ตามกฎหมายแล้ว คดีเมาแล้วขับ นับเป็นคดีความผิดทางอาญา ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 160 ตรี เดิมระบุโทษเอาไว้ว่า “ผู้ที่มีความผิดจะต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ” และศาลสามารถสั่งพักการใช้ใบขับขี่ได้ขั้นต่ำ 6 เดือน หรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ได้ทันที แต่ในปัจจุบันได้มีการกำหนดเพิ่มโทษฉบับใหม่ขึ้นมา เพื่อเน้นการลงโทษผู้กระทำผิดซ้ำ
ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเท่าไหร่ถึงเรียกว่าเมาแล้วขับ
ในกฎกระทรวงฉบับเก่าได้ให้เขียนไว้ว่า หากผู้ขับขี่มีแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ถือว่าเมาแล้วขับตามกฎกระทรวงฉบับที่ 16 พ.ศ.2537 ออกความใน พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ข้อ 3
เนื่องจากในปัจจุบันนี้กฎหมายเมาแล้วขับได้มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาความกฎหมาย และมีการเพิ่มเติมรายละเอียดอื่น ๆ ลงไปจากเดิม ก็คือผู้ขับขี่ใน 4 กรณีดังต่อไปนี้ หากมีแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ถือว่าเมาแล้วขับ โดยผู้ขับขี่ทั้ง 4 กรณีมีดังนี้
– ผู้ขับขี่ที่อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
– ผู้ขับขี่ที่ยังใช้ใบขับขี่ชั่วคราวอยู่ (ใบขับขี่แบบ 2 ปี)
– ผู้ขับขี่ทีมีใบขับขี่ประเภทอื่นซึ่งใช้ทดแทนกันไม่ได้
– ผู้ขับขี่ที่ถูกยกเลิก หรือถูกสั่งให้อยู่ระหว่างการพักใช้งานใบขับขี่
กฎหมายเมาแล้วขับปี 2567 มีโทษทางกฎหมายอะไรบ้าง
บทโทษทางกฎหมายเมาแล้วขับนั้นคือต้องเสียค่าปรับตามกฎหมาย หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งกรณีของการลงโทษเมาแล้วขับ จะแบ่งได้ตามความหนักหน่วงการกระทำ ได้แก่ กรณีที่เมาแล้วขับถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกตรวจสอบแอลกอฮอล์ในเลือด กับกรณีที่เมาแล้วขับจนทำให้เกิดอุบัติเหตุทำผู้อื่นบาดเจ็บ หรือถึงขั้นเสียชีวิต โดยทั้ง 2 กรณีเมาแล้วจับ โทษทางกฎหมายจะแตกต่างกันออกไปดังนี้
ค่าปรับกรณีเมาแล้วขับเพิ่มโทษผู้กระทำผิดซ้ำ
กรณีเมาแล้วฝ่าฝืนขับขี่ยานพาหนะ หากถูกเจ้าหน้าที่ทำการเรียกตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์จะแบ่งออกเป็น 2 กรณีดังนี้คือ ทำความผิดครั้งแรก กับ ทำความผิดซ้ำภายใน 2 ปี
ทำความผิดครั้งแรก – มีโทษปรับ 10,000 – 20,000 บาท จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และจะถูกสั่งพักการใช้งานใบขับขี่ขั้นต่ำอย่างน้อย 6 เดือน หรืออาจถูกยกเลิกใบขับขี่ได้
ทำความผิดซ้ำภายใน 2 ปี (นับแต่วันที่กระทำความผิดครั้งแรก) – มีโทษปรับ 50,000 – 100,000 บาท จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และจะถูกสั่งพักการใช้งานใบขับขี่ขั้นต่ำ 1 ปี หรืออาจถูกยกเลิกใบขับขี่ได้
ค่าปรับเมาแล้วขับไปเกิดอุบัติเหตุทำผู้อื่นบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต
โทษเมาแล้วขับทางกฎหมายเมื่อทำให้เกิดอุบัติเหตุจนผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ หรือถึงขั้นเสียชีวิต จะรุนแรงขึ้นมาอีกระดับหนึ่งดังนี้
– เมาแล้วขับทำให้คู่กรณีบาดเจ็บ มีโทษปรับ 20,000-100,000 บาท จำคุกไม่เกิน 1-5 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และจะถูกสั่งพักการใช้ใชงานใบขับขี่ขั้นต่ำ 1 ปี หรือถูกยกเลิกใบขับขี่
– เมาแล้วขับทำให้คู่กรณีบาดเจ็บสาหัส มีโทษปรับ 40,000-120,000 บาท จำคุกไม่เกิน 2-6 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และจะถูกสั่งพักการใช้ใชงานใบขับขี่ขั้นต่ำ 2 ปี หรือถูกยกเลิกใบขับขี่
– เมาแล้วขับทำให้คู่กรณีเสียชีวิต มีโทษปรับ 60,000-200,000 บาท จำคุกไม่เกิน 3-10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกยกเลิกใบขับขี่ทันที
ความผิดฐานเมาแล้วขับจนเป็นเหตุทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
กรณีเมาแล้วขับจนทำให้คู่กรณีเกิดการบาดเจ็บสาหัส ทางประมวลกฎหมายอาญาได้มีกำหนดขั้นต้นไว้ทั้งหมด 8 ประการ เพื่อเป็นข้อบ่งชี้ชัดเจนว่าถ้ามีกรณีนี้เกิดขึ้น ถือว่าเป็นอันตราสาหัส
– หูหนวก ตาบอด ลิ้นขาดหรือเสียปราสาทรับกลิ่น
– เสียอวัยวะการสืบพันธุ์หรือเสียความสามารถในการสืบพันธุ์
– เสียขา แขน เท้า มือ หรือนิ้ว รวมถึงการเสียอวัยวะอื่น ๆ
– หน้าเสียโฉม ทำให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างชัดเจน
– กรณีที่เกิดอุบัติเหตุรุนแรงจนทำให้แท้งลูก
– ส่งผลให้คู่กรณีเกิดโรคทางจิตจนไม่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้
– ทุพพลภาพ หรือมีการเจ็บป่วยเรื้อรังที่อาจเป็นได้ตลอดชีวิต (จากแพทย์วินิจฉัย)
– ทุพพลภาพ หรือทนทุกข์ทรมานเกิน 20 วัน หรือทำกิจกรรมทั่วไปในชีวิตประจำวันไม่ได้เกิน 20 วัน
ปริมาณแอลกอฮฮล์ในเลือดเกินกฎหมายกำหนด จะถูกจับเลยหรือไม่?
เมื่อถูกเป่าแอลกอฮอล์แล้วมีปริมาณแอลกอฮอล์เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด หากผู้ขับขี่อายุไม่เกิน 18 ปีจะมีโทษปรับ หรือรอลงอาญา หรืออาจใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา แต่ทั้งนี้เยาวชนผู้ขับขี่จะต้องไม่มีประวัติกระทำความผิด ส่วนกรณีผู้ที่มีอายุเกิน 18 ปี หากขับขี่ในขณะที่เมาสุราเจ้าพนักงานสามารถควบคุมตัวผู้ขับขี่ได้ทันที และมีอำนาจควบคุมตัวได้เป็นเวลา 48.ชม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ จากนั้นจะทำการส่งฟ้องภายใน 48 ชม. โดยมีโทษปรับ หรือรอลงอาญา หรืออาจทั้งจำทั้งปรับ ขึ้นอยู่กับว่าหากเมาแล้วขับจนเกิดอุบัติเหตุนั้นมีผู้เสียหาย ผู้บาดเจ็บ หรือผู้เสียชีวิตหรือไม่
สามารถปฏิเสธการเป่าได้หรือเปล่า?
หากว่ากันไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแล้ว คุณมีสิทธิ์ในร่างกายของคุณสามารถปฏิเสธการเป่าแอลกอฮอล์ได้ แต่หากคุณเข้าด่านตรวจหรือเจ้าพนักงานมองเห็นถึงความผิดปกติเจ้าพนักงานก็มีสิทธิ์ตามกระบวนกฎหมายในการปฏิบัติหน้าที่ขอตรวจระดับแอลกอฮอล์ หรือสิ่งของมึนเมาอย่างอื่นได้ ซึ่งถ้าคุณปฏิเสธไม่ทำการเป่าพนักงานเจ้าหน้าที่อาจมองได้ว่าคุณขัดขืนคำสั่งของพนักงาน อาจโดนตั้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานได้ และนอกจากนั้นอาจมองได้ว่าคุณมีปริมาณแอลกอฮอล์เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือขับขี่รถในขณะเมาสุรา เพราะถ้าหากมั่นใจว่าปริมาณแอลกอฮอล์ของคุณนั้นไม่เกินแนะนำให้ทำการเป่าเพื่อสามารถนำไปเป็นข้อต่อสู้ในทางกฎหมายได้
อย่างไรก็ตาม การดื่มแล้วขับยวดยานพาหนะก็เป็นสิ่งที่ไม่สมควรกระทำเพราะเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และยังอาจเกิดอุบัติเหตุต่อตนเองหรือผู้อื่นได้ แต่หากท่านใดเกิดเหตุต้องเจอกับปัญหาการเมาแล้วขับ ไม่ว่าจะเป็นเหตุเล็กน้อยหรือถึงขั้นเกิดอุบัติเหตุแนะนำให้มีทนายไว้คอยปรึกษาจะดีที่สุดค่ะ สำนักงานทนายความวงศกรณ์ เรามีทีมทนายความที่เชี่ยวชาญ ติดต่อเรา