กฎหมายเมาแล้วขับฉบับใหม่ เพิ่มโทษหนักลงโทษผู้กระทำผิดซ้ำ!

Cover กฎหมายเมาแล้วขับฉบับใหม่-1

ในช่วงเทศกาลของทุกปีมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุจากการ เมาแล้วขับ จำนวนเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ จากสถิติในปี 2566 ช่วง 7 วันอันตรายมียอดอุบัติเหตุจากเมาแล้วขับจำนวน 8,575 คดี คิดเป็นร้อยละ 96.69 ซึ่งจังหวัดที่มีคดีขับรถในขณะเมาสุราสูงสุดคือ กรุงเทพมหานครฯ จำนวน 530 คดี (ข้อมูลจากสำนักงานคุมประพฤติ) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีจึงมีการกำหนดอัตราโทษเมาแล้วขับโดยเพิ่มบทลงโทษสำหรับผู้ที่กระทำผิดซ้ำ เพื่อลดจำนวนอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับจึงมีการปรับบทลงโทษกฎหมายเมาแล้วขับฉบับใหม่ปี 2567 ซึ่งมีการปรับปรุงเนื้อหาบางส่วนเล็กน้อยในเนื้อหาบทลงโทษ

Cover กฎหมายเมาแล้วขับฉบับใหม่ 2

โทษเมาแล้วขับปี 2567 เพิ่มโทษหนักกว่าเดิม

โดยกฎหมายฉบับเดิมนั้นหากผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะถือว่าเมาสุรา มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ศาลยังมีอำนาจสามารถสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ได้ 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ แต่ในกฎหมายฉบับใหม่ปี 2567 นั้นโทษของเมาแล้วขับจะแบ่งออกเป็น 2 กรณีดังนี้

เมาแล้วขับครั้งแรก – โทษปรับ 10,000 – 20,000 บาท จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และจะถูกสั่งพักการใช้งานใบขับขี่อย่างน้อย 6 เดือน หรืออาจถูกยกเลิกใบขับขี่

เมาแล้วขับครั้งที่ 2 (กระทำผิดซ้ำภายในระยะเวลา 2 ปีนับตั้งแต่กระทำความผิดครั้งแรก) – โทษปรับ 50,000 – 100,000 บาท จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และจะถูกสั่งพักการใช้งานใบขับขี่ขั้นต่ำ 1 ปี หรืออาจถูกยกเลิกใบขับขี่

Cover กฎหมายเมาแล้วขับฉบับใหม่ 3

โทษของเมาแล้วขับกรณีเกิดอุบัติเหตุ


หากในกรณีที่ผู้ขับขี่ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ได้ทำการขับขี่ยานพาหนะแล้วเกิดอุบัติเหตุจนผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ หรือถึงขั้นเสียชีวิต จะมีการแบ่งโทษออกไปตามแต่ความรุนแรงของอุบัติที่เกิด โดยแบ่งโทษออกเป็น 3 ระดับดังนี้

– เมาแล้วขับทำให้คู่กรณีบาดเจ็บ มีโทษปรับ 20,000-100,000 บาท จำคุกไม่เกิน 1-5 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และจะถูกสั่งพักการใช้ใชงานใบขับขี่ขั้นต่ำ 1 ปี หรือถูกยกเลิกใบขับขี่

– เมาแล้วขับทำให้คู่กรณีบาดเจ็บสาหัส มีโทษปรับ 40,000-120,000 บาท จำคุกไม่เกิน 2-6 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และจะถูกสั่งพักการใช้ใชงานใบขับขี่ขั้นต่ำ 2 ปี หรือถูกยกเลิกใบขับขี่

– เมาแล้วขับทำให้คู่กรณีเสียชีวิต มีโทษปรับ 60,000-200,000 บาท จำคุกไม่เกิน 3-10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกยกเลิกใบขับขี่ทันที

ความผิดฐานเมาแล้วขับจนเป็นเหตุทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส 

ในกรณีเมาแล้วขับจนเกิดอุบัติทำให้คู่กรณีเกิดการบาดเจ็บสาหัส หรือต้องสูญเสียอวัยวะ ประมวลกฎหมายอาญาได้มีกำหนดขั้นต้นไว้ทั้งหมด 8 ประการ เพื่อเป็นข้อบ่งชี้ชัดเจนว่าถ้ามีกรณีนี้เกิดขึ้น ถือว่าเป็นอันตรายสาหัส 

– หูหนวก ตาบอด ลิ้นขาดหรือเสียปราสาทรับกลิ่น 

– เสียอวัยวะการสืบพันธุ์หรือเสียความสามารถในการสืบพันธุ์ 

– เสียขา แขน เท้า มือ หรือนิ้ว รวมถึงการเสียอวัยวะอื่น ๆ 

– หน้าเสียโฉม ทำให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างชัดเจน 

– กรณีที่เกิดอุบัติเหตุรุนแรงจนทำให้แท้งลูก 

– ส่งผลให้คู่กรณีเกิดโรคทางจิตจนไม่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ 

– ทุพพลภาพ หรือมีการเจ็บป่วยเรื้อรังที่อาจเป็นได้ตลอดชีวิต (จากแพทย์วินิจฉัย)

– ทุพพลภาพ หรือทนทุกข์ทรมานเกิน 20 วัน หรือทำกิจกรรมทั่วไปในชีวิตประจำวันไม่ได้เกิน 20 วัน

เมาแล้วขับประกันคุ้มครองหรือไม่?

สำหรับประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ หากเมาแล้วขับจนเกิดอุบัติเหตุหากพบว่าผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ บริษัทประกันจะไม่จ่ายสินไหมทดแทนให้ผู้เอาประกันภัย แต่จะทำการจ่ายให้กับคู่กรณีแทน แล้วภายหลังจากนั้นบริษัทประกันภัยจะไปไล่เบี้ยเรียกคืนค่าสินไหมทดแทนกับผู้ขับขี่ที่เมาแล้วขับอีกด้วย ส่วนประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ถึงแม้ว่าปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ ก็จะยังให้ความคุ้มครองทั้งตัวผู้เมาแล้วขับ และคู่กรณี โดยจะให้ความคุ้มครองในส่วนของค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลเท่านั้น ส่วนค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบเอง

แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่ผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดไม่เกินที่กฎหมายระบุ แม้อุบัติเหตุนั้นจะไม่ได้สร้างความเสียหายหรือความบาดเจ็บให้ผู้ใด แต่ก็ถูกบริษัทประกันภัยหัวใสเล่นแง่ นับผลแอลกอฮอล์ย้อนหลัง เพื่อบ่ายเบี่ยงปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย ดังนั้นเมื่อเกิดกรณีดังกล่าวขึ้นสิ่งแรกที่ควรทำก็คือปรึกษาทนายความผู้เชี่ยวชาญดีที่สุด ติดต่อเรา