหลัง หากอยากรู้ว่าวิธีการคำนวณแอลกอฮอล์ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร รีบปรึกษาทนายตั้งแต่เกิดเหตุได้ทันที >>ติดต่อเรา<<