ประกันตัว ชั้นศาลต้องทำอย่างไร และการมีทนายความประกันตัวดีอย่างไร ?

ประกันตัว ชั้นศาลต้องทำอย่างไร

          ในการประกันตัว ชั้นศาล เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่หลายท่านให้ความสนใจเรื่องหนึ่ง เพราะเป็นเรื่องที่ต้องมีขั้นตอน วิธีการ อีกทั้งเป็นเรื่องที่มีการดำเนินการต้องใช้ความรู้ ความสามารถ และหรืออาจต้องใช้ประสบการณ์ ความชำนาญในการประกันตัว ชั้นศาล และหรือการประกันตัวในชั้นอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้

          การที่ผู้ต้องหาถูกจับในคดีอาญานั้น เมื่อถูกควบคุมตัวโดยเจ้าพนักงานครบกำหนดตามระยะเวลาควบคุมตัวแล้ว เจ้าพนักงานจะต้องนำตัวผู้ต้องหามาฝากขังไว้ที่ศาล และหากผู้ต้องหาไม่ต้องการถูกฝากขังก็สามารถประกันตัว ชั้นศาลออกมาได้ อาจดำเนินการโดยบุคคลที่เกี่ยวข้องและหรือมีทนายในการดำเนินการก็ได้

ทำความเข้าใจการประกันตัวหรือปล่อยตัวชั่วคราว

          ประกันตัว ชั้นศาล หมายถึง การขอให้ศาลปล่อยตัวผู้ต้องหาจากการถูกควบคุมตัวของศาลในระหว่างสอบสวนและหรือระหว่างการพิจารณาคดีเป็นเวลาชั่วคราว โดยปกติแล้วผู้ต้องหาที่มีความประสงค์ต้องการได้รับการประกันตัวออกมา ก็เพื่อต้องการเตรียมตัวต่อสู้คดีความนั้น ๆ ไม่ว่าผู้ต้องหารายนั้นจะทำผิดจริงหรือไม่ แต่ก็สามารถประกันตัวออกมาเพื่อต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่ตนเองได้

กระบวนการประกันตัวชั้นศาล

การประกันตัว ชั้นศาล มีกระบวนการหรือขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้

1.เริ่มต้นด้วยการยื่นคำร้องขอประกันตัวผู้ต้องหาเป็นอันดับแรก อาจดำเนินการโดยทนายความเพื่อความสะดวกและถูกต้อง โดยเนื้อความในคำร้องขอประกันตัวนั้นจะต้องระบุเหตุผลที่ผู้ต้องหาควรได้รับการประกันตัว ชั้นศาลอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังต้องระบุถึงหลักประกันที่จะเสนอต่อศาลได้ด้วย

2.ต่อมาหลังจากที่ทนายความของผู้ต้องหาและหรือผู้ดำเนินการได้ยื่นคำร้องขอประกันตัวแล้ว ศาลจะมีการพิจารณาคำร้องดังกล่าว โดยศาลจะมีการพินิจพิจารณาซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัยต่าง ๆ อาทิ ความเสี่ยงของผู้ต้องหาในการหลบหนี , การก่อเหตุซ้ำของผู้ต้องหา เป็นต้น

3.เมื่อศาลได้พิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ แล้ว และเมื่อศาลเห็นควรให้สามารถประกันตัว ชั้นศาลได้ ศาลก็จะมีการกำหนดเงื่อนไขในการประกันตัวมาอย่างชัดเจน อาทิ หลักทรัพย์ในการใช้ประกัน , ข้อกำหนดต่าง ๆ เช่น การมารายงานตัวต่อศาลตามวันเวลาที่กำหนด , การติดอุปกรณ์ติดตามตัว เป็นต้น

4.หลังจากที่ทนายความของผู้ต้องหาและหรือผู้ดำเนินการได้มีการจัดหาหลักทรัพย์ตามที่ศาลกำหนดแล้ว ต่อมาศาลจะมีการออกคำสั่งปล่อยตัวผู้ต้องหาชั่วคราวให้พร้อมเงื่อนไขตามที่ศาลกำหนดโดยศาลจะมีการระบุมาอย่างชัดเจน

ข้อควรระวังในการประกันตัว ชั้นศาล

          ในการประกันตัวผู้ต้องหาในชั้นศาล นอกจากจะมีขั้นตอนกระบวนการในการดำเนินเรื่องแล้ว การประกันตัว ชั้นศาลยังมีข้อควรระวังด้วย อาทิ

-ความเสี่ยงที่ผู้ต้องหาจะหลบหนี

          โดยผู้ต้องหาบางรายหลังจากได้รับการประกันตัวแล้ว อาจมีแนวโน้มในการหลบหนีหลังได้รับการประกันตัวได้

-การก่อเหตุซ้ำของผู้ต้องหา

          ในกรณีที่ผู้ต้องหามีการก่อเหตุที่เป็นอันตรายต่อสังคม ในการขอประกันตัว ชั้นศาลอาจทำให้ศาลท่านมีการพิจารณาที่ถี่ถ้วนมากยิ่งขึ้น เหตุเพราะกลัวว่าผู้ต้องหาจะก่อเหตุซ้ำอีกหลังได้รับการประกันตัว เพราะอาจส่งผลกระทบอันเลวร้ายต่อสังคมและบุคคลอื่น ๆ ได้

          จากข้อควรระวังในการประกันตัว ชั้นศาลที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นเพียงข้อควรระวังเบื้องต้นในการขอประกันตัวเท่านั้น เพราะนอกจากนี้อาจมีหลายเหตุ หลายปัจจัยออกไปแล้วแต่กรณี โดยการที่ต้องคำนึงถึงเหตุต่าง ๆ นั้นก็เนื่องจากเหตุในการขอประกันตัวของผู้ต้องหามีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้น ในการขอประกันตัว ชั้นศาลจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยและความเป็นไปได้ในแต่ละกรณีของผู้ต้องหาด้วย

มีทนายความดำเนินการประกันตัวดีอย่างไร?

มีทนายความดำเนินการประกันตัวดีอย่างไร

          ในการที่จะประกันตัว ชั้นศาลและหรือประกันตัวผู้ต้องหานั้น นอกจากจะต้องมีความรู้เรื่องกฎหมายและหรือการมีประสบการณ์ร่วมด้วยแล้ว ในขั้นตอนการดำเนินการประกันตัวนั้นยังต้องใช้เวลาเป็นตัวช่วยอีกด้วย การมีทนายความในการเดินเรื่องประกันตัว ชั้นศาล รวมไปถึงประกันตัวอื่น ๆ จะสามารถช่วยให้ผู้ที่ต้องการการประกันตัว ผู้ที่เดือดร้อนได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เนื่องจากทนายความจะมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย และมีความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์การเดินเรื่องประกันตัว ชั้นศาลและหรืออื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้น การมีทนายความในการเดินเรื่องประกันตัว จะสามารถช่วยให้ผู้ที่เดือดร้อน หรือต้องการประกันตัวด่วนมีผู้ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายเป็นคนเดินเรื่อง อีกทั้งยังไม่ต้องรับความเสียงในการเสียรู้และหรือดำเนินการที่ผิดพลาดด้วย ต้องการทนายความสำหรับประกันตัวผู้ต้องหา คลิก >>ติดต่อเรา<<